Page 20 - ebook.msu.ac.th
P. 20

กลวิธีการผลิต
                      ๑.  เป็นเรือนที่มีความยาวดั้งสูง เพราะแต่เดิมเป็นเรือนมุงหญ้าคา-หญ้าแฝกและแป้นเกล็ด (แป้นมุง)
               จึงทำให้มีปัญหาน้ำฝนรั่วซึม จึงต้องแก้ปัญหาด้วยการทำดั้งสูง ในอัตราส่วนอย่างน้อยต้องขนาด ½ ของความ

               ยาวของขื่อ เพื่อให้น้ำฝนไหลผ่านเร็ว ซึ่งจะช่วยทำให้หญ้ามุงและแป้นมุงมีอายุทนนานมากขึ้นและตกแต่งให้
               สวยงาม

                      ๒.  หญ้าที่ใช้ทำเป็นหลบหลังคาจะมีการใช้ไม้ข่มหลบประกบทับทั้งสองข้างของหัวกลอนและใช้ไม้แทง
               ตาหนู (ไม้เสียบตาหนู) เสียบทะลุบีบบังคับไม้ข่มหลบและทำหน้าที่ข่มหัวกลอนไปพร้อมกันด้วย ทำให้ส่วนบน
               สุดของหลังคาแน่นหนาคงทนขึ้น

                      ๓.  ปลายบนสุดของไม้แป้นลมหรือไม้ป้านลมทั้งสองแผ่นจะใช้ไม้ตียึดประกบให้แน่นมากยิ่งขึ้น และ
               ตกแต่งให้สวยงามยิ่งขึ้น

                      ๔.  โครงสร้างเครื่องบนที่สำคัญ คือ สะยัว (จันทัน) ที่ตั้งบนปลายขื่อ - บนหัวเสา จะมีการใช้ไม้ตียึด
               โยงเข้าหากันเรียกว่า ไม้ยิง (ไม้ยิงลมหรือไม้ยิงยาว) ซึ่งจะช่วยยึดโครงสร้างเครื่องบน ทำให้เรือนมีความมั่นคง
               แข็งแรงมากยิ่งขึ้น

                      ๕.  ในอดีตช่างก่อสร้างจะมีเทคนิควิธีการจับระดับให้เสมอกันโดยไม่เอียง ที่สำคัญคือ
                        ก.  ใช้เชือกชุบน้ำ

                        ข.  ใช้น้ำสายยาง
                      ๖.  ช่างใช้กะทอดหรือพรึงรัดรอบฝาเรือนทั้ง ๔ ด้าน
                      ๗.  แต่เดิมที่มีการใช้ฝาเรือนที่เป็นไม้ไผ่สาน นอกจากจะใช้ฝาสานลายสอง ลายสาม แบบทั่วไปแล้ว

               ยังมีการใช้ฝาสานลายคุบ ที่มีความแน่นมากกว่าปกติ และมีคำสอนให้สามารถจำเทคนิคการสานได้ง่ายด้วยคือ
               “ไก่แม่กล้า คว่ำ ๕ ยอ ๒ ไก่แม่ยอง คว่ำ ๒ ยอ ๔”

                      ๘.  เทคนิคภูมิปัญญาในอดีตเมื่อครั้งยังสามารถเลือกหาไม้มาทำเสาเรือนได้มากนั้น ช่างสร้างเรือน
               อีสานจะมีความเชื่อเรื่องข้อคะลำ (ข้อห้าม) ในการเลือกไม้มาทำเสาเรือนด้วยการกำหนดเป็นข้อห้าม นำไม้
               ชนิดประเภทต่างๆ มาทำเป็นเสาเรือนไว้เป็นจำนวนมาก (เท่าที่ค้นพบได้แล้วไม่น้อยกว่า ๒๐ ชนิด) เนื่องจาก

               เป็นไม้ที่มักมีปัญหาเรื่องการรับน้ำหนักตัวเรือนทั้งสิ้น
                      ๙.  ช่างสร้างเรือนจะมีความเชื่อร่วมกับเจ้าของเรือนเสมอในการกำหนดขนาดและรูปแบบของเรือน

               คือความเชื่อเรื่องการ “แทกโสก” ที่เป็นวิธีการกำหนดวัดขนาดความยาว - กว้าง และสูง - ต่ำของส่วนต่างๆ
               ของเรือน ที่ละเอียดประณีตยิ่ง คือ ต้องกำหนดขนาดด้วยวิธีแทกโสกจากฝ่าเท้า คืบ ศอก และวา ฯลฯ ของ
               เจ้าของเรือนเป็นสำคัญ เช่น โสกกลอนเรือน โสกเสา โสกกะทอด (พรึง) โสกแป้นปู (พื้นกระดาน) เป็นต้น



               กระบวนการจัดการองค์ความรู้

                      ๑.  การเรียนรู้สืบทอดงานช่างฝีมือดั้งเดิมเกี่ยวกับเรือนอีสาน จะมีการถ่ายทอดและสืบทอดกันเป็น
               กลุ่มเฉพาะเพศชาย เป็นหลัก ทั้งในระดับครอบครัว คือ ลูกชายและลูกเขย และในระดับชุมชนที่แต่ละคน

               สามารถขอเข้าร่วมรับการถ่ายทอดได้โดยไม่จำกัดอยู่เพียงในกลุ่มเครือญาติเท่านั้น ส่วนใหญ่จะมีการเข้าร่วม
               กลุ่มช่างก่อสร้างด้วยการปฏิบัติจริงในฐานะเป็นลูกมือช่างฝึกหัดไปเรื่อยๆ

                      การเข้าร่วมฝึกหัดสร้างเรือนใหญ่จะไม่มีพิธีกรรมในการขอเข้าร่วมกลุ่มที่ชัดเจนเหมือนวิชาชีพอื่นๆ
               อย่าง ช่างแคน ช่างพิณ หมอลำ ฯลฯ

                                                           18
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25