Page 5 - ebook.msu.ac.th
P. 5

คำนำ




                       เอกสารวิชาการลำดับที่ ๒๐ เรื่อง “เฮือนพื้นถิ่น : วิถีชีวิตและคติความเชื่อในใบลาน” ของโครงการ
                อนุรักษ์ใบลาน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเล่มนี้ เป็นผลงานชิ้นหนึ่งที่ได้รับการสนับสนุนจากงบประมาณเงิน

                รายได้ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ซึ่งทางมหาวิทยาลัยได้เล็งเห็นถึงความสำคัญด้านการพัฒนาองค์ความรู้
                และภูมิปัญญาอีสาน ผ่านการปริวรรตและจัดพิมพ์เผยแพร่อย่างต่อเนื่อง ภายในเอกสารวิชาการเล่มนี้ มีการ
                นำเสนอคติความเชื่อเฮือนอีสานในใบลาน เช่น บทสู่ขวัญการขึ้นเรือนใหม่, มูลขึด : ความเชื่อโบราณอีสาน,

                คำสอนเรือนอีสานสำหรับสร้างเรือน โดยองค์ความรู้เหล่านี้ได้ถ่ายถอดจากเอกสารใบลานทั้งสิ้น

                       สิ่งสำคัญที่ทำให้เกิดความหนักแน่นทางวิชาการเพิ่มมากขึ้นคือ บทความวิชาการที่สะท้อนวิถีชีวิต สังคม

                วัฒนธรรมอีสาน จากนักวิชาการอาวุโส ซึ่งได้ศึกษาสังคมวัฒนธรรมอีสานกว่า ๓๐ ปี คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมชาย
                นิลอาธิ เป็นบทความที่เคยเผยแพร่ในวารสารต่างๆมาแล้วในอดีต บทความที่เกี่ยวข้องกับเรือนพื้นถิ่น เช่น

                เรือนอีสาน และประเพณีการอยู่อาศัย, ส้วม : ห้องนอนในเรือนอีสาน, เหย้า : เส้นทางการสร้างครอบครัวใหม่,
                เถียงนา : บ้านหลังแรกของมนุษย์ยุคแรกๆ ในสยาม, เล้าข้าว, บุญชำฮะ - เบิกบ้าน : พิธีกรรมสร้างความบริสุทธิ์
                เพื่อชีวิตที่สมบูรณ์ นอกจากนั้นยังมีบทความเรื่องเฮือนผู้ไทแดง บ้านสบฮาว เมืองสบเบา แขวงหัวพัน สปป.ลาว

                โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ราชันย์ นิลวรรณาภา ซึ่งสะท้อนภาพวิถีชีวิตคนไตในต่างถิ่น มานำเสนอให้เห็น
                ความเหมือน ข้อแตกต่างแม้กระทั่งพัฒนาการสร้างเรือนด้วย


                       ในนามมหาวิทยาลัยมหาสารคาม หวังเป็นอย่างยิ่งว่า เอกสารวิชาการฉบับนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจ
                นิสิต นักศึกษา ผู้รักษาการศึกษาเรื่องท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี










                                                    (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศุภชัย  สมัปปิโต)

                                                       อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
























                                                            3 (๓)
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10