Page 45 - ebook.msu.ac.th
P. 45
๓๖
เมื่อนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบานเสียเมืองแก่เวียงจันทน์แล้ว พระวอได้เป็นหัวหน้าแทนพระตา ฝ่าย
พระเจ้าสิริบุญสาร เมื่อทรงทราบว่าพระวอพาครัวไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านดู่ บ้านแก พระองค์ได้แต่งทัพยก
มาตีพระวอที่บ้านดู่ บ้านแก ในปี พ.ศ. 2314 พระเจ้าองค์หลวงไชยกุมารได้ทรงช่วยเหลือพระวอ โดยส่งพระ
ยาพลเชียงสายกทัพไปช่วย พร้อมทั้งส่งสาส์นไปเวียงจันทน์เพื่อขอให้ยกโทษแก่พระวอ พระเจ้าสิริบุญสารยก
โทษให้พระวอและโปรดให้อัครฮาดแม่ทัพกลับเวียงจันทน์ ต่อมาฝ่ายพระวอเกิดผิดใจกับพระเจ้าองค์หลวงไชย
กุมาร เกี่ยวกับเรื่องการสร้างนครจ าปาสักขึ้นใหม่ พระวอจึงได้อพยพครอบครัวมาอยู่ที่ต าบลดอนมดแดง ริมฝั่ง
แม่น้ ามูล
พ.ศ. 2319 เมื่อพระเจ้าสิริบุญสารทรงทราบว่าพระเจ้าองค์หลวงไชยกุมารวิวาทกับพระวอ จึงสั่งให้
พระยาสุโพน าก าลังมาตีพระวอ พระวอเห็นก าลังของตนมีน้อยกว่า จึงอพยพไปอยู่ที่เวียงดอนกองอีกครั้ง และ
ขอความช่วยเหลือจากพระเจ้าองค์หลวงไชยกุมารแต่ถูกปฏิเสธ พระวอจึงสู้รบตามล าพังและถูกฆ่าเสีย ท้าวค า-
ผงและพวกได้หนีออกจากวงล้อม และน าใบบอกไปยังเมืองนครราชสีมาเพื่อขอเป็นข้าขอบขัณฑสีมากรุงธนบุรี
นอกจากนี้ยังมีข้อสังเกตบางประการที่สะท้อนให้เห็นว่า เรื่องราวเหตุการณ์พระวอพระตาฉบับนี้มีการ
ประพันธ์ขึ้นในยุคหลัง เช่น เหตุการณ์การชนช้างระหว่างพระวอกับอุปราช และเหตุการณ์อื่นๆในเนื้อเรื่องที่
ชี้ให้เห็นว่าแต่งขึ้นในยุคหลังเหตุการณ์พระวอพระตานับร้อยปี ดังตัวอย่าง
ก็จีง ได้เขือนช้าง หลังนั้นสืบต่อมา
ยังเหล่าเก็บเมี้ยนไว้ ปราสาทท้าวผาแดง
ยังวัดหนองยาง แต่ตั้งแต่คราวพุ้น
(ผูกที่ ๔ ลานที่ ๖ หน้าที่ ๑)
จีงได้มีชื่อตั้งให้ ว่าบ้านหินโงม
จนได้มีนามเถิง สืบมาภายซ้อย
(ผูกที่ ๖ ลานที่ ๑ หน้าที่ ๑)
กองทัพท้าวสองเขือ นอนอยู่ท่งแคมหนองคาย
บ่อนสร้างเมืองเดี๋ยวนี้ รี้พลตามก้นพวกของพระตา
(ผูกที่ ๒ ลานที่ ๑ หน้าที่ ๒)
สรุป
ในช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ที่ใกล้เคียงกัน การน าเสนอเนื้อหาเหตุการณ์ในเอกสารใบลานของคน
ท้องถิ่น และเนื้อหาในเอกสารประวัติศาสตร์ที่ถูกช าระโดยรัฐและนักวิชาการในยุคหลัง มีความแตกต่างกันเป็น
อย่างมาก ในเรื่องของการบันทึกรายละเอียดและมุมมองต่างๆรวมถึงวัตถุประสงค์ในการสร้างหลักฐานและ
การน าเสนอภาพของบุคคลในประวัติศาสตร์และความทรงจ า จึงมีลักษณะการน าเสนอภาพด้าน ความกล้า
หาญ ความเสียสละ นอกจากนี้ผู้ประพันธ์ยังได้เน้นความสวยงามของภาษา หรือสุนทรียภาพทางภาษาที่มี
น้ าเสียงที่สร้างความสะเทือนอารมณ์ ในขณะที่ เนื้อหาพระวอพระตาในประวัติศาสตร์ชาติ มีความเป็นผู้น้อย
มีแก่นเรื่องที่มุ่งน าเสนอเหตุการณ์เกี่ยวกับกษัตริย์มากกว่า ดังนั้นความหมายของพระวอพระตาในเอกสาร
ใบลานฉบับนี้ผู้ประพันธ์เลือกน าเสนอภาพพระวอพระตาออกมาในลักษณะของภาพวีรบุรุษเช่นเดียวกับภาพ
กษัตริย์ในพระราชพงศาวดารของเมืองหลวงราชธานี จะเห็นได้ว่า มีการเลือกน าบางเหตุการณ์มาขยายและ
พระวอ-พระตาในเอกสารใบลาน