Page 24 - ebook.msu.ac.th
P. 24

ส่วนพื้นที่ใต้ถุนเรือน และบริเวณบ้านจะสะท้อนภาพสังคมชาวนาที่ชัดเจนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเชื่อ
               ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเรือนจะสะท้อนถึงการควบคุมสังคม เศรษฐกิจ และการจัดการทรัพยากรป่าไม้
               และแหล่งน้ำ ที่อ่อนน้อมและเคารพธรรมชาติแวดล้อม

                      คุณค่าของงานช่างฝีมือดั้งเดิม เห็นได้ว่ารูปแบบของเรือนอีสานมีความสัมพันธ์กับความเชื่อเศรษฐกิจ
               การแยกครอบครัว รวมทั้งการใช้เทคนิค ภูมิปัญญาการก่อสร้าง ที่ประณีตซับซ้อน สถานภาพปัจจุบันของ

               การถ่ายทอดความรู้ และทักษะการสร้างเรือนอีสานปัจจุบัน ตกอยู่ในสภาวะเสี่ยงต่อการสูญสลายมากที่สุด
               ที่จำเป็นต้องปกป้องคุมครองอย่างเร่งด่วน เพราะปัจจัยหลายด้านทั้งจากคนภายในที่มีค่านิยมเปลี่ยนแปลง
               และปัจจัยภายนอก ที่มีกฎหมายอนุรักษ์ป่าไม้ของรัฐควบคุม วัสดุสังเคราะห์วิทยาศาสตร์ใหม่เข้ามาแทนที่

               มากขึ้น ฯลฯ เป็นเหตุให้ตัวช่างฝีมือดั้งเดิม และกลุ่มช่างที่เคยมีความรู้และทักษะประสบการณ์ขาดการสืบทอด











































               เรือนใหญ่มีโข่ง : ภาพจากพิพิธภัณฑ์บ้านอีสานโบราณ สถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช สถานีปฏิบัติการนาดูน อ.นาดูน
                      จ.มหาสารคาม เดิมเป็นเรือนของนายต้อย-นางเสน เครือสี (ชาติพันธุ์ผู้ไทย) บ้านเลขที่ ๑๕๔ หมู่ ๑๑
                      บ้านกุดบอด ตำบลสงเปลือย อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์

                      (สมชาย  นิลอาธิ : ข้อมูล/ภาพ)














                                                          22
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29