Page 26 - ebook.msu.ac.th
P. 26

เรือนอีสานและประเพณีการอยู่อาศัย




                                                                            ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมชาย  นิลอาธิ




                      จากการสังเกตที่ได้จากการสำรวจศึกษาสถาปัตยกรรมที่อยู่อาศัยของชาวอีสานทั่วๆ ไป พบว่า
               สถาปัตยกรรมเรือนพักอาศัยของชาวอีสานที่สัมพันธ์กับวิถีการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพ มี ๓
               ลักษณะใหญ่ๆ ด้วยกันคือ



                      ๑.  เรือนใหญ่
                      ๒.  เหย้าและตูบต่อเล้า

                      ๓.  เถียงนา


                      เรือนใหญ่ เป็นเรือนพักอาศัยถาวรที่ประกอบไปด้วยห้อง ๓ ห้อง ตามแนวยาวของตัวเรือนคือ

               ห้องเปิง, ห้องนอนพ่อแม่และห้องนอนของลูกสาวและลูกเขย มีส่วนระเบียงที่มีเกยเป็นหลังคาเพิงคลุมและ
               ชานแดดยื่นลดชั้นออกมาทางด้านนอกเรือน บางครั้งอาจแบ่งส่วนหนึ่งของชานไว้เป็นที่ครัว หรือไม่ก็อาจต่อ

               ห้องครัว ไว้ด้านข้างเรือนข้างใดข้างหนึ่ง


                      เหย้าและตูบต่อเล้า เป็นที่พักอาศัยชั่วคราวเมื่อลูกสาวและลูกเขยแยกครัวเรือนมาจากเรือนใหญ่ของ
               พ่อ - แม่ โดยแยกออกมาสร้างตูบต่อเล้าหรือสร้างเหย้าอยู่กันเองเป็นครอบครัวใหม่เป็นลักษณะครอบครัวเดี่ยว
               ในชุมชนเดียวกันกับพ่อ - แม่


                      สำหรับ ตูบต่อเล้า นั้นจะต้องสร้างอยู่ชั่วคราวภายในบริเวณบ้านของพ่อ - แม่ แน่นอนเพราะจะสร้าง
               ในลักษณะเพิงหมาแหงนโดยอาศัยโครงสร้างของเล้าข้าวของพ่อ - แม่ เป็นหลักยึดด้านหนึ่งเสมอ จึงได้ชื่อว่า

               ตูบต่อเล้าและเล้าข้าวดังกล่าวก็จะอยู่ในบริเวณบ้านของ พ่อ - แม่ เสมอด้วย


                      ส่วน เหย้า นั้นเป็นที่พักอาศัยชั่วคราวที่มีโครงสร้างของตัวเอง จึงอาจจะสร้างอยู่ภายในบริเวณบ้าน
               ของ พ่อ - แม่ ก็ได้ หรืออาจจะออกไปสร้างอยู่ริมนอกหมู่บ้านหรือสร้างในบริเวณที่นาใกล้หมู่บ้านก็ได้ ขึ้นอยู่

               กับความเหมาะสมที่เห็นควรเกี่ยวกับความแออัดของบริเวณบ้านในชุมชนนั้นๆ เป็นสำคัญ


                      เถียงนา เป็นที่พักอาศัยชั่วคราวอีกลักษณะหนึ่งที่มีลักษณะคล้ายเหย้า แต่จะออกไปสร้างในบริเวณ
               ที่นา ซึ่งมักจะอยู่ห่างไกลจากหมู่บ้าน เพื่อใช้เป็นที่พักอาศัยในฤดูทำนาประมาณ ๕ - ๖ เดือนในแต่ละปี
               ซึ่งชาวอีสานส่วนใหญ่มักจะนิยมสร้างกันมากเสมอ จนดูเรียงรายกันทั่วไปตามทุ่งนา



                      จากเหตุที่ต้องอพยพครอบครัวออกอยู่เถียงนาซึ่งอยู่ไกลจากหมู่บ้านกันทุกปีนี้เอง กลุ่มของเถียงนา
               หลายแห่งจึงถูกพัฒนาดัดแปลงเพิ่มเติมเพื่ออยู่อาศัยตลอดปี จนกลายเป็นเหย้าแล้วจากนั้นก็มักจะมีเถียงนา

               อื่นๆ อพยพเข้าไปอยู่ร่วมกลุ่มด้วย จนกลายเป็นชุมชนใหม่เกิดขึ้น

                                                          24
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31