Page 87 - ebook.msu.ac.th
P. 87

72


                                                         บทที่ 8

                           หลักการปริวรรตและการวิเคราะห์ต ารายาจากเอกสารโบราณเบื้องต้น



                       หลักการปริวรรตและการวิเคราะห์ต ารายาจากเอกสารโบราณเบื้องต้น ซึ่งประกอบด้วยหลักการ
               ปริวรรต ความหมาย ความส าคัญ  การปริวรรตใบลานต ารายาอักษรธรรมล้านช้าง (อีสาน) การวิเคราะห์ต ารา
               ยาอักษรธรรมล้านช้าง (อีสาน) จ าแนก ชื่อยา/ตัวยา/โรค ที่ปรากฏ   การปริวรรตใบลานต ารายาอักษรไทย
               น้อย  การวิเคราะห์ต ารายาอกษรไทยน้อย จ าแนก ชื่อยา/ตัวยา/โรค ที่ปรากฏ  การปริวรรตใบลานต ารายา
                                       ั
                                                    ั
               อักษรไทยโบราณ และการวิเคราะห์ต ารายาอกษรไทยโบราณ จ าแนก ชื่อยา/ตัวยา/โรค ที่ปรากฏ โดยใช้
               ส าเนาภาพเอกสารใบลานในการปฏิบัติการปริวรรตครั้งนี้ ไดแก  ่
                              1) ส าเนาภาพใบลานต ารายาอักษรธรรมล้านช้าง (อีสาน) ได้รับความอนุเคราะห์จาก คุณยาย
                       จิตรดา  รัตนพันธุ์  23/6 ถ.ถีนานนท์  ต.ตลาด อ.เมือง จ.มหาสารคาม จ านวน 1 ผูก 87 หน้าลาน

                              2) ส าเนาภาพใบลานต ารายาอักษรไทยน้อย จากกลุ่มงานอนุรักษ์เอกสารโบราณ สถาบันวิจัย
                       ศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม สมบัติวัดมหาชัย พระอารามหลวง จ านวน 35
                       หน้าลาน รหัสมัดที่ AMPRINACS19009 ;  TMKF-MKM-008-BL0009-004

                              3) ส าเนาภาพต ารายาอกษรไทยโบราณ จากกลุ่มงานอนุรักษ์เอกสารโบราณ สถาบันวิจัย
                                                 ั
                       ศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จ านวน 15 หน้าลาน (น าเสนอ 1 หน้าลาน)
                       รหัสมัดที่ AMPRINACS19014

                        8.1 หลักการปริวรรต ความหมาย ความส าคัญ

                              ปริวรรต มีความหมาย ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตสถาน (2554 : 718)  ให้
               ความหมายว่า   ปริวรรต, ปริวรรต- [ปะริวัด, ปะริวัดตะ-] ก. หมุนเวียน เช่น ปริวรรตเงินตรา เปลี่ยนแปลง,
               เปลี่ยนไป, แปรไป. (ส. ปริวรฺต; ป. ปริวตฺต)

                              การปริวรรตตัวอักษรโบราณคือการแปรหรือการเปลี่ยนแปลงตัวอักษรที่ถูกบันทึกในเอกสาร
                                               ี่
               โบราณให้เป็นอักษรใหม่และใช้ภาษาทผู้คนในปัจจุบันสามารถอ่านและทราบเรื่องราว หรือขอมูลได้ เพื่อใช้
                                                                                          ้
               ศึกษาค้นคว้าทั้งทางด้านต ารายา ภาษา ศาสนา สังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ ฯลฯ
                              วีณา วีสเพ็ญ (2550 : 33-34 )  ได้น าเสนอแนวทางการปริวรรตและการน าเสนอในต ารายา

               ในรายงานการวิจัยเรื่องภูมิปัญญาพื้นบ้านจากวรรณกรรมต ารายา ไว้ว่า  การปริวรรตเนื้อหาสาระต่างๆจากใบ
               ลานตามหลักวิชาการนั้น   ได้มีข้อตกลงในกลุ่มนักวิชาการผู้ปริวรรตตัวอักษรโบราณชนิดต่างๆว่า ขั้นแรกให้
               ถ่ายถอดตามลักษณะอักขรวิธีตามที่ปรากฏในใบลานต้นฉบับโดยไม่เปลี่ยนแปลง  แต่ในการปริวรรตของ
               คณะท างานที่ปริวรรตต ารายา  ซึ่งเป็นข้อมูลที่น ามาวิจัยครั้งนี้  ได้ปรับวิธีการบ้างยกเว้นการวางตัวสะกดตาม

               ต้นฉบับจะเขียนไว้ล่างสระ  แต่การถ่ายถอดจะวางไว้ข้างพยัญชนะ  แต่ในการปริวรรตต ารายาทั้งหมดได้ปรับ
               จากขอตกลงทั่วไปบ้างเพื่อความสะดวกในการน าไปใช้ดังนี้
                    ้
                              1. ปริวรรตตัวอักษรธรรมและตัวอักษรไทยน้อยที่ปรากฏในใบลาน  โดยใช้วิธีการถ่ายถอด
               ครั้งเดียว  นั่นคือ รักษาอกขรวิธีและรูปศัพท์ตามการเขียนแบบเดิม  ถ้าศพท์นั้นเป็นที่เข้าใจของผู้อ่านทั่วไป
                                                                           ั
                                    ั
               แล้ว  บางค ารักษาค าเดิมแต่วงเล็บภาษาไทยภาคกลางไว้  เพอความเข้าใจความหมายของผู้อ่านทั่วไป  บางค า
                                                                 ื่
               เขียนเป็นภาษาไทยปัจจุบัน  ส่วนผู้ประสงค์จะศึกษาทางด้านภาษาและอักษรศาสตร์ควรศึกษาเพิ่มเติมเป็นการ
               เฉพาะ
   82   83   84   85   86   87   88   89   90   91   92