Page 7 - ebook.msu.ac.th
P. 7

อุรังคธาตุ จ.ศ. ๑๑๖๗ (พ.ศ. ๒๓๔๘)  7



                          อีกกว่า ๑๐๐ ปีต่อมา ในสมัยพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช (พ.ศ. ๒๑๘๑-
                   ๒๒๓๓) อันเป็นยุคสมัยที่พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองขึ้นมาอีก ก็มีพบบันทึก
                   ที่เกี่ยวข้องกับการบำารุงบูรณะพระธาตุพนมด้วย โดยมี พระครูยอดแก้ว แห่ง
                   วัดโพนสะเม็ก (ว่าเป็นศิษย์พระครูลึมบอง ที่เชื่อกันว่าเป็นคนอยู่บ้านกะลึม
                   เมืองพาน: ปัจจุบันอยู่ในเขตอำาเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี) เป็นพระคู่บารมีหลัก
                   ของเวียงจันทน์ในยุคนั้น ซึ่งภายหลังได้เป็นผู้นำาการบูรณะพระธาตุพนม


                          ครั้นเมื่อสิ้นสมัยพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราชแล้ว บ้านเมืองเวียงจันทน์
                   วุ่นวายด้วยเหตุการณ์แย่งชิงราชสมบัติกัน จนพระครูยอดแก้วโพนสะเม็กต้อง
                   หนีราชภัยพร้อมด้วยศรัทธาหลายระดับ ตั้งแต่กลุ่มราชวงศ์ ขุนนาง และชาวบ้าน
                   ผู้มีศรัทธา หนีภัยข้ามแม่น้ำาโขงพักหลบอยู่ที่ตำาบลบ้านภูฉะง้อหอคำา และต้อง
                   ย้ายต่อไปพักอยู่ที่บ้านงิ้วพันลำาน้ำาสมสนุกพระครูยอดแก้วโพนสะเม็กต้อง
                   ระหกระเหินเดินทางลงไปยังภาคใต้จนถึงเขตแดนอินทปัฏนครพร้อมมีศรัทธา

                   ทั้งชาวลาวและข่าตามรายทางร่วมสมทบติดตามไปด้วย แต่ต้องพบเหตุเดือดร้อน
                   เรื่องการเก็บภาษีส่วยจนต้องย้อนกลับคืน กระทั่งที่สุดได้ปกครองเมืองจำาบาก
                   นาคบุรีศรี และบั้นปลายจึงได้อัญเชิญเชื้อพระวงศ์คือ เจ้าหน่อกษัตริย์ มาขึ้นครอง
                   เมืองเป็น “เจ้าสร้อยศรีสมุทพุทธางกูร” ต้นราชวงศ์นครจำาปาศักดิ์ ในปี พ.ศ.
                   ๒๒๕๖ เป็นอิสระจากเวียงจันทน์

                          เมื่อพระครูยอดแก้วโพนสะเม็ก จัดตั้งพิธีราชาภิเษกยกเจ้าหน่อกษัตริย์

                   ขึ้นเป็นเจ้าสร้อยศรีสมุทพุทธางกูร ครองนครจำาปาศักดิ์นาคบุรีศรีแล้ว จึงจัดการ
                   ปกครองตั้งตำาแหน่งเจ้านายแสนท้าวพระยาลาว เต็มตามตำาแหน่งอย่างกรุงจันทบุรี
                   ศรีสัตนาคนหุตล้านช้างร่มขาว และได้บำารุงพระพุทธศาสนาอย่างต่อเนื่องมา
                   โดยตลอด เพราะตามประวัตินั้น พระครูยอดแก้วโพนสะเม็กเป็นพระใฝ่รู้ใฝ่ศึกษา
                   มาตั้งแต่เป็นเณรน้อยแล้ว

                          ในช่วงต้นที่ปกครองนครจำาปาศักดิ์ พระครูยอดแก้วโพนสะเม็ก และ

                   เจ้าสร้อยศรีสมุทพุทธางกูร ได้จัดการปกครองอาณาเขตโดยส่งคนไปรักษาบ้านเมือง
                   ต่างๆ หลายทิศหลายท้องถิ่นในทำานองคล้าย “เมืองขึ้น เมืองออก” กลายๆ ถึง
                   ๙ แห่ง เป็นการขยายอาณาเขต เมื่อพิจารณาจากบันทึกหลักฐาน พบว่า
                   เฉพาะตำาบลบ้านที่อยู่ในพื้นที่ภาคอีสานของไทยมีอยู่ ๓ แห่ง และหนึ่งในสาม
                   แห่งนั้นคือส่งจารแก้ว หรือเจ้าแก้วมงคล (เจ้าแก้วบูฮม) ให้ไปรักษาบ้านทง
   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12