Page 11 - ebook.msu.ac.th
P. 11

บทนำ




                       งานวิชาการชิ้นนี้ ข้าพเจ้าได้ทำการรวบรวมต้นฉบับงานปริวรรตบางเรื่อง จากหนังสือภูมิ
                ปัญญาอีสานจากใบลาน โดยนำมาจัดระบบให้อ่านได้ง่ายขึ้น เพราะในหนังสือเล่มดังกล่าวมีข้อจำกัด

                ในอ่านทำความเข้าใจ เพราะรูปแบบการนำเสนอเป็นงานปริวรรต โดยมีภาพต้นฉบับใบลาน และ

                คำถ่ายถอด ทำให้ผู้อ่านต้องใช้เวลาในการจำแนกข้อมูล แต่เพราะในขณะนั้นผู้จัดทำต้องการเผยแพร่

                ให้ผู้อ่านได้เปรียบเทียบคำศัพท์ในต้นต้นฉบับไปพร้อมกัน เนื้อหาของเล่มนี้จึงมีการคัดเลือกเอา
                องค์ความรู้เกี่ยวกับ “เฮือน” ซึ่งได้ปริวรรตจากใบลาน ต้นฉบับของบ้านดอนยม อำเภอกันทรวิชัย

                จังหวัดมหาสารคาม เนื่องจากมีความสมบูรณ์ของเนื้อหาเป็นสำคัญ นำมาจัดรูปแบบใหม่เพื่อให้

                ผู้สนใจสามารถอ่านได้ง่ายและเข้าใจมากขึ้น “เฮือน” ตามประมวลคำศัพท์ภาษาลาวในเอกสาร

                โบราณ เล่มที่ ๕ อักษร ส-ฮ เป็นคำนาม มีความหมายเช่นเดียวกับเรือน และพจนานุกรม ภาคอีสาน-
                ภาคกลาง ฉบับปณิธาน ของสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) “เฮือน” เป็นคำนาม หมายความว่า

                สิ่งปลูกสร้าง สำหรับเป็นที่อยู่ = เรือน. เฮือนโข่ง, เฮือนโล่ง น. เรือนเปิด มีแต่โครงไม่กั้นฝา. เฮือนไฟ น. ครัว

                เฮือนย้าว น. เรือนชั่วคราว, เรือนเล็กๆ ส่วนมากมี สองห้อง เสาไม้ไม่ทุบเปลือก

                       ภายในเล่มได้รับความกรุณาบทความที่เกี่ยวข้องกับเรือน จาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมชาย
                นิลอาธิ ซึ่งเป็นครูของข้าพเจ้าในด้านสังคมศาสตร์ รวมถึงแนวคิด ทฤษฎีโครงสร้างนิยม ท่านเป็น

                ผู้หนึ่งรวบรวมองค์ความรู้ด้านไทยคดีศึกษา และประวัติศาสตร์ในภาคอีสาน กว่า ๓๐ ปี ด้วย

                ความเมตตาท่านได้มอบภาพเรือนอีสาน ซึ่งเคยใช้ประกอบการสอนในวิชาเอกสังคมศึกษาเป็น

                ระยะเวลานานมาเป็นภาพประกอบภายในเล่ม ถ้าจะกล่าวว่าเป็นการ “สืบฮอยตา วาฮอยปู่” โดย
                ท่านได้คัดเลือกบทความให้กับข้าพเจ้า จำนวน ๖ บทความ ได้แก่ เรือนอีสานและประเพณีการอยู่

                อาศัย ส้วม : ห้องนอนในเรือนอีสาน เหย้า : เส้นทางการสร้างครอบครัวใหม่ เถียงนา : บ้านหลังแรก

                ของมนุษย์ยุคแรกๆ เล้าข้าวและ บุญชำฮะ : เบิกบ้าน พิธีกรรมสร้างความบริสุทธิ์เพื่อชีวิตที่สมบูรณ์

                ในแต่ละบทความเคยได้ผ่านการตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติมาแล้ว จึงกราบขอบพระคุณในความ
                เมตตาต่อศิษย์ในครั้งนี้เป็นอย่างสูง และความกรุณาหนึ่งคือบทความที่ได้กลั่นกรองจากงานวิจัย

                ของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ราชันย์ นิลวรรณาภา ผู้เป็นครูด้านภาษาโบราณอีสานอีกท่านหนึ่ง

                ได้มอบบทความชิ้นใหม่ คือ เฮือนผู้ไทแดง : ลักษณะที่อยู่อาศัยและการใช้พื้นที่ในเรือนกลุ่มชาติพันธุ์

                ผู้ไทแดง บ้านสบฮาว เมืองสบเบา แขวงหัวพัน สปป.ลาว เป็นการเพิ่มพูนองค์ความรู้ด้านเรือนอีสาน
                ให้เพิ่มมากขึ้นเพราะจักได้มีข้อเปรียบเทียบทั้งในบริบทด้านโครงสร้าง หรือแม้กระทั่งด้านสังคม

                และวัฒนธรรม ผ่านทางชาติพันธุ์ที่อาจเคยมีวัฒนธรรมร่วมกันกับชาวอีสานมาแต่เก่าก่อน

                       ในบริบททางกายภาพของ “เฮือนอีสาน” แล้ว ยังมีบริบทของคติความเชื่อในด้านต่างๆ

                รวมอยู่ด้วย ซึ่งจะเกี่ยวข้องครอบคลุมทั้งของสังคม จนถึงหน่วยที่เล็กที่สุดคือความเป็นปัจเจก

                                                            9
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16