Page 84 - ebook.msu.ac.th
P. 84

อัตลักษณ์ของเรือนผู้ไทแดง บ้านสบฮาว วิเคราะห์ข้อมูลจากการสำรวจและลงพื้นที่ สามารถสรุปได้
               ดังนี้


                      ๑.  หลังคาเป็นทรงจั่วแคบ มุงหลังคาด้วยหญ้าคา เปิดปีกหลังคาทั้งสองด้านให้ลาดลงมาปกคลุม
               ตัวเรือนทั้งหลัง จนเกือบถึงพื้นเรือน การทำหลังคาแบบนี้จะทำให้ป้องกันความหนาวเย็นได้ดีช่วยให้ภายในเรือน

               เกิดความอบอุ่นเนื่องจากการตั้งถิ่นฐานของกลุ่มผู้ไทแดงนี้มักจะอยู่ตามหุบเขาหรือที่ราบเชิงเขาริมน้ำซึ่งเป็น
               พื้นที่ที่มีอากาศหนาวเย็นเกือบตลอดทั้งปี


                      ๒.  ตัวเรือนเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เป็นเรือนยาว เนื่องจากลักษณะครอบครัวผู้ไทแดงนั้นนิยมอยู่กัน
               เป็นครอบครัวใหญ่ ประกอบกับธรรมเนียมการแต่งงานที่ลูกสะใภ้ต้องไปอยู่เรือนสามี ทำให้เรือนหลังหนึ่ง

               อาจจะมีสมาชิกอยู่ร่วมกันเป็นจำนวนมาก และมีคู่สามีภรรยาหรือครอบครอบเล็กๆ อยู่ร่วมกันหลายครอบครัว
               ในเรือนหลังเดียวกัน ทำให้การสร้างเรือนจะต้องให้มีจำนวนห้องเพียงพอกับสมาชิกที่อาศัยอยู่ และการอยู่ร่วมกัน

               ในลักษณะนี้ทำให้สมาชิกในตระกูลมีความสนิทสนมรักใคร่กันดี นอกจากนั้นยังส่งผลต่อพลังอำนาจทางสังคม
               และเศรษฐกิจของครอบครัวอีกด้วย


                      ๓.  ลักษณะเรือนยกพื้นใต้ถุนสูง เนื่องจากพื้นที่บริเวณใต้ถุนบ้านนั้นใช้สำหรับการเลี้ยงสัตว์ เช่น หมู
               วัว หรือควาย นอกจากนั้นยังใช้เป็นที่ตั้งกี่ทอผ้า และตั้งครกมองสำหรับตำข้าวอีกด้วย เหตุผลอีกอย่างหนึ่ง

               สำหรับการทำเรือนใต้ถุนสูง ก็เพื่อเป็นการป้องกันสัตว์ร้ายที่จะเข้ามาทำอันตรายในยามค่ำคืนพื้นเรือนปูด้วย
               ไม้ไผ่สับฟาก หรือกระดานไม้ ฝาเรือนทำด้วยไม้ขัดแตะ ไม้ไผ่สับฟาก หรือแผ่นไม้กระดาน เสาไม้เนื้อแข็งกลม
               วางบนก้อนหินเพื่อป้องกันปลวก


                      ๔.  เรือนผู้ไทแดงทุกหลังจะมีหอผีเรือน โดยจะตั้งภายในตัวเรือน มีอยู่สองลักษณะคือ ตั้งไว้ในห้อง

               ผีเรือนโดยเฉพาะ ซึ่งเป็นบริเวณห้องแรกที่ติดกับห้องนอนของเจ้าเรือน และอีกลักษณะหนึ่งคือตั้งหิ้งผีไว้ใน
               ห้องนอนของผู้เป็นเจ้าเรือน แต่เดิมนั้นหิ้งผีจะตั้งไว้กับพื้นเรือนบริเวณโคนเสามุมทิศตะวันตกสุดซึ่งเชื่อว่า

               เป็นเสาที่เชื่อมต่อระหว่างเรือนของลูกหลานในโลกมนุษย์กับผีบรรพชน ต่อมามีการย้ายหอผีขึ้นไปไว้บนหัวเสา
               ใกล้ๆ กับเสาดังกล่าวนี้จะเจาะผนังเป็นช่องเล็กๆ เอาไว้สำหรับส่งอาหารให้ผีบรรพชนในพิธีเสนผีเรือนประจำปี
               เมื่อจะกระทำการสิ่งใดที่สำคัญในเรือนจะต้องมีการบอกกล่าวผีเรือนให้รับรู้ทุกครั้ง ผีเรือนนี้เป็นขวัญของบรรพชน

               ที่เสียชีวิตแล้วและถูกเชิญให้มาอยู่ในเรือนร่วมกับลูกหลานเพื่อทำหน้าที่ปกป้องคุ้มครอง ดูแลสมาชิกทุกคน
               ในเรือนให้อยู่เย็นเป็นสุข ไม่ให้กระทำสิ่งที่ผิดจารีตประเพณีที่ยึดถือปฏิบัติในสังคม หากมีผู้ใดกระทำผิดหรือ

               ละเมิดจารีตประเพณี จะทำให้ผีเรือนไม่พอใจ และจะดลบันดาลให้เกิดสิ่งที่ไม่ดี หรือเป็นอันตรายต่อตัวผู้กระทำ
               เอง หรือต่อครอบครัวซึ่งเรียกว่าผิดผี โดยมีวิธีแก้ไขคือการ “เสน” เพื่อเซ่นไหว้ขอขมา ดังนั้นจึงได้มีการกำหนด
               สิ่งที่เป็นข้อห้ามสำหรับสมาชิกในเรือนเรียกว่า “คะลำ” เพื่อป้องกันการกระทำผิดจารีตประเพณีดังกล่าว


                      ๕.  บันไดเรือนผู้ไทแดง มีสองด้าน คือบันไดด้านหน้าขึ้นทางด้านเซีย เป็นบันไดสำหรับสมาชิกที่เป็น

               เพศชายใช้ในการขึ้นลงเรือน ส่วนบันด้านหลังที่ขึ้นทางชานเรือน เป็นบันไดสำหรับสมาชิกเพศหญิงใช้ในการ
               ขึ้นลงเรือน การแยกบันไดเรือนและกำหนดเพศในการใช้บันไดในการขึ้นลงเรือนนี้เนื่องจากเหตุผลดังนี้






                                                          82
   79   80   81   82   83   84   85   86   87   88   89