Page 35 - ebook.msu.ac.th
P. 35

ส่วนห้องกลางที่เคยเป็นห้องนอนของพ่อแม่นั้น เมื่อให้ลูกสาวที่ยังไม่แต่งงานนอนแล้ว ก็เหลือห้องส้วม
                ซึ่งเป็นห้องนอนของลูกเขยอีกห้องเดียวเท่านั้น
                       ปัญหาการอยู่ร่วมกันในครอบครัวจึงมีตามมาว่า ถ้าลูกสาวคนต่อๆ ไปแต่งงานอีกจะทำอย่างไร?

                เพราะ ห้องส้วม หรือบ่อนนอนพี่อ้ายมีเพียงห้องเดียวเท่านั้นแถมยังมีผญาภาษิตเป็นคะลำ-ห้ามไว้อีกว่า
                “นาสองเหมือง เมืองสองเจ้า เหย้าสองเขย” เป็นสิ่งที่ไม่ดี ไม่ควรทำ

                       เรื่องนี้ชาวอีสานรุ่นเก่าเขามีทางออกที่กำหนดการกระทำ โดยใช้ผญาภาษิตบอกกล่าวชี้แนะ จนกลายเป็น
                ค่านิยมให้ต้องทำว่า “น้ำใหม่เข้า น้ำเก่าออก”
                       คือเขยใหม่จะต้องเข้ามาอยู่ร่วมเรือนแล้ว เขยเก่าจะต้องแยกครัวเรือนออกไปทำมาหากินสร้างตัว

                สร้างครอบครัวใหม่กันเอง โดยพ่อแม่ฝ่ายหญิงจะมอบมรดกที่ดินที่นาให้อยู่อาศัยและทำมาหากินเลี้ยงตัวเอง
                แล้วจากนั้นก็หาขยับขยายกันเองต่อไป

                       น้ำใหม่ก็จะไล่น้ำเก่าออกไปเรื่อยๆ นั่นคือเขยใหม่ก็จะเข้าไปอยู่ในห้องส้วมแทนเขยเก่าต่อไปเรื่อยๆ
                เช่นกัน
                       เขยเก่าที่แยกครัวเรือนออกไปดังกล่าวนี้ ตอนแรกๆ อาจจะไปสร้างที่พักชั่วคราวที่เรียกว่า ตูบต่อเล้า,

                ตูบหรือตูบเหย้า (กระท่อม/กระต๊อบ) หรือเหย้าอยู่ไปพลางก่อนก็ได้
                       จากนั้นจึงค่อยๆ ใช้เวลาและแรงงานทำมาหากิน สะสมไม้และวัสดุอื่นที่จำเป็นไปเรื่อยๆ ซึ่งอาจจะใช้

                เวลามากบ้างน้อยบ้างแตกต่างกันไป แต่ส่วนใหญ่ในอดีตก็มักจะพอสร้างเรือนใหญ่ขนาด ๓ ห้อง ได้ทันกับเวลา
                ที่ลูกๆ โตเป็นบ่าวเป็นสาว เพราะจะต้องนอนแยกกันให้มิดชิดเป็นสัดเป็นส่วนและพร้อมที่จะรับลูกเขยเข้ามา
                อยู่ร่วมเรือน













































                                                           33
   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40