Page 33 - ebook.msu.ac.th
P. 33

ส้วม : ห้องนอนในเรือนอีสาน




                                                                             ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมชาย  นิลอาธิ



                       ที่อยู่อาศัยของชาวชนบทอีสานในอดีตมีหลายแบบ เช่น เถียงนา, เหย้า, ตูบหรือตูบเหย้าและตูบต่อเล้า

                ซึ่งล้วนเป็นที่อยู่อาศัยชั่วคราวขนาดเล็ก สร้างด้วยวัสดุง่ายๆ เท่าที่พอหาได้ มักสร้างหยาบๆ ตามกำลังความ
                สามารถในเวลาไม่มากนัก










































                                                    ห้องส้วมในเรือนอีสาน





                       ที่อยู่อาศัยเหล่านี้มีความสัมพันธ์กับการทำมาหากิน เพราะจะนิยมสร้างเถียงนา/เถียงไร่อยู่ใกล้หรือ
                ในบริเวณที่นา/ไร่ เพื่อความสะดวกในการทำนาทำไร่และสามารถสนองประโยชน์การอยู่อาศัยในลักษณะ

                ครอบครัวเดี่ยวได้ในระดับหนึ่ง เพื่อรอเวลาการขยับขยายต่อไป
                       ที่พักอาศัยของชาวอีสานดังกล่าวนี้ มักจะไม่ใช้คำเรียกว่า เรือน นอกจาก เหย้า เท่านั้น บางครั้งก็มีบ้าง

                ที่เรียกว่า เรือนน้อย ทั้งนี้คงเป็นเพราะคำว่าเรือนแต่เดิม น่าจะมีความหมายที่ยิ่งใหญ่ มีความคงทนถาวรใน
                ความคิดของผู้คนที่อยู่อาศัยร่วมกันเป็นครอบครัวตามค่านิยมในสังคมก็ได้




                                                            31
   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38