Page 230 - ebook.msu.ac.th
P. 230

230             ณรงค์ศักดิ์ ราวะรินทร์




                         ภาคผนวก ๑ นามศัพท์ในอุรังคธาตุ จ.ศ. ๑๑๖๗


                       จากการปริวรรตถอดแปลต านานอุรังคธาตุ  ท าให้ผู้ปริวรรตได้เห็นถึง
               คุณค่าของวรรณกรรมหลายด้าน  ไม่ว่าจะเป็นคุณค่าด้านมรดกความทรงจ า
               ร่วมของคนในอดีต  เห็นความสัมพันธ์ของ “ผู้คน บ้านเมือง เศรษฐกิจ สังคม
               วัฒนธรรม”  มาตั้งแต่โบราณกาล และสิ่งที่แน่ชัดซึ่งสามารถบ่งชี้คุณค่าได้เป็น

               อย่างดีอีกประการคือ นามศัพท์ ที่ใช้เรียงร้อยเนื้อหาบอกเล่าเรื่องราวให้รับรู้
               รับทราบนั้น หากจ าแนกแยกแยะออก  ย่อมเห็นภาพเล็กเป็นชิ้นส่วนส าคัญที่
               สามารถประกอบสร้างให้เห็นเป็นภาพใหญ่ได้คล้ายกับตัวต่อ (Jigsaw)
               ที่เชื่อมโยงอดีต-ปัจจุบัน-อนาคต  บูรณาการสู่องค์ความรู้ด้านอื่น ๆ อีกเป็น

               จ านวนมาก เช่น ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ เทคโนโลยี ชาติพันธุ์ เภสัชศาสตร์
               สถาปัตยกรรม หัตถกรรม ฯลฯ โดยเริ่มต้นจากภาษาศาสตร์สุดท้ายอาจน าไป
               สู่สุนทรียศาสตร์ได้ในอนาคต ถือเป็นคุณค่าอันมหาศาลที่เราได้รับจากมรดก

               ของบรรพชน
                       ค าว่า นามศัพท์ ประกอบด้วยค าว่า  “นาม”  ซึ่งในพจนานุกรม
               ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ ให้ความหมายไว้ว่า  นาม, นาม-[นามมะ]
               น. ชื่อ, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระนาม; ค าชนิดหนึ่งในไวยากรณ์ ส าหรับเรียก คน
               สัตว์ สิ่งของต่าง ๆ ; สิ่งที่ไม่ใช่รูป คือ จิตใจ, คู่กับ รูป. (ป.)   (๒๕๕๔ : ๖๒๑-

               ๖๒๒)
                       ส่วนค าว่า  “ศัพท์”  ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน
               พ.ศ. ๒๕๕๔ ให้ความหมายไว้ว่า  ศัพท-, ศัพท์-[สับทะ-, สับ] น. เสียง.

               (ส. ศพฺท; ป. สทฺท ว่า เสียง, ค า)   (๒๕๕๔ : ๑๑๓๙)
                       เมื่อน ามาสมาสกันแล้ว“นามศัพท์” จึงหมายถึง เสียง
               (หรือ ตัวหนังสือ ที่ใช้แทนเสียงนั้น)  ที่มีความหมายเป็นที่เข้าใจกัน ใช้พูดหรือ
               เขียนสื่อสารกันได้ นามศัพท์แบ่งได้เป็น ๓ ชนิด คือ ๑) นามนาม หมายถึง

               นามหรือชื่อที่ใช้เรียกคน, สัตว์, สถานที่, สิ่งของ, สภาวะ ต่าง ๆ แบ่งออกเป็น
               ๒ อย่าง ได้แก่  สาธารณนาม หมายถึง ชื่อที่ใช้เรียกได้ทั่วไป ไม่เจาะจง
               ส าหรับเรียกคน,  สัตว์,  สถานที่,  สภาวะ ต่าง ๆ เป็นต้น เช่น มนุสฺโส มนุษย์
               ใช้เรียกมนุษย์ได้ทุกคน,  ติรจฺฉาโน สัตว์ดิรัจฉาน,  นคร  เมือง,  สนฺติ ความสงบ
   225   226   227   228   229   230   231   232   233   234   235