Page 72 - ebook.msu.ac.th
P. 72

การเลี้ยงผีตาแฮก จะกำหนดทำในวันพุธเช่นเดียวกับการเลี้ยงผีปู่ตาแต่ต้องหลังจากงานบุญซำฮะ-
               เบิกบ้านและการเลี้ยงผีปู่ตาแล้วเท่านั้น ซึ่งจะตกประมาณปลายเดือนหกต่อเดือนเจ็ด คนทำพิธีก็คือเจ้าของนา
               นั่นเอง หรือจะเป็นใครในครอบครัวนั้นก็ได้ โดยมักจะเลี้ยงด้วยเครื่อง “พาหวาน” มีหมากสองคำ ยาสองกอก

               (มวน) เป็นหลัก นอกนั้นจะจัดเครื่องพิธีอย่างอื่นเพิ่มเติมอีกก็ได้ตามต้องการ เช่น ข้าวปุ้น พริก เกลือ ปลาแดก
               แจ่ว ไข่ต้ม ไก่ต้ม เหล้า เป็นต้นจุดประสงค์ก็เพื่อเป็นการบอกล่าวผีประจำนาก่อนที่จะเริ่มทำนาในปีนั้นๆ ขอให้

               ช่วยปกปักรักษาข้าวให้ได้ผลดีมีความอุดมสมบูรณ์
                      เมื่อข้าวกล้างอกงามพอจะปักดำได้แล้วความเชื่อเดิมของชาวอีสานจะ “ปักกกแฮก” ใน “นาตาแฮก”
               ก่อน ซึ่งนาตาแฮกดังกล่าวนี้ ดูไปก็คล้ายกับเป็นการสร้าง “นาจำลอง” หรือนาเสี่ยงทาย นั่นเอง เพราะจะเป็น

               นาขนาดเล็ก ลักษณะสี่เหลี่ยมจัตุรัสประมาณ ๕๐-๑๐๐ ซ.ม. อยู่บริเวณริมดอนของศาลผีตาแฮก หรือบางที
               ก็จะไว้บนกลางแยกตัดของคันแทนา (คันนา) โดยขุดพรวนดินปั้นคันแทนาขึ้นเพื่อกักน้ำไว้ปักกกแฮก แล้วปัก

               ขอบรั้วกั้นดูแลรักษาข้าวตาแฮกไปพร้อมๆ กัน ซึ่งส่วนมากมักจะใช้เวลาเพียงไม่เกินหนึ่งสัปดาห์ เพราะสัปดาห์
               ต่อไปก็ปักดำจริงได้แต่ปัจจุบันหลายแห่งก็จะเลี้ยงผีตาแฮกวันพุธ แล้วรุ่งขึ้นวันพฤหัสบดีหรืออาจจะวันศุกร์
               ก็ปักดำจริงต่อไปเลย

                      เรื่องผีตาแฮกและการปักกกแฮกนี้ ปัจจุบันเหลือคนทำอยู่น้อยมากแล้วเพราะการเปลี่ยนแปลงทาง
               สังคมและวัฒนธรรมหลายด้าน














































                    พิธีเลี้ยงผีปู่ตา ประจำปีในเดือน ๖ ที่บ้านหนองตาไก้ ต.หนองตาไก้ อ.หนองบุนนาก จ.นครราชสีมา
                                               (สมชาย นิลอาธิ : ข้อมูล/ภาพ)


                                                           70
   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77