Page 32 - ebook.msu.ac.th
P. 32

แสดงนัยชี้ให้เห็นถึงความสุขในการดำรงชีวิตในสังคมเสมือนจะเป็นการประสบความสำเร็จในการสร้างครอบครัว
               อย่างหนึ่งว่า “สุขเพราะมี เฮือนใหญ่ มุงแป้นกระดาน”


                      ดังกล่าวมาโดยสังเขปเกี่ยวกับประเพณีการอยู่อาศัยในบ้านเรือนของชาวอีสานนี้ พอจะสรุปกว้างๆ

               ได้ว่า การแยกครัวเรือนออกมาอยู่ตูบต่อเล้านั้น เป็นเสมือนจุดเริ่มต้นของการสร้างครอบครัวเดี่ยวขึ้นใหม่
               เป็นเอกเทศทางเศรษฐกิจของตนเอง แต่ก็ยังมีความผูกพันพันอยู่กับครอบครัวเดิมอยู่บ้างทางด้านสังคมคือ

               พวกลูกๆ ที่ยังเล็กอาจจะผูกพันกับ ตา - ยาย อย่างใกล้ชิดเหมือนเดิมที่ยังอยู่ห้องส้วมหรือห้องส่วม และ
               โดยเฉพาะสถานที่สร้างตูบซึ่งต้องต่อออกจากเล้าข้าวที่อยู่ในบริเวณบ้านของ พ่อ - แม่



                      แต่ทั้งนี้ก็อาจจะไม่จำเป็นต้องแยกออกไปสร้างตูบอยู่ก่อนก็ได้ ขึ้นอยู่กับความต้องการและความสามารถ
               ที่จะทำได้ ซึ่งอาจจะแยกครัวเรือนออกไปสร้างเหย้าหรือเรือนน้อยอยู่ก็ได้



                      แต่ไม่ว่าจะสร้างตูบอยู่ก่อน หรือบางครั้งอาจจะมีการปรับปรุงเถียงนาขึ้นเป็นตูบเถียง ตูบเหย้าหรือ
               จะสร้างเหย้าเลยก็ตาม กล่าวได้ว่า เหย้าหรือเรือนน้อยคือจุดเริ่มต้นของการสร้างครอบครัวใหม่ในลักษณะ
               ครอบครัวเดี่ยว ที่มีความพร้อมเบื้องต้นที่จะสร้างสถานภาพในสังคมต่อไปได้ด้วยตัวเองแล้วเพราะนอกจากจะ

               แยกครัวเรือนออกมาเป็นอิสระทางเศรษฐกิจแล้วยังจะมีการยกเปิงขึ้นไว้ในเหย้า ซึ่งเป็นการแสดงถึงสถานภาพ
               ความเป็นเจ้าของและเป็นผู้นำครอบครัวที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด



                      ส่วนเรือนใหญ่นั้น แน่นอนว่าจะต้องเป็นเป้าหมายหลักที่จะต้องพยายามสร้างให้ได้เพราะนอกจากจะ
               เพื่อสนองประโยชน์ใช้สอยในชีวิตและค่านิยมในสังคมตามประเพณีเดิมที่สัมพันธ์กับลักษณะสังคมแบบครอบครัว
               รวมแล้ว ยังจะเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงสถานภาพในสังคมที่ยอมรับกันโดยทั่วไปอีกด้วย



                      นี้ก็คือวิถีการสร้างเรือนพักอาศัยของชาวบ้านอีสานตามแบบประเพณีเดิมที่มีการสืบทอดกันเรื่อยมา
               ในลักษณะเหมือนวงจร แม้ว่ารูปแบบของเรือนพักจะเปลี่ยนแปลงไปบ้างก็ตาม แต่โครงสร้างของเรือน

               ก็จะยังคงดำรงอยู่ได้ตราบเท่าที่โครงสร้างของระบบครอบครัวยังไม่เปลี่ยนแปลง และมีความเชื่อด้านต่างๆ
               เป็นเครื่องตอกย้ำสนับสนุนให้มีการสืบทอด

















               ...............................................................................
               เรือนอีสานและประเพณีการอยู่อาศัย  โดย: สมชาย นิลอาธิ | ใน วารสาร ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ ๙ ฉบับที่ ๒

               (ธ.ค. ๒๕๓๐)



                                                           30
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37