Page 231 - ebook.msu.ac.th
P. 231

อุรังคธาตุ จ.ศ. ๑๑๖๗ (พ.ศ. ๒๓๔๘)  231



                   เป็นต้น และ  อสาธารณนาม หมายถึง ชื่อที่ใช้เรียกเฉพาะเจาะจง ไม่ทั่วไป
                   เช่น ทีฆาวุ กุมารชื่อทีฆาวุ ใช้เรียกเฉพาะกุมารที่ชื่อว่า ทีฆาวุ,  เอราวโณ
                   ช้างชื่อเอราวัณ,  สาวตฺถี เมืองชื่อสาวัตถี เป็นต้น ก็เช่นกัน  ๒) คุณนาม
                   หมายถึง นามที่แสดงลักษณะของนามนาม  ให้รู้ว่าดีหรือชั่ว และ ๓) สัพพนาม

                   หมายถึง นามที่ใช้แทนนามนามที่ออกชื่อมาแล้ว เพื่อไม่ให้ซ้ าซาก ซึ่งไม่เพราะหู
                   เป็นต้น (จาก : http://www.palidict.com/content/นาม-นามนาม)
                          การน าเสนอในเล่มนี้จะจ าแนกหมวดหมู่โดยใช้นามชนิดที่ ๑

                   คือ “นามนาม” เน้นที่ อสาธารณนาม เป็นหลัก ซึ่งนามศัพท์ที่ปรากฏในอุรังค
                   ธาตุสามารถจัดหมวดหมู่เป็น ๑๕ หมวด จัดแสดงในรูปแบบตาราง ได้แก่
                          หมวดที่ ๑ นามพระรัตนตรัย (พระพุทธ/โพธิสัตว์),  นามพระธัมม/
                   คาถา/บทสวด)  และนามพระสงฆ์สาวก/อรหันต์

                          หมวดที่ ๒ นามพระธาตุเจดีย์/สัญลักษณ์ และพระบรมสารีริกธาตุ
                          หมวดที่ ๓ นามนักบวชนอกพุทธศาสนา  (พราหมณ์/รัสสี)
                          หมวดที่ ๔ นามผู้ปกครอง  (กษัตริย์/นางเทวี/ราชกุมาร)
                          หมวดที่ ๕ นามอมนุษย์ (เทพบุตร,เทพธิดา/นาค/อมนุษย์อื่น ๆ )

                          หมวดที่ ๖ นามบ้าน/เมือง/อาณาจักร และนามสถานที่/ภูมิศาสตร์
                          หมวดที่ ๗ นามบรรดาศักดิ์/ข้าราชบริพาร และนามคน/ไพร่/ข้า/ทาส
                          หมวดที่ ๘ นามการเกษตรกรรม,นามพืช/ดอกไม้  และนามสัตว์
                          หมวดที่ ๙ นามโรค,นามยา และนามเครื่องยา/สมุนไพร

                          หมวดที่ ๑๐ นามผ้า,  นามเครื่องประดับ/เครื่องแต่งตัว และนามอัญ
                   มณี/โลหะมีค่า/สิ่งแลกเปลี่ยน
                          หมวดที่ ๑๑ นามเครื่องมือ/วัตถุดิบ/เทคนิค, นามสิ่งก่อสร้างและนาม

                   เครื่องใช้ทั่วไป
                          หมวดที่ ๑๒ นามอาวุธ/สิ่งของในสงคราม/พาหนะ,  นามเครื่อง
                   ประกอบพิธีกรรม/ในขบวนแห่ และ นามเครื่องดนตรี/การเล่น
                          หมวดที่ ๑๓  นามรูปสลัก
                          หมวดที่ ๑๔ นามโสลกนคร และ

                          หมวดที่ ๑๕ นามอื่น ๆ
   226   227   228   229   230   231   232   233   234   235   236