Page 6 - ebook.msu.ac.th
P. 6

6           ณรงค์ศักดิ์ ราวะรินทร์




                                             คำานำา





                       ทำาไมต้อง อุรังคธาตุ จ.ศ. ๑๑๖๗ ?

                       อุรังคธาตุเป็นเอกสารที่แสดงข้อมูลอันสำาคัญเกี่ยวกับเรื่องของพระธาตุพนม
               ซึ่งรู้จักกันในชื่อหนึ่ง คือ ตำานานพระธาตุพนม ด้วยมีเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติ
               การตั้งถิ่นฐานบ้านเมืองสำาคัญของผู้คนหลายกลุ่มชาติพันธุ์ในลุ่มแม่น้ำาโขง การ
               เคลื่อนย้ายและความสัมพันธ์ต่อกัน รวมทั้งคติความเชื่อเรื่องการบูชานาค และ

               การรับนับถือพุทธศาสนา ที่สำาคัญคือเป็นต้นเค้าเรื่องที่ส่งอิทธิพลให้เกิดมี
               นิทานตำานานรวมถึงรูปทรงพระธาตุเจดีย์อื่นๆ อีกมากมายหลายท้องถิ่น กระจาย
               อยู่ทั่วไปทั้งสองฝั่งแม่น้ำาโขง ฯลฯ ซึ่งนักวิชาการผู้รู้หลายท่านมักจะมีความเห็น
               ลงรอยกันว่า เป็นเอกสารที่น่าจะมีมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าโพธิสาลราช (ราวปลาย
               พุทธศตวรรษที่ ๒๑) หรืออาจจะมีมาแล้วตั้งแต่สมัยพระเจ้าวิชุนราชธิปัต (พ.ศ.
               ๒๐๔๔-๒๐๖๔) อันเป็นยุคสมัยรุ่งเรืองทางศาสนาวรรณกรรมก็ได้ แล้วจึงมี
               การเขียนคัดลอกเผยแผ่กันต่อๆ มาด้วยศรัทธาอันเป็นประเพณีของชาวพุทธใน

               แถบลุ่มน้ำาโขงแต่อดีตเรื่อยมา

                       เฉพาะกรณีหนังสืออุรังคธาตุฉบับนี้ เป็นเอกสารใบลานที่ พระอริยานุวัตร
               (อารีย์ เขมจารี) “นักปราชญ์อีสาน” อดีตเจ้าอาวาส วัดมหาชัย อำาเภอเมือง จังหวัด
               มหาสารคาม ได้รับมอบมาจากวัดโพนสวาง ตำาบลแพง (ปัจจุบันขึ้นการปกครอง
               ตำาบลโพนงาม) อำาเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม เมื่อวันที่ ๒๙ มกราคม
               พ.ศ. ๒๕๑๔ มีระบุว่าเขียนคัดลอกเมื่อ จ.ศ. ๑๑๖๗ ซึ่งตรงกับ พ.ศ. ๒๓๔๘

               อันเป็นช่วงปลายรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (พ.ศ.
               ๒๓๒๕-๒๓๕๒) แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งหากนับย้อนกลับไปถึงครั้งสมัย
               พระเจ้าวิชุนราชธิปัตก็เป็นเวลาได้ประมาณ ๓๐๐ ปีเศษมาแล้ว

                       เรื่อง “การรับรู้อุรังคธาตุ” นี้ น่าจะส่งผ่านศรัทธาความเชื่อในพุทธศาสนา
               ที่มีกษัตริย์ผู้นำาเป็นเสาหลักสำาคัญให้มีการสืบทอด และเน้นย้ำาความสำาคัญของ
               อุรังคธาตุ ด้วยการเสด็จไปประกอบพิธีสักการบูชา และการบูรณะองค์พระ

               ธาตุพนมตามโอกาส จนทำาให้มีศรัทธาคัดลอกอุรังคธาตุ (รวมทั้งเรื่องอื่นๆ ด้วย)
               ต่อๆ กันมาได้
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11