Page 23 - ebook.msu.ac.th
P. 23

เหล่านี้เป็นเหตุให้ตัวช่างฝีมือดั้งเดิม และกลุ่มช่างที่มีความรู้และทักษะประสบการณ์ขาดการสืบทอด
                เพราะไม่มีงานไม้ก่อสร้างให้ทำต่อไป หลายคนต้องหันไปประกอบอาชีพอื่น



                ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ พิกัดทางภูมิศาสตร์
                       ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ตั้งอยู่ระหว่าง ละติจูดที่ ๑๔ ํ และ ๑๘ ํ เหนือ และระหว่าง

                ลองติจูดที่ ๑๐๑ ํ และ ๑๐๕ ํ ตะวันออก อาณาเขตทางทิศเหนือ และทิศตะวันออกเฉียงเหนือจดประเทศลาว
                มีแม่น้ำโขงเป็นแนวเขตพรมแดน ทิศใต้จดภาคกลางและประเทศเขมรมีเทือกเขาพนมดงรัก ทิวเขาสันกำแพง
                เป็นแนวเขตพรมแดน ทิศตะวันตกจดภาคกลางมีทิวเขาเพชรบูรณ์และทิวดงพญาเย็นเป็นแนวพรมแดน

                       พื้นที่ทั้งหมดเป็นที่ราบสูง เรียกว่า ที่ราบสูงโคราช (Khorat Plateau) ตั้งแต่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
                จะเป็นบริเวณที่สูงกว่าระดับน้ำทะเล ๗๐๐ ฟุต เอียงลาดไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำมูล

                ที่สูงกว่าระดับน้ำทะเล ๒๐๐ ฟุต
                       ภายในพื้นที่ที่ราบสูงโคราชแบ่งพื้นที่ออกเป็น ๒ แอ่ง โดยมีเทือกภูพานเป็นแนวแบ่งเขต คือ ตอนเหนือ
                เทือกภูพานเรียกว่า แอ่งสกลนคร (Sakon Nakorn Basin) มีพื้นที่ประมาณ ๑ ใน ๔ ของภาคอีสาน ครอบคลุม

                พื้นที่เขตจังหวัดเลย อุดรธานี หนองคาย หนองบัวลำภู สกลนคร นครพนม มุกดาหาร บึงกาฬ ส่วนพื้นที่
                ทางตอนใต้เทือกภูพาน เรียกว่า แอ่งโคราช (Khorat Basin) มีพื้นที่ประมาณ ๓ ใน ๔ ของภาคอีสาน

                ครอบคลุมพื้นที่เขตจังหวัด กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ขอนแก่น ชัยภูมิ ยโสธร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี
                ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ นครราชสีมา



                บทสรุป

                       เรือนพื้นถิ่น หมายถึงเรือนของชาวอีสาน ที่มีบรรพชนเป็นคนลุ่มน้ำโขง รุ่นพุทธศตวรรษที่ ๑๙ และ
                ๒๓ เป็นต้นมา สร้างด้วยไม้จริงทั้งหลัง ขนาดความยาว ๓ ห้องเสา ที่เรียกว่า เรือนใหญ่ มีประโยชน์ใช้สอย
                สอดคล้องกับวิถีชีวิต ทางด้านเศรษฐกิจ ความเชื่อ การขัดเกลาทางสังคม และการควบคุมพฤติกรรมคนใน

                ครอบครัวรวม (stem family) ที่สัมพันธ์กับธรรมชาติแวดล้อมในท้องถิ่น
                       ลักษณะพิเศษหรือเอกลักษณ์ มีรูปแบบทรงจั่ว ใต้ถุนสูง แบ่งประโยชน์ใช้สอยชัดเจน คือ ห้องเปิง

                (ห้องผี-ห้องพระ) ห้องนอนพ่อแม่ และห้องส้วม (ห้องนอนลูกสาว-ลูกเขย) มีพัฒนาการจากเถียงนา เถียง
                เหย้า ตูบเหย้า และเหย้า จนกระทั่งเป็นเรือนใหญ่ ที่มีเทคนิคการก่อสร้างที่ประณีตซับซ้อน และสัมพันธ์กับ
                ความเชื่อมากในหลายๆ ขั้นตอน ของการก่อสร้าง

                       เทคนิคการก่อสร้างที่สำคัญ คือ การเลือกไม้ที่ใช้สร้างโดยมีความเชื่อกำกับ มีวิธีกำหนดขนาด-สัดส่วน
                ด้วยการแทกโสกหรือโฉลก ชิ้นส่วนต่างๆ ของเรือน ที่สัมพันธ์กับเจ้าเรือน มีพิธียกเสาแฮก-เสาขวัญ มีเทคนิค

                การหาระดับตัวเรือนแบบดั้งเดิม
                       กระบวนการจัดการองค์ความรู้ มีการถ่ายทอดกันในกลุ่มผู้ชายเป็นหลัก ทั้งในระดับครอบครัวเครือญาติ
                และในชุมชน ผ่านการร่วมงานจริงในฐานะการเป็นลูกมือ ช่างฝึกหัด โดยไม่จำเป็นต้องมีพิธีกรรมขอเป็นศิษย์

                กับครู แต่ครูก็พร้อมจะสนับสนุนส่งเสริม ให้คำแนะนำช่วยแก้ปัญหาให้ตลอดเวลา
                       ลักษณะเรือนอีสานสามารถสะท้อนสภาพสังคมการอยู่ร่วมกันในระบบครอบครัว ที่มีการแบ่งพื้นที่ทั้ง

                ในชีวิตส่วนตัว ที่อยู่ด้านในสุดของตัวเรือน ทั้ง ๓ ห้อง และพื้นที่เปิดเผยซึ่งต่อออกไปทางด้านนอกเปิดโล่งมี
                หลังคาเพิงหรือเกยคลุม คือชานหรือระเบียง และพื้นที่เปิดโล่งเป็นชานแดด ใช้ประโยชน์อเนกประสงค์

                                                           21
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28