Page 4 - ebook.msu.ac.th
P. 4

4           ณรงค์ศักดิ์ ราวะรินทร์




                       การปริวรรตหนังสือ “อุรังคธาตุ จ.ศ. ๑๑๖๗” ในครั้งนี้ จึงเสมือน
               เป็นการเปิดกรุสมบัติอันล้ำาค่าและเป็น “มณีแห่งปัญญา” เกี่ยวกับเรื่องราว

               พระธาตุพนม อันเป็นพุทธมณฑลที่เป็นศูนย์รวมจิตใจของผู้คนในท้องถิ่นแห่งนี้
               มานับแต่อดีต การสร้างสรรค์ผลงานในครั้งนี้ยังเป็นการเสริมสร้างกิจกรรมทาง
               ปัญญาเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ด้านศาสนา สังคม วัฒนธรรม การเมือง และภูมิปัญญา

               ของผู้คนในอาณาบริเวณลุ่มน้ำาโขง เพื่อใช้เป็นฐานในการเรียนรู้เรื่องราวที่มาที่ไป
               ของชุมชนท้องถิ่นแห่งนี้โดยแท้ นอกจากการปริวรรตตามเนื้อหาในเอกสารใบลาน
               แล้ว คุณณรงค์ศักดิ์ยังได้พยายามค้นคว้าศึกษาเรื่องราวต่างๆ ที่ปะปนแทรกเสริม

               อยู่ในเนื้อหาหนังสือตำานานอุรังคธาตุฉบับนี้เพิ่มเติมเข้ามาด้วย ตัวอย่างเช่น
               การให้ความรู้เกี่ยวกับภาษาพื้นถิ่นโบราณเทียบเคียงกับภาษาไทยปัจจุบัน หรือ

               การให้สาระความรู้ด้านประวัติศาสตร์ สังคม และวัฒนธรรมที่โยงใยกับตำานาน
               พระธาตุพนม ตลอดจนการเปรียบเทียบกับเนื้อหาของอุรังคธาตุฉบับนี้กับสำานวน
               อื่นๆ โดยเฉพาะสำานวนของหอสมุดแห่งชาติ ซึ่งพบว่า มีทั้งความเหมือนคล้าย

               และแตกต่างกันอยู่พอสมควร การศึกษาในครั้งนี้จึงเป็นการค้นคว้าให้เห็น “สารัตถะ
               แห่งความคิดของชาวอีสาน” ที่ถือเป็น “ข้อค้นพบใหม่” จากเอกสารโบราณชิ้นใหม่

               ที่ยังไม่มีการศึกษาเอาไว้ สาระความรู้ที่ได้รับจากการอ่านหนังสืออุรังคธาตุฉบับนี้
               จึงเสมือนเป็นการสร้างฐานความรู้ให้เกิดแก่ผู้อ่านจะได้ศึกษาค้นคว้าเพื่อให้เห็น
               ร่องรอยความคิดทางวัฒนธรรมของผู้คนในชุมชนลุ่มน้ำาโขงผ่านเรื่องราวใน

               อุรังคนิทานหรือตำานานพระธาตุพนมสำานวนนี้

                       การทำางานของกลุ่มงานอนุรักษ์เอกสารโบราณ สถาบันวิจัยศิลปะและ

               วัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยการนำาของคุณณรงค์ศักดิ์ ใน
               ฐานะ “พี่ใหญ่” ของน้องๆ ที่มีความมุ่งมั่น มีความขยันอดทน และ เป็น “เสาหลัก
               สำาคัญ” ในฐานะที่เป็นผู้ร่วมก่อตั้งและร่วมสร้างงานในสิ่งที่รักในสิ่งที่ชอบ จึงนับ

               เป็นการสร้างคุณูปการให้เกิดแก่แวดวงการศึกษาด้านเอกสารโบราณในท้องถิ่น
               อีสาน การสืบค้นและใช้ความรู้ความพยายามที่จะค้นหาเอกสารเก่าแก่ดั้งเดิม
               ซึ่งหนังสือ “อุรังคธาตุ จ.ศ. ๑๑๖๗” (พ.ศ. ๒๓๔๘) สำานวนนี้ในฐานะที่เป็น

               สำานวนเก่าแก่ที่สุดในเวลานี้ ซึ่งคุณณรงค์ศักดิ์และคณะทำางาน กลุ่มอนุรักษ์เอกสาร
   1   2   3   4   5   6   7   8   9