การเรียนการสอนทางด้านบรรพชีวินวิทยานั้นเป็นการประยุกต์ศาสตร์หลักทางสาขาชีววิทยาและธรณีวิทยาเข้าด้วยกัน กิจกรรมการดําเนินชีวิตของสิ่งมีชีวิตและปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมในอดีตนั้นสามารถศึกษาจากซากดึกดําบรรพ์และหลักฐานอื่นในรูปแบบของชั้นหินตะกอน โครงสร้างตะกอน ชนิดหิน สภาพแวดล้อมการสะสมตะกอน และการลําดับชั้นหิน เป็นต้น การศึกษาด้านนิเวศวิทยาในยุคบรรพกาลก็จัดเป็นส่วนหนึ่งของสาขาวิชาทั้งสองดังที่กล่าวข้างต้นด้วย ตําราเล่มนี้ได้ปรับปรุงจากเล่มแรกซึ่งได้พัฒนาจากเอกสารและประสบการณ์การสอนและการวิจัยของผู้เรียบเรียง อีกทั้งได้รวบรวมข้อมูลผลงานจากแหล่งอื่นๆที่เป็นที่ยอมรับในวงการธรณีวิทยาและชีววิทยาที่ค่อนข้างทันสมัยเข้ามาประกอบเพื่อให้เกิดความหลากหลายของเนื้อหาและเป็นตัวอย่างการศึกษา ตําราเล่มนี้ใช้ประกอบการสอนรายวิชานิเวศวิทยาบรรพชีวินเบื้องต้น (Introduction to Palaeoecology) รหัสรายวิชา 0203483 ซึ่งเป็นรายวิชาในระดับปริญญาตรี หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต (ชีววิทยา) ของภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เพื่อสําหรับให้ผู้สนใจศึกษาได้เข้าใจข้อมูลของสิ่งแวดล้อมในอดีตเพื่อนํามาศึกษาโครงสร้างของระบบนิเวศโบราณ วิวัฒนาการของสิ่งแวดล้อมในระยะต่างๆ การปรับตัวของพืชและสัตว์ต่อสิ่งแวดล้อมใหม่ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างพืชและสัตว์ในอดีต ดังที่ระบุในคําอธิบายรายวิชานี้
เฉพาะสมาชิกเท่านั้น ถึงจะแสดงความคิดเห็นได้