Page 44 - ebook.msu.ac.th
P. 44

๓๕

















               จากภาพเป็นลักษณะเนินดิน ชาวบ้านในพื้นที่จังหวัดหนองบัวล าภูเชื่อว่าเป็นที่ตั้งของธาตุอัฐิของเจ้าปางค า

               ตั้งอยู่ภายในบริเวณวัดมหาชัย ริมหนองบัว
                       นอกจากนี้ สมชาย ทองไทย อายุ ๖๐ ปี บ้านเลขที่ ๖๔ หมู่ที่ ๔ บ้านค้อ ต้าบลกุดลาด อ้าเภอเมือง

               จังหวัดอุบลราชธานี สัมภาษณ์  ๘ เมษายน ๒๕๕๗ ได้เล่าถึงว่า พระวอพระตาเป็นลูกเจ้าปางค า เมืองหนอง

               บัวลุ่มภู ครั้งหนึ่งกองครัวพระวอพระตาเคยหนีภัยคุกคามจากเวียงจันทน์ผ่านพื้นล าน้ ามูล และสู้รบกับทหาร

               เวียงจันทน์ที่บริเวณบุ่งนางเพานางแพง ซึ่งเดิมเชื่อว่านางเพา-นางแพงนั้นเป็นกษัตริย์ปกครองจ าปาสัก ในขณะ
               นั้นเจ้าปางค าเมืองหนองบัวลุ่มภู เดินทางมาคล้องช้างถึงเขตจ าปาสัก เมื่อเห็นนางแพงจึงเกิดรักใคร่และ
               ลักลอบได้เสียกันจนตั้งครรภ์ ผู้ปริวรรตมองว่า อาจเป็นลักษณะนิทานอธิบายเหตุของคนสองกลุ่มคือ กลุ่มคน

               ลาวที่น าพาเรื่องราวพระวอพระตามาด้วย และอีกกลุ่มคือ กลุ่มชาวข่า ซึ่งเป็นชนพื้นเมืองเดิมในพื้นที่แถบนี้ ซึ่ง
               เมื่อเวลาล่วงผ่านไปจึงได้มีการเล่าเรื่องราวของตนให้เชื่อมโยงกับสถานที่ ปัจจุบันกลายเป็นบุ่งนางแพง เป็น

               พื้นที่แหล่งน้ าที่อยู่ติดกับแม่น้ ามูลในจังหวัดอุบลราชธานี นอกจากนี้ การเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับพระวอพระตายัง
               ด าเนินไปถึงพื้นที่บ้านดู่ บ้านแก ในเขตเมืองโพนทอง แขวงจ าปาสัก สปป.ลาว ดังที่ น้อย กุลมิตร อายุ ๗๘ ปี

               บ้านดู่ เมืองโพนทอง แขวงจ้าปาสัก สปป. ลาว ให้สัมภาษณ์ ๒ มิถุนายน ๒๕๕๗ ได้เล่าถึงในลักษณะรวบรัด

               ว่า หมู่บ้านแก เดิมเป็นกลุ่มพระวอพระตาอพยพมาจากเวียงจันทน์ ค่ายบ้านดู่ คูบ้านแก หมายถึงค่ายคูส้าหรับ

               หลบซ่อนศัตรู ซึ่งถูกสร้างและเป็นชื่อเรียกมาตั้งแต่สมัย พระวอพระตา

                       นอกจากนี้ข้อมูลข้างต้นที่กล่าวมายังสัมพันธ์กับ บ าเพ็ญ ณ อุบล (๒๕๔๒ : ๓๐๓๑) ได้เรียบเรียง
               เรื่องราวพระวอพระตาในสารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคอีสาน โดยกล่าวถึงพระวอพระตาว่า เมื่อชาวอีสาน
               กล่าวถึงเรื่องราวเก่าๆที่เกิดขึ้นมานานแล้ว มักจะพูดว่า ตั้งแต่สมัยพระวอพระตา หมายถึงเหตุการณ์ที่กล่าว
               ย้อนไปตั้งแต่สมัยพระวอพระตา พระวอพระตาเป็นบรรพบุรุษของชาวเมืองอุบลราชธานี ยโสธร เขมราฐ

               หนองคาย ตระการพืชผล พิบูลมังสาหาร มหาชนะชัย เสลภูมิ ไชยบุรี และอ านาจเจริญ พระวอพระตาเป็น
               เสนาบดีในกรุงศรีสัตนาคนหุต ในรัชสมัยพระเจ้าสิริบุญสาร ต่อมาได้เกิดขัดใจกันกับพระเจ้าสิริบุญสารเรื่อง
               การแต่งตั้งมหาอุปราช จึงได้อพยพครอบครัวบ่าวไพร่ข้ามแม่น้ าโขงมาตั้งที่หนองบัวลุ่มภู สร้างบ้านแปงเมือง

               ค่ายคู ประตูหอรบให้แข็งแรง ขนานนามเมืองว่า นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน
                       เมื่อพระเจ้าสิริบุญสารทรงทราบว่าพระวอพระตาได้สร้างเมืองใหม่ขึ้น จึงโปรดเกล้าฯ ให้ยกกองทัพไป
               ปราบ ทั้งสองฝ่ายได้สู้รบกันติดพันนาน 3 ปี พระตาได้เสียชีวิตที่หนองบัวลุ่มภู
                       พระวอ ท้าวค าผง ท้าวทิดพรหม ท้าวฝ่ายหน้า และท้าวก่ า (บุตรพระวอ) ได้อพยพครอบครัวหนีลงมา
               ทางใต้จนถึงเขตเมืองจ าปาสัก พระเจ้าองค์หลวงไชยกุมาร ทรงให้ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ บ้านดู่ บ้านแก ต าบลเวียง

               ดอนกอง


                                                 พระวอ-พระตาในเอกสารใบลาน
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49