Page 31 - ebook.msu.ac.th
P. 31

เหตุปัจจัยที่ทำให้มีการสืบทอดที่สำคัญก็คือ ความเชื่อต่างๆ ตลอดจนคะลำหรือข้อห้ามและผญา
                ภาษิตที่เกี่ยวข้องกับเรือนพักอาศัย ซึ่งเป็นเสมือนสิ่งสนับสนุนที่ช่วยรักษาความเหมาะสมสอดคล้องกัน
                ระหว่างเรือนพักอาศัย ซึ่งสัมพันธ์กับระบบครอบครัวให้ดำรงอยู่ได้



                       เรื่องความเชื่อเกี่ยวกับ “โสก” ของชาวอีสานที่ใช้เป็นเหมือนมาตราวัดความสูง - ต่ำ, กว้าง - ยาว
                ของวัสดุที่ใช้สร้างเรือน เช่น โสกเสา โสกกลอนเรือน โสกกะทอด (พรึง) และโสกแม่กะได เป็นต้น



                       ความเชื่อเรื่อง “เปิง” ก็มีส่วนที่กำหนดให้มีการยกเปิงขึ้นในเหย้า เพื่อเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงความเป็น
                เจ้าของที่อยู่อาศัย และเป็นหัวหน้าผู้นำครอบครัวใหม่ที่เป็นครอบครัวเดี่ยวและเมื่อสร้างเรือนใหญ่แล้วก็จะมี

                การยกเปิงขึ้นไว้ในห้องหนึ่งโดยเฉพาะแล้วเรียกว่า ห้องเปิง ซึ่งนอกจากแสดงสถานภาพของหัวหน้าครอบครัว
                แล้ว ยังจะใช้เป็นที่เก็บรักษาสิ่งที่เคารพสักการะต่างๆ เช่น รูปเคารพทางความเชื่อศาสนา ตลอดจนเครื่องราง
                ของขลังและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ฯลฯ จนบางครั้งก็จะรู้จักห้องเปิงกันในอีกความหมายหนึ่งว่าคือ ห้องพระหรือ

                ห้องผี ด้วย


                       จากลักษณะที่เป็นสัญลักษณ์ความเป็นผู้นำครอบครัวนี้ จึงทำให้มีผลเกิดเป็นความเชื่อเรื่องคะลำและ

                ข้อห้ามไม่ให้เขยล่วงล้ำขึ้นเปิงโดยเด็ดขาด ซึ่งจะถือว่าเป็นความผิดเหมือนเป็นการละลาบละล้วงล่วงเกินพ่อตา
                ผู้เป็นเจ้าของบ้านที่อยู่ในฐานะหัวหน้าครอบครัว



                       จึงอาจกล่าวได้ว่า นอกจากความเชื่อเรื่องเปิงจะมีอิทธิพลต่อลักษณะโครงสร้างของเรือนใหญ่แล้ว
                ยังจะทำหน้าที่เป็นเครื่องมือ “ควบคุมสังคม” (Social Control) ในระดับครอบครัว ให้สามารถอยู่ร่วมกันอย่าง

                สงบสุขไปด้วย


                       ส่วนคำกล่าวในลักษณะ “ผญาภาษิตโบราณ” ที่ถ่ายทอดสืบต่อกันมาก็มีลักษณะสนับสนุนให้มีการ

                รักษาความเหมาะสมสอดคล้องกันระหว่างเรือนพักอาศัยกับประเพณีการอยู่อาศัยหลายอย่างเช่น


                       ประเพณีนิยมในการแต่งงานของชาวอีสานที่เอาเขยเข้าบ้าน เพื่อต้องการแรงงานเพื่อเพิ่มผลผลิต
                รายได้ ก็จะมีคำภาษิตกล่าวย้ำในทางปฏิบัติว่า “เอาเขยมาเลี้ยงพ่อเฒ่าแม่เฒ่า ปานได้ข้าวมาใส่เล้าใส่เยียเอา

                ลูกใภ้มาเลี้ยงปู่เลี้ยงย่า ปานได้ผีห่ามาใส่เฮือนใส่ซาน” และ “นาสองเหมือง เมืองสองท้าว เหย้าสองเขย”
                เป็นต้น



                       นอกจากนี้คำกล่าวเกี่ยวกับการนำต้นไม้มาถากทำเป็นเสาเรือน ก็ยังมีลักษณะที่บ่งบอกถึงสถานะและ
                ระยะเวลาในการสร้างที่อยู่อาศัยในลักษณะชั่วคราวหรือถาวรด้วยคือ “ถากเสาบ่มีเหลี่ยมเค้า แสนสิเกลี้ยงก็

                บ่งาม” ซึ่งจะมีความหมายอยู่ในทีเป็นที่รู้กันว่า เหย้าหรือเรือนน้อยส่วนใหญ่มักจะใช้เสาไม้กลมกะเทาะเปลือก
                หรืออาจจะถากบ้างเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ส่วนเรือนใหญ่จะต้องนำท่อนเสามาถากให้เป็นเหลี่ยมเสมอ



                       จนที่สุดก็ยังมีภาษิตโบราณที่เน้นย้ำถึงลักษณะเรือนพักอาศัยของชาวอีสานที่แยกครัวเรือนแล้วมี
                เป้าหมายสูงสุดอยู่ที่การสร้างเรือนใหญ่ ซึ่งเป็นเรือนที่มีความสัมพันธ์กับโครงสร้างของระบบครอบครัว โดย

                                                            29
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36