บรรพชีวินวิทยาเบื้องต้น เป็นวิชาที่ผสมผสานองค์ความรู้ทางด้านชีววิทยา (biology) และธรณีวิทยา(geology) เข้าด้วยกัน เพื่อใช้เป็นหลักในการอธิบายกระบวนการกลายเป็นซากดึกดำบรรพ์ของสิ่งมีชีวิตในอดีตที่ถูกสำรวจพบ โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของเหตุและผลความเป็นไปได้อย่างระมัดระวัง เนื่องจากปรากฏการณ์ต่าง ๆ ของโลกนั้นส่วนใหญ่จะไม่เป็นไปในลักษณะเดียวกัน (un‐uniform) ตำราเล่มนี้ใช้ประกอบการสอนรายวิชาบรรพชีวินวิทยาเบื้องต้น (introduction to Palaeontology) รหัสรายวิชา 0203381 ซึ่งเป็นรายวิชาในระดับปริญญาตรี หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาชีววิทยา ของภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม สำหรับให้ผู้สนใจได้อ่านและทำความเข้าใจเนื้อหาเกี่ยวกับบรรพชีวินอย่างละเอียด รายละเอียดของตำราจะประกอบไปด้วยความรู้ที่เกี่ยวกับซากดึกดำบรรพ์
ตั้งแต่ กำเนิดโลก ภาพรวมของการศึกษาบรรพชีวินวิทยา ซากดึกดำบรรพ์และกระบวนการรักษาสภาพวัฏจักรของหินและหินตะกอน การล าดับชั้นหิน ซากดึกด าบรรพ์และวิวัฒนาการของพืช จุลชีวินดึกดำบรรพ์ ซากดึกดำบรรพ์เมตาซัวช่วงต้น ซากดึกดำบรรพ์สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ซากดึกดำบรรพ์สัตว์มีกระดูกสันหลัง และซากดึกดำบรรพ์สัตว์มีกระดูกสันหลังในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย
เฉพาะสมาชิกเท่านั้น ถึงจะแสดงความคิดเห็นได้