Page 21 - ebook.msu.ac.th
P. 21

ครั้นเมื่อถึงระยะเวลาหนึ่งที่ลูกมือช่างฝึกหัดคนใดมีทักษะความสามารถระดับหนึ่งที่มั่นใจจะรับงาน
                ช่างก่อสร้างด้วยตัวเอง พร้อมลูกมือช่างฝึกหัดเป็นกลุ่มของตัวเองได้ ก็สามารถแยกตัวออกเป็นอีกกลุ่มหนึ่งได้
                อย่างอิสระ โดยหัวหน้ากลุ่มช่างเดิมที่เป็นเสมือนครู ก็มักจะยอมรับให้การสนับสนุน และพร้อมจะให้คำแนะนำ

                ช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ด้วยความเต็มใจและรวมทั้งพร้อมที่จะร่วมงานก่อสร้างกันได้เสมอด้วย
                       ๒.  การจัดการแหล่งผลิต ปัจจุบันยังไม่มีการศึกษารวบรวมว่ามีกลุ่มช่างสร้างเรือนใหญ่อยู่ที่ไหน

                อย่างชัดเจน เพราะมีกระจายทั่วไปอย่างไม่เป็นทางการ และเป็นกลุ่มที่ไม่ชัดเจน มีแนวโน้มว่าจะสูญหายไป
                อย่างรวดเร็ว แม้ว่าน่าจะหลงเหลืออยู่กับกลุ่มช่างเคลื่อนย้ายเรือนบ้าง แต่ก็ไม่มีหน่วยงานใดให้ความสนใจ
                อย่างจริงจังและเป็นระบบ



                งานช่างฝีมือดั้งเดิมกับการสะท้อนภาพสังคมไทย

                       สังคมการอยู่ร่วมกันในเรือนอีสานที่จะสะท้อนภาพสังคมได้ อาจพิจารณาได้จากการแบ่งพื้นที่กว้างๆ
                ได้เป็น ๒ ส่วน คือพื้นที่บนเรือนและพื้นที่ข้างล่างเรือน
                       ๑.  พื้นที่บนเรือน สามารถแบ่งได้เป็น ๒ ส่วน คือพื้นที่ส่วนตัวและพื้นที่เปิดเผย

                       พื้นที่ส่วนตัวจะอยู่ด้านในสุดของเรือน มักมีการกั้นฝาแต่ละห้องเสาชัดเจน เป็นห้องนอนของพ่อแม่,
                ห้องนอนของลูกสาวคือ ห้องส้วม และห้องเปิงคือ ห้องผี/ห้องพระที่มีการยกหิ้งเปิงไว้ที่ฝาหรือที่มุมเสาริมสุด

                จะกั้นฝาด้านนอกหรือไม่ก็ได้ แต่ห้องนอนทั้งสองจะมีการกั้นฝาให้มิดชิดเสมอ
                       ส่วนพื้นที่ที่ลดระดับถัดออกมาด้านนอกคือ ชานเรือนหรือระเบียงจะเปิดโล่งตลอดมีหลังคาเพิงคลุม
                ที่เรียกว่า “เกย” เป็นพื้นที่ใช้ประโยชน์อเนกประสงค์ ซึ่งจะรวมทั้งพื้นที่ถัดออกมาอีกระดับหนึ่งที่เรียกว่า

                ชานแดดหรือชานฝน ไม่มีหลังคาคลุมใช้ประโยชน์อเนกประสงค์เช่นกัน ส่วนริมสุดมักจะวางแอ่งน้ำใช้และ
                ยกร้านวางแอ่งน้ำดื่ม ริมชานแดด ด้านหนึ่งมักจะสร้างเป็นเรือนครัว (เรือนไฟ) จัดเป็นพื้นที่ส่วนที่เปิดเผย

                       ๒.  พื้นที่ข้างล่างเรือน แบ่งออกได้เป็น ๒ พื้นที่ คือ พื้นที่ใต้ถุนเรือนและพื้นที่ในบริเวณบ้าน
                       พื้นที่ใต้ถุนเรือน จะมีการใช้ประโยชน์ร่วมกันหลายอย่าง คือ กั้นคอกขังวัวควาย, วางโฮงหูกหรือ
                กี่ทอผ้า หรือโฮงสาด (ทอเสื่อ) รวมทั้งอาจจะวางแคร่ไม้ไผ่เป็นพื้นนั่งเล่น นอนเล่น รับแขก และกินอาหาร

                       พื้นที่ในบริเวณบ้าน คือ บริเวณในแนวเขตของตนที่อยู่นอกบริเวณใต้ถุนเรือน จะมีการแบ่งพื้นที่ใช้สอย
                ที่หลากหลาย คือ พื้นที่ทำครัวมักจะอยู่บริเวณใกล้ๆ บันไดหรือด้านข้างชานแดด ส่วนพื้นที่ปลูกพืชสวนครัว

                มักจะอยู่บริเวณริมรั้วใกล้ทาง ด้านหลังบ้านมักจะปลูกพืชไม้ผล ส่วนเล้าข้าว (ยุ้งข้าว) จะสร้างไว้ห่างตัวเรือน
                ใหญ่ไปเล็กน้อย ใกล้ๆ กันหรือริมชายคาเรือนใหญ่จะตั้งครกมองใช้ตำข้าว
                       นอกจากด้านพื้นที่ประโยชน์ใช้สอยในชีวิตสังคมแล้ว ภาพสะท้อนที่สำคัญอีกด้านหนึ่งก็คือวัฒนธรรม

                ความเชื่อในวิถีชีวิตที่มีความสัมพันธ์อย่างแนบแน่นกับการอยู่อาศัยในเรือนอีสาน คือ
                       ความเชื่อเรื่องห้องเปิง ซึ่งมีการทำพิธียกหิ้งเปิงไว้ที่ฝาด้านในหรือมุมเสาริมห้องเปิง เป็นหิ้งบูชาผีบรรพชน

                ของครอบครัว เก็บรักษาวัตถุมงคลเครื่องรางของขลัง ภายหลังเมื่อรับพุทธศาสนาแล้วจึงกลายเป็นหิ้งพระ และ
                ห้องพระร่วมกันไปด้วย แต่เดิมจะมีการบูชาทุกวันพระเป็นประจำ มีข้อห้ามที่สำคัญมาก อย่างเช่น แต่เดิม
                จะห้ามลูกเขยหรือลูกสะใภ้ล่วงขึ้นไปในห้องเปิง โดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งเป็นข้อห้ามที่มีบทบาทหน้าที่ควบคุม

                พฤติกรรมลูกเขยหรือลูกสะใภ้ที่ต้องเคารพยำเกรงผู้ใหญ่ และจะมีผลต่อการใช้แรงงานทางเศรษฐกิจในครอบครัว
                ลูกเขยและการอบรมเลี้ยงดูลูกหลานของลูกสะใภ้




                                                            19
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26