Page 222 - ebook.msu.ac.th
P. 222

222             ณรงค์ศักดิ์ ราวะรินทร์




                              ๘๔๘
               ๑๗. ธาตุหัวอก

                       นะโมตัสสะ ภะคะวะโตอะระหะโตสัมมาสัมพุทธัสสะ
                                                          ๘๔๙
                       ชะนะเวระ อะนาติเรพะ (กะ)  สิสวรชะดี
                       อันว่าพระปุรมมะอุณณะมันตะถะ ล้ าวิเศษพระมหาอุปเทศ
               พระมหาธาตุพนมปุรมเตชะ

                       พระเจ้าก็เสด็จเข้าสู่นิพพาน ประมาณว่าได้ ๙ ปีปลาย ๗ วัน
                                                                 ๘๕๐
               เดือน ๑๒ เพ็งบริสุทธิ์ จันทชฎี (จันทรคติ?) มีนักขัตฤกษ์ ถืก  หน่วยกฤติกา
                                                    ๘๕๑
                       ยามนั้นอันมหากัสสปะเถรเจ้า จีง  ร าพึงว่า เถิงที่อันนั้น  จักตั้ง
               ศาสนาพระเจ้า  ก็ร าพึงอนาคตเมื่อสัพพัญญูเจ้า  ยังทัวระมานวันนั้น พระเจ้าก็






               ๘๔๘
                  หนังสือใบลาน เรื่ อง ธาตุหัวอก เป็ นเอกสารใบลานสมบัติวัดมหาชัย รหัส
               L๑๓๐๐๔Sub๐๑_๐๓ จ านวน ๑๐ หน้าลาน (ผูกเดียวจบ)  จารด้วยตัวอักษรธรรม ภาษาไทยอีสาน-
               ลาวเก่า ไม่ระบุศักราชที่จาร  มีชื่อเรียกอื่นด้วย คือ พื้นธาตุ ผู้เรียบเรียงสันนิษฐานว่าทั้งสองเรื่องอาจ
               สร้างเพื่อเป็นการบอกอานิสงส์การสร้างหนังสือใบลานเรื่อง “อุรังคธาตุ”
               ๘๔๙
                  ชะนะเวระ อะนาติเรพะ (กะ)  สิสวรชะดี  ในวรรคนี้ ได้รับการตรวจสอบภาษาบาลีจาก
               ผศ.ดร.อภิญวัฒน์ โพธิ์สาน (ปธ.๗)  ซึ่งท่านวินิจฉัยจากอักษรที่ถ่ายถอดเป็นค า ๆ พบว่าไม่อยู่ในรูป
               ของประโยคบาลีแต่อย่างใด เป็นประโยคที่หาความหมายไม่ได้  ท่านให้สมญาบาลีประเภทนี้ว่า
               "บาลีเถื่อน" แต่ผู้รู้ท่านหนึ่งได้ปรารภกับผู้ปริวรรตว่า ในบทนี้ไม่ใช่บาลีเถื่อน แต่ผู้แต่งใช้วิธีเรียบ

               เรียงไวยากรณ์แบบลาว  เช่น ค าว่า ชะนะ บางส านวนใช้ ชินะ  ค าว่า เวระ หมายถึง  เวร,  เวรา แต่ผู้
               จารจารเพี้ยนเป็น วร, ว ระ (พระ),  อนาติเร พะสิ สวรชะดี (ติ) อันนี้ท่าน (ผู้ปริวรรต) วรรคผิด  ที่ถูก
               คือ อะนาติพะ(อะนาติเรกะ) สิสวรชะดี,  อนาติเรก จารเพี้ยนจาก อะติเรกะ หรือ อติเรก  หลายฉบับ
               จาร อติเรก เมื่อผู้จารท่านจารถวายพระเจ้าแผ่นดินก็ต้องถวายอติเรกก่อนเป็นการถวายพรพิเศษ
               ส่วน สิสวรชะดี  อันนี้ก็เพี้ยนจาก สีสวัสดี, สีสวัสวะดี ความหมายเดียวกัน  แม้ในสังกาดธาตุพนม
               ท่านก็ใช้ประโยคคล้ายกันว่า “ ชินะเจระวะอันติเลกะสิทธิดี  บุรมมะคุณณะมะหันตะอุตธะราติเรก
               มหาอุประเทดธาตุพระนมบุรมมะ...”
               ๘๕๐
                   หมายถึง ถูก
               ๘๕๑
                   หมายถึง จิง, จึง
   217   218   219   220   221   222   223   224   225   226   227