Page 19 - ebook.msu.ac.th
P. 19

ความนำ



                                                                             ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมชาย  นิลอาธิ


                นิยาม

                       เรือนพื้นถิ่น หมายถึงที่อยู่อาศัยของกลุ่มชาติพันธุ์ไทย-ลาว ซึ่งเป็นชนส่วนใหญ่ของภาคอีสาน สร้างด้วยไม้
                จริง มีขนาดความยาว ๓ ห้องเสา หลังคาทรงจั่ว ใต้ถุนสูง ที่เรียกว่า “เรือนใหญ่” อันเป็นเป้าหมายในการ

                สร้างชีวิตครอบครัวในอดีต เพราะเป็นเรือนที่มีความพร้อมจะใช้ประโยชน์ร่วมกันได้ อย่างสมบรูณ์พร้อมใน
                ระบบครอบครัวรวม (Stem Family) หรือครอบครัวขยายชั่วคราว ทั้งด้านเศรษฐกิจ ความเชื่อ การขัดเกลา
                ทางสังคมและการควบคุมพฤติกรรม ที่สัมพันธ์สอดคล้องกับวิถีการดำเนินชีวิตในครอบครัว เครือญาติทั้ง

                ภายใน-ภายนอกชุมชนและธรรมชาติแวดล้อมในท้องถิ่น


                ลักษณะพิเศษหรือเอกลักษณ์
                       ๑.  เป็นเรือนขนาดความยาว ๓ ห้องเสา

                         ทั้ง ๓ ห้องเสา มีหน้าที่ใช้สอยชัดเจน จากหัวเรือนด้านสกัดคือ
                         ก.  ห้องเปิง คือห้องที่อยู่ของผีเรือน ซึ่งเป็นความเชื่อเรื่องผีบรรพชนและเป็นที่เก็บรักษาวัตถุ
                เครื่องมงคลด้วย ต่อมาภายหลังเมื่อรับความเชื่อในพุทธศาสนาแล้ว จึงมีการนำวัตถุมงคลทางศาสนามาเก็บ

                รักษาบูชาร่วมด้วย จึงกลายเป็นห้องพระไปพร้อมกันด้วย
                         ข.  ห้องกลาง คือห้องนอนของพ่อแม่

                         ค.  ห้องส้วม (ออกเสียง - ห่องส่วม) คือห้องนอนของลูกสาวและลูกเขย
                       ๒.  มีพัฒนาการที่สัมพันธ์กับระบบครอบครัว
                         ก.  เริ่มจากเมื่อมนุษย์ออกจากถ้ำเพิงผา มาสร้างทับเถียงเป็นที่อยู่อาศัยลักษณะชั่วคราวอยู่ใกล้

                แหล่งอาหาร เป็นครอบครัวเดี่ยว (Nuclear Family) ที่ค่อนข้างโดดเดี่ยว ซึ่งชาวอีสานเรียกว่า เถียงนา แล้วจึง
                มีการพัฒนาให้มิดชิดมากขึ้นเป็น เถียงเหย้า และตูบเหย้า มีการรวมตัวกันอยู่เป็นกลุ่มชุมชนขนาดเล็กๆ

                         ข.  จากนั้นจึงมีพัฒนาการอีกระดับหนึ่ง ด้วยการใช้วัสดุที่มั่นคงแข็งแรงมากกว่าและขนาดใหญ่
                กว่า เถียงนา - เถียงเหย้า และตูบเหย้า ซึ่งชาวอีสานเรียกว่า เหย้า แต่ก็ยังอาศัยอยู่กันเป็นครอบครัวเดี่ยวในแต่
                ละหลังเหมือนเดิม จะมีต่างเพิ่มขึ้นบ้างก็คือ เริ่มมีความเชื่อในระบบครอบครัวขึ้น ด้วยการยก “หิ้งเปิง” ไว้ใน

                ห้องหนึ่ง ซึ่งมักจะอยู่หน้าห้องนอน
                         ค.  สุดท้ายได้มีการปรับพัฒนารูปแบบและขนาดเป็นเรือนใหญ่ มีขนาดความยาว ๓ ห้องเสาและ

                บางครอบครัวอาจจะมีการต่อเติมเรือนหลังเล็กเพิ่มขึ้นเคียงตามแนวยาวเรียกว่า เรือนโข่งหรือเรือนน้อย ที่มี
                ความมั่นคงถาวรและประณีตซับซ้อนมากขึ้น อยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวรวม (Stem Family) และมีการแยก
                ประโยชน์ใช้สอยเป็นห้องนอนโดยเฉพาะของพ่อแม่และลูกสาวแยกจากกัน และที่เด่นชัดที่สุดคือ มีการยก

                หิ้งเปิงขึ้นไว้ในอีกห้องหนึ่ง เรียกว่า “ห้องเปิง” ซึ่งเป็นห้องความเชื่อเรื่องผีบรรพชนโดยเฉพาะ
                       ๓.  เทคนิคการก่อสร้าง เมื่อครั้งยังสร้างเป็น เถียงนา-เถียงเหย้า และตูบเหย้าจนถึงเหย้า เพื่ออยู่

                อาศัยชั่วคราว ส่วนใหญ่จะใช้วัสดุง่ายๆ ในธรรมชาติแวดล้อมเท่าที่มีและที่หาได้ ครั้นเมื่อถึงระดับการสร้าง
                เรือนใหญ่ ที่มั่นคงถาวรเพื่ออยู่อาศัย อยู่ติดที่ จะมีการพัฒนาเทคนิคการก่อสร้างที่ซับซ้อนมากขึ้น

                                                            17
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24