Page 35 - แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัล พ.ศ. 2566-2570
P. 35

8) การใชเทคโนโลยีดิจิทัลสมัยใหมเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนและพัฒนาทักษะทางดิจิทัล

                         ใหกับเจาหนาที่รัฐใหทันตอเทคโนโลยีดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลง รวมทั้งการพัฒนาผูเชี่ยวชาญดานดิจิทัล
                         และการสงเสริมทักษะดิจิทัลขั้นสูง เพื่อรองรับนวัตกรรมใหม และสนับสนุนใหผูเชี่ยวชาญที่ไมใชสายงาน
                         ดิจิทัลเขาใจถึงความเปนไปไดในการทำงานในรููปแบบใหม หรือในรูปแบบที่แตกตางจากเดิม



                         ในกรณีของประเทศไทย ไดมีการจัดตั้งสถาบันพัฒนาบุคลากรภาครัฐดานดิจิทัล หรือ Thailand Digital
                         Government Academy (TDGA) ภายใตการดำเนินงานของสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เพื่อดำเนินการ
                         สงเสริม สนับสนุน ใหบริการวิชาการ และจัดอบรมเพื่อยกระดับทักษะความรูความสามารถของเจาหนาที่

                         ของรัฐ เพื่อรองรับการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล รวมทั้งมีการสงเสริมการใชนวัตกรรมดิจิทัลสูหนวยงานทองถิ่น
                         อยางไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอยางรวดเร็ว ทำใหเจาหนาที่รัฐมีความจำเปนตองพัฒนาทักษะ
                         และความรูดานดิจิทัลอยางตอเนื่อง ดังนั้น เพื่อใหเจาหนาที่รัฐสามารถใชและเขาใจเทคโนโลยีดิจิทัล
                         จึงมีความจำเปนอยางยิ่งที่ตองสงเสริมศักยภาพและวัฒนธรรมการใชเทคโนโลยีดิจิทัลแกบุคลากรภาครัฐ







                         9) การเปน Agile Government หรือภาครัฐที่มีการปรับตัวและมีความยืดหยุนมากขึ้น ซึ่งรวมถึง

                         การกำหนดนโยบาย กฎระเบียบการจัดซื้อจัดจางและบุคลากร ทั้งนี้การปรับปรุงกระบวนการภาครัฐ
                         จะมีการกำหนดรูปแบบการทำงานระหวางหนวยงาน และบทบาทการสนับสนุนของหนวยงานกลาง โดย
                         การนำระบบดิจิทัลมาลดขั้นตอน ลดกระบวนการทำงาน ลดงานเอกสาร และมีการจัดลำดับการปรับปรุง
                         ตามความสำคัญของกระบวนงานและจัดกลุมความสำคัญของหนวยงานที่ใหบริการ ตัวอยางแนวทางการพัฒนา

                         ที่สำคัญ ไดแก ยุทธศาสตรการปรับปรุงกระบวนงานภาครัฐของแผน Digital Government Blueprint
                         2023 ที่เนนการใชประโยชนจากเทคโนโลยีใหมๆ และการปฏิรูปการจัดซื้อจัดจางภาครัฐที่เกี่ยวกับดิจิทัล
                         (Digital Procurement Reform) ของรัฐบาลสหราชอาณาจักร เพื่อใหเอื้อตอการทำงานรวมกับภาคเอกชน



                         ในกรณีของประเทศไทย ไดมีการดำเนินการพัฒนาระบบนิเวศดานกฎหมายใหเอื้อตอการพัฒนารัฐบาล
                         ดิจิทัลทั้งการปรับปรุง แกไข และเพิ่มเติมกฎหมาย กฎระเบียบ และขอบังคับตาง ๆ หากแตเปนการดำเนิน
                         การที่ตองใชระยะเวลา จึงตองอาศัยการดำเนินการที่ตอเนื่อง นอกจากนั้น ภาครัฐไทยยังจำเปนตองเรง
                         ปรับปรุงกฎระเบียบการจัดซื้อจัดจางภาครัฐและการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล ใหมีความยืดหยุน

                         และคลองตัวมากยิ่งขึ้น เพื่อใหสามารถรับมือกับความทาทายใหมๆ และการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของ
                         เทคโนโลยีสมัยใหมไดอยางทันทวงที



















                                                                                                    34
   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40