Page 71 - ebook.msu.ac.th
P. 71

และอื่นๆร่วมกัน เมื่อพ้นช่วงเวลาการทำพิธีกรรมแล้ว ผามจะถูกรื้อทิ้งเหลือแต่ลานดินและหลักบือบ้าน เมื่อมี
                การสร้างผามถาวรที่เรียกว่า “ศาลากลางบ้าน” ภายหลังแล้วจึงสามารถใช้ประโยชน์ทั้งทำพิธีกรรม และใช้
                เป็นที่ทำงานนั่งเล่นในยามว่างเหมือนเป็น “ศาลาประชาคม” ของชุมชนหมู่บ้านโดยปริยาย ภายหลังได้มี

                การปรับเปลี่ยนบทบาทหน้าที่เป็นสถานที่ประชุมชาวบ้านของหน่วยงานรัฐและเอกชนบ้าง หลายแห่งใช้
                ประโยชน์ใหม่เป็นที่ตั้งสหกรณ์ร้านค้าและอื่นๆ จากองค์กรพัฒนาต่างๆ




                ตั้งมุงคุนเบิกบ้านเลี้ยงผีปู่ตา


                       ก่อนเริ่มพิธีซำฮะ-เบิกบ้านในวันแรกกวานจ้ำ (เฒ่ากวาน/เฒ่าจ้ำ) ซึ่งเป็นผู้นำในการทำพิธีกรรมจะเอา
                ขัน ๕ (เทียน ๕ คู่ และดอกไม้ ๕ คู่) ไปบอกกล่าวเชิญเจ้าปู่มาร่วมพิธีเหมือนเป็นประธานพิธีให้เป็นเป็นมงคล

                กับงานด้วยหวังความสงบสุขอุดมสมบูรณ์ โดยกวานจ้ำจะนำขันกะยอง (กะหย่อง) จากศาลปู่ตามาตั้งไว้ที่หลัก
                บือบ้านเป็นสัญลักษณ์เจ้าปู่ และเพื่อจะได้ใช้วางเครื่องบูชาที่ชาวบ้านเตรียมไปร่วมพิธีด้วย
                       ตั้งมุงคุนด้วยการนิมนต์พระสวดเจริญพระพุทธมนต์เพื่อความเป็นมงคลในตอนเย็น-ค่ำเป็น เวลา ๓

                วันติดต่อกัน โดยผ่านฝ้ายสายสิญจน์ที่โยงจากหลักบือบ้านไปยังบ้านเรือนทุกหลังคาเรือน เพื่อเป็นสิริมงคล
                ร่วมกัน รุ่งเช้าวันที่สี่ชาวบ้านจะนำเครื่องพิธีที่เตรียมไว้ไปเข้าร่วมพิธี เช่น กระทงกาบกล้วยใส่อาหารการกินทั้ง

                คาว-หวาน และอื่นๆ อย่างละเล็กละน้อย มี ปลาแดก พริก ข้าว เกลือ ขันน้ำทำน้ำมนต์ หิน-กรวด-ทราย-
                ข้าวสาร ฝ้ายไน-ไหมหลอด, ฝ้ายผูกแขน ฯลฯ ทำพิธีถวายสังฆทาน พระฉันจังหัน รับพร กรวดน้ำ
                       เสร็จพิธีแล้วกวานจ้ำจะบอกกล่าวเชิญปู่ตากลับหอ ด้วยการนำขันกะยองกลับไปไว้บนศาลปู่ตา จากนั้น

                จึงเป็นพิธีเลี้ยงผีปู่ตาและเสี่ยงทายฟ้าฝนและอื่นๆ ด้วยวิธีการแตกต่างกันไป เช่นจุดบั้งไปถวายหรือบั้งไฟ
                เบิกบ้าน (บั้งไฟเสี่ยงทาย) ถอดคางไก่ หรือแทกวัดไม้วา เป็นต้น โดยเสี่ยงทายฟ้าฝนในปีนั้นเป็นหลักก่อน

                แต่บางแห่งก็จะจัดเป็น ๓ ชุด คือ เสี่ยงฝน เสี่ยงคน และเสี่ยงควาย/สัตว์เลี้ยง
                       ในพิธีซำฮะ-เบิกบ้านนี้ หลายหมู่บ้านชาวบ้านมักจะนำหิน กรวด ทราย และข้าวสาร ที่เอาเข้าร่วม
                พิธีมงคลไปหว่านตามบ้านเรือนของตนหรือเพื่อนบ้านบ้าง โดยจะหว่านตามชายคาเรือนรอบๆ บริเวณบ้าน

                ชานเรือน นัยว่าเป็นการปัดรังควานเสนียดจัญไร ผีร้ายหรือสิ่งอันอัปมงคลทั้งหลายให้ออกไปให้พ้นจากบ้านเรือน
                และกาย-ใจ ของคน และสัตว์เลี้ยงตามความเชื่อ

                       บางรายก็จะเอาหิน กรวด ทราย และข้าวสาร วางโรยอัดประตูรั้วทางเข้าบ้านเรือน ด้วยความเชื่อว่า
                เป็นการป้องกันภัยพิบัติ สิ่งอัปมงคลที่มองไม่เห็นจากภายนอกไม่ให้เข้ามาสู่ครอบครัวได้ จะทำให้ทุกชีวิตใน
                ครอบครัวมีแต่ความร่มเย็นผาสุก




                เลี้ยงผีตาแฮก ปักกกแฮก


                       เสร็จงานบุญซำฮะ-เบิกบ้านที่หลักบือบ้านและพิธีเลี้ยงผีปู่ตาที่ศาลในดอนปู่ตาแล้วต่อจากนั้นคือ

                เวลาที่ทุกคนเริ่มลงทำนาตามฤดูกาลปกติได้แล้วแต่ใครจะเริ่มลงนากันวันไหนนั้นขึ้นอยู่กับน้ำฝนตามธรรมชาติ
                และความเชื่อเรื่องผีตาแฮก/ผีอาฮักนาด้วย เพราะเชื่อว่าเป็นผีที่อยู่ประจำนา เป็นผีรักษานาโดยเจ้าของนาจะตั้ง

                ศาลไว้ที่ใดที่หนึ่งในนาที่เห็นว่าน้ำท่วมไม่ถึงที่ตรงนี้แหละที่เจ้าของนาจะต้องทำพิธีเลี้ยงผีตาแฮกก่อนลงทำนา
                ดังคำกล่าวกันมาว่า “ลงให้เลี้ยง”

                                                            69
   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76