Page 66 - ebook.msu.ac.th
P. 66

ถ้าไม่ทำเช่นนั้นแล้วอาจจะทำให้ฝาเล้าหลุดพังเสียหายได้ง่ายที่สุดและยิ่งเมื่อพิจารณาวัสดุที่ใช้ทำฝาในสมัยก่อน
               ด้วยแล้ว ก็ยิ่งมีความจำเป็นมากยิ่งขึ้น เพราะแต่ก่อนมีใช้กันแต่วัสดุที่พอหาได้ง่ายๆ ในท้องถิ่น ซึ่งไม่ค่อยจะมี
               ความคงทนแข็งแรงมากนัก และแม้ว่าในภายหลังหรือในปัจจุบันนี้จะมีวัสดุที่ดีกว่ามาใช้แทนมากแล้วก็ตาม

               แต่ก็ยังไม่สามารถจะหาวัสดุอื่นมาตีฝาให้ติดกับโครงสร้างได้ดีเท่ากับการใช้โครงสร้างของตัวเองรัด


                      ฉะนั้นแม้ว่าจะดูไม่สวยงาม และไม่เรียบร้อยเลยก็ตาม แต่ประโยชน์ใช้สอยหลักในการรับ
               น้ำหนักก็ย่อมมีความจำเป็นที่ต้องมาก่อนอย่างละเลยไม่ได้เป็นอันขาด


                      ประตูเล้าข้าว เป็นอีกส่วนหนึ่งที่มีลักษณะพิเศษของตัวเอง โดยมีประโยชน์ใช้สอยเป็นตัวกำหนดให้
               ต้องทำเช่นนั้น คือ จะใช้บานเปิด-ปิดเหมือนกับเรือนพักอาศัยไม่ค่อยได้ เพราะถ้าใช้บานเปิด-ปิดแล้วจะทำให้

               ใช้สอยเก็บข้าวไม่สะดวก และยังจะทำให้ข้าวไหลออกจนเสียหายได้ง่าย แต่ถ้าจะใช้ก็มักจะยกระดับประตูให้สูง
               จากพื้นเล้าไม่น้อยกว่า ๕๐ ซ.ม. โดยประมาณ ประตูเล้าข้าวจะทำด้วยไม้จริงเป็นแผ่นๆ เพื่อสอดเข้าร่อง ๒
               ข้างทางแนวตั้ง (แนวยืน) ของวงกบ โดยจะตัดสันร่องวงกบตอนบนทั้งสองข้าง ให้พอที่จะเอาไม้บานประตูสอด

               เข้าร่องได้ ปกติจะตัดไว้ไม่น้อยกว่าความกว้างของไม้บานประตูแต่ละแผ่น

                      เมื่อใส่ข้าวเปลือกเข้าเล้าสูงขึ้น ก็จะปิดทีละแผ่น


                      เมื่อเวลาจะเอาข้าวออก ก็จะทำเช่นเดียวกันคือ ค่อยเอาออกทีละแผ่น


                      แต่ถ้าจะต้องทำเป็นประตูบานเปิด-ปิด ก็มักจะทำบาน ขนาดไม่ใหญ่มากนัก และมักจะต้องอยู่ใน
               ระดับค่อนข้างสูงเสมอ ก็เพื่อความสะดวกสบายในการขนข้าวเข้า-ออก และสามารถเก็บข้าวได้มากๆ นั่นเอง

                      พื้นเล้า ดังได้กล่าวแล้วว่าพื้นเล้าจะต้องตีลีกไม้ทับแนวร่อง จะปล่อยเว้นร่องอย่างเรือนพักอาศัยไม่ได้
               แม้ว่าจะปูพื้นชิดกันแล้วก็ยังไม่เพียงพอ และอาจจะทำได้ยาก แต่ถ้าจะใช้วิธีเข้าลิ้นก็จะเป็นเรื่องยากสิ้นเปลือง
               ไม่คุ้มค่า จึงต้องใช้วิธีเอาลีกไม้ตีทับร่อง



                      ส่วนระดับพื้นเล้านั้นแต่ก่อนจะทำพื้นด้านหลังให้สูงกว่าด้านหน้าเสมอ


                      - ฝาเล้า เป็นความจำเป็นเช่นเดียวกันกับพื้นเล้า แต่การตีลีกไม้ที่ฝานั้นนอกจากจะกันไม่ให้ข้าวรั่วไหล
                        ออกแล้ว ยังต้องกันน้ำฝนไม่ให้ไหลรั่วเข้าด้วยฉะนั้นฝาเล้าข้าวจึงจำเป็นต้องตีตามแนวตั้งเสมอ
                        สำหรับฝาเล้าข้าวในรุ่นแรกก็จะทำในแนวตั้งเช่นเดียวกัน แต่จะเพื่อผลในเรื่องความคงทนแข็งแรง

                        มากกว่า เพราะจะทำให้ฝาเข้าแนวไขว้ ขวางกับค่าวที่รัดอยู่ข้างนอกนั่นเอง
                      - ภายในเล้าข้าว ตรงส่วนที่ฝาด้านล่างจดกับพื้น จะเป็นส่วนที่กันข้าวออกและกันฝนไหลเข้าได้ยาก

                        ส่วนใหญ่จึงมักจะป้องกันโดยใช้เศษฟางข้าวมัดรวมกันเป็นท่อนกลมๆ ยาวๆ วางปิดมุมไว้โดยรอบ
                        หรือไม่ก็จะใช้วิธีเปี๋ยด้วย ขี้วัว ขี้ควาย ดังกล่าวแล้ว แต่บางครั้งก็ใช้สังกะสีตีปิดไว้ก็มีบ้างเหมือนกัน
                      - บันได ปกติแล้วเล้าข้าวจะไม่มีบันไดขึ้น-ลง แต่ถ้าจำเป็นจะต้องมีต้องใช้กันจริงๆ ก็มักจะใช้ไม้กระดาน

                        วางทอดให้มีความลาดมากๆ เพื่อขนข้าวขึ้น-ลง แต่ถ้ากระดานมีความลื่นก็จะใช้ไม้ชิ้นเล็กๆ ตีเป็น
                        ขั้นๆ กันไว้ จะไม่ใช้บันไดเป็นขั้นๆ แบบของเรือนพักอาศัยแต่ที่สำคัญคือจะต้องวางพาดให้ลาดชัน

                        น้อยกว่าของเรือนพักอาศัย แต่ ในรุ่นเก่าจริงๆ จะนิยมใช้ไม่ไผ่ลำใหญ่ๆ มาตัดให้เหลือแขนงวางพาด
                        ข้างเสาด้านเป็นเหมือนพะอง สำหรับปีนขึ้น-ลง ซึ่งชาวอีสานเรียกว่า “เกิน”

                                                           64
   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71