Page 5 - ebook.msu.ac.th
P. 5

อุรังคธาตุ จ.ศ. ๑๑๖๗ (พ.ศ. ๒๓๔๘)  5



                   โบราณฯ ได้ร่วมกันทำางานนี้ขึ้นมาได้อย่างลึกซึ้งและงดงาม ผ่านประสบการณ์
                   การศึกษาค้นคว้าได้อย่างละเอียดลึกซึ้ง


                          อนึ่ง ผู้ปริวรรตยังต้องการที่จะชักชวนให้นิสิตนักศึกษา นักวิชาการ
                   นักวิจัย และผู้สนใจเกี่ยวกับเรื่องราวพระธาตุพนมได้เข้าไป “ร่วมศรัทธาและ

                   สัมผัสประวัติความเป็นมาของศาสนสถานศักดิ์สิทธิ์แห่งลุ่มน้ำาโขง” ดังที่ปรากฏ
                   ในหนังสือเล่มนี้ ฉะนั้น การจัดพิมพ์เผยแพร่องค์ความรู้ท้องถิ่นอีสานอันเป็น
                   ภูมิปัญญาและมรดกอันทรงคุณค่ายิ่งในครั้งนี้ จึงนับเป็นการส่งเสริม กระตุ้น และ

                   ช่วยจุดประกายให้เกิดความสนใจ อีกทั้งยังเป็น “การต่อยอดองค์ความรู้ด้าน
                   พระธาตุพนมศึกษา” ให้เกิดแก่แวดวงวิชาการอีสานและภูมิภาคลุ่มน้ำาโขง รวมถึง
                   ผู้สนใจใคร่รู้เกี่ยวกับ “พระธาตุพนม อันเป็นพุทธมณฑลแห่งลุ่มน้ำาโขง” ดังกรณี

                   เรื่องราวประวัติความเป็นมาขององค์พระธาตุศักดิ์สิทธิ์ให้เป็นที่รู้จัก
                   แพร่หลายมากยิ่งขึ้น ตลอดจนเป็นการร่วมสืบทอดพระพุทธศาสนาให้ดำารง คงอยู่

                   สืบต่อไป





                                                    รองศาสตราจารย์ ดร.ปฐม หงษ์สุวรรณ
                                         ผู้อำานวยการ สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน
                                                               มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10