Page 3 - ebook.msu.ac.th
P. 3

อุรังคธาตุ จ.ศ. ๑๑๖๗ (พ.ศ. ๒๓๔๘)  3



                                               คำาปรารภ




                          หนังสือ “อุรังคธาตุ จ.ศ. ๑๑๖๗” ปริวรรตโดย คุณณรงค์ศักดิ์ ราวะรินทร์

                   นักวิจัยประจำาสถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
                   เป็นหนังสือของกลุ่มงานอนุรักษ์เอกสารโบราณ ซึ่งเป็นผู้ทำาการปริวรรตเกี่ยวกับ
                   ประวัติเรื่องราวความเป็นมาหรือตำานานพระธาตุพนมอีกเล่มหนึ่ง ที่ผู้ปริวรรต

                   ได้แสวงหา สืบค้นศึกษา และค้นคว้าต้นฉบับที่เชื่อว่าเป็น “ตำานานอุรังคธาตุ
                   สำานวนที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศไทย” ในขณะนี้ (พ.ศ. ๒๕๖๑) หนังสือเล่มนี้เป็น

                   ผลงานที่ปริวรรตมาจากเอกสารใบลานเรื่องอุรังคธาตุ ฉบับวัดมหาชัย อำาเภอเมือง
                   จังหวัดมหาสารคาม จารด้วยอักษรธรรมและภาษาพื้นถิ่นอีสาน ระบุปีที่จาร จ.ศ.
                   ๑๑๖๗ ตรงกับปี พ.ศ. ๒๓๔๘ ตรงกับรัชสมัยพระเจ้าอนุวงศ์แห่งราชอาณาจักร

                   ลาวล้านช้าง (พ.ศ. ๒๓๔๘-๒๓๗๑) โดยอดีตเจ้าอาวาสวัดมหาชัย คือ ท่านเจ้าคุณ
                   พระอริยานุวัตร (อารีย์ เขมจารี) ได้รวบรวมและรับมอบมาจากวัดโพนสวาง
                   อำาเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคามอีกทีหนึ่ง ตำานานอุรังคธาตุ จ.ศ. ๑๑๖๗

                   สำานวนนี้จึงนับเป็นองค์ความรู้ของท้องถิ่นอีสานที่ได้ให้ภาพประวัติความเป็นมา
                   หรือตำานานการสร้างพระธาตุพนม อันเป็นพุทธศาสนสถานศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง
                   ที่สำาคัญของลุ่มแม่น้ำาโขง พระธาตุองค์นี้เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ทั้งชาวไทยและชาวลาว

                   นับแต่อดีตต่างเชื่อถือศรัทธาและเคารพบูชาร่วมกันมา อีกทั้งการทำางานครั้งนี้
                   ก็เกิดจากความใฝ่รู้ของผู้ปริวรรตเอง และต้องการทำานุบำารุงพระพุทธศาสนาใน

                   ดินแดนภาคอีสานผ่านการสร้างสรรค์และเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ โดยมุ่งมั่น
                   ที่จะปริวรรตเอกสารโบราณในภาพของใบลานให้เป็นภาษาปัจจุบัน ทั้งนี้ก็เพื่อ
                   ต้องการสื่อสารให้คนในยุคสมัยนี้ได้มองเห็นและเข้าใจมรดกอันเป็นภูมิปัญญาทาง

                   วัฒนธรรมของบรรพชนให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ดังนั้น คุณณรงค์ศักดิ์ จึงนับ
                   เป็นนักวิชาการรุ่นใหม่ด้านเอกสารโบราณของดินแดนอีสานที่พยายาม “ไขรหัส

                   ความรู้ด้านพุทธศาสนาท้องถิ่น” และเผยให้เป็น “มูนมังทางปัญญา” ของบรรพชน
                   ที่ได้ “เก็บกำา สั่งสม สืบทอด” มาสู่รุ่นลูกหลานได้อย่างน่าสนใจ
   1   2   3   4   5   6   7   8