Page 23 - ebook.msu.ac.th
P. 23
๑๔
ความคิด อยากคิดเห็นสิ่งที่ดวงตามองไม่เห็น อยากได้ยินเสียงที่หูไม่ได้ยิน เรียกว่า จินตนาการ ด้วยเหตุที่
มนุษย์มีความต้องการที่จะใช้จินตนาการ มนุษย์จึงไม่พอใจกับเรื่องราวเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงๆในชีวิตของตน
นอกจากพฤติกรรมพื้นฐานที่ซ้ าๆนี้ มนุษย์ใคร่จะได้รับการปลอบใจจากเรื่องราวที่ไม่ได้เกิดแก่มนุษย์โดยแท้จริง
จึงมีการเล่านิทาน ฟังนิทาน จากความสามารถดังกล่าว มนุษย์จึงมีความสามารถทางการประพันธ์ เกิดมีผู้แต่ง
ผู้เล่า ผู้ฟัง กระทั่งเมื่ออารยธรรมพัฒนาต่อไปจนถึงขั้นบันทึกถ้อยค าที่รจนาเป็นตัวอักษร วรรณกรรม วรรณคดี
จึงเกิดขึ้น ซึ่งถือได้ว่ามีความสอดคล้องกับการศึกษาเรื่องราวพระวอพระตาในเอกสารใบลาน โดยมีการ
น าเสนอออกมาในรูปของลักษณะร้อยกรองท้องถิ่น และเลือกน าเสนอเหตุการณ์และการใช้ค าที่มี
ลักษณะเฉพาะ ต่างไปจากพระวอพระตาในเอกสารประวัติศาสตร์ชิ้นอื่นๆ
นอกจากนี้การรับรู้เรื่องราวพระวอพระตาในเอกสารใบลานในสังคมปัจจุบันยังมีความแตกต่างจาก
การรับรู้เรื่องราวพระวอพระตาจากบันทึกประวัติศาสตร์ชาติ อันเป็นประวัติศาสตร์กระแสหลักที่มีส่วนส าคัญ
อย่างมากในการสร้างส านึกของคนในชาติ ในเอกสารบันทึกของคนในท้องถิ่น อาจถูกมองจากสังคมส่วนใหญ่
ว่าเป็นเรื่องราวที่เต็มไปด้วยเรื่องราวที่ถูกแต่งเติมตามจินตนาการของผู้ประพันธ์ หากมองอีกแง่มุมหนึ่งจะเห็น
ได้ว่าเรื่องเล่าหรือเอกสารในท้องถิ่นมีการอธิบายประวัติศาสตร์แฝงในตัวบท ซึ่งเป็นการบ่งชี้ว่า หากจะศึกษา
ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นแล้วสิ่งที่เน้นย้ าให้ประวัติศาสตร์นั้นมีน้ าหนักความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้นคือ เรื่องเล่า
ต านาน วรรณกรรม ดังจะเห็นได้จากค าบอกเล่าจากค าให้สัมภาษณ์ของ กว้าง เหล่าบ้านค้อ อายุ 83 ปี
ชาวบ้านกุดดู่ อ าเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวล าภู ที่พูดถึงพระวอพระตาที่มีความสัมพันธ์กับโบราณสถาน
โบราณวัตถุว่า “วัตถุชิ้นนี้มีความเก่าแก่ตั้งแต่ปางพระวอพระตา”ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความทรงจ าหรือเงาของ
ประวัติศาสตร์ที่บ่งบอกถึงอายุความเก่าแก่ของสิ่งนั้นๆ แต่หากจะศึกษาเรื่องราวในวรรณกรรมพระวอพระตา
จากเอกสารใบลานนั้น วิธีการทางประวัติศาสตร์ก็เป็นส่วนส าคัญอีกอย่างหนึ่งในการอธิบายมิติเวลา เหตุการณ์
ทางสังคมหรือยุคสมัยของวรรณกรรมนั้นให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ดังที่ (กฤษณา เกษมศิลป์ ๑๙๘๖ : ๑) กล่าวว่า ไม่มี
ชาติใดในโลกที่จะมีประวัติศาสตร์ล้วนๆ โดยไม่อาศัยต านาน แม้แต่ชาติเกิดใหม่ เช่น อเมริกา ที่มีเรื่องราว
ท้องถิ่นและการต่อสู้กับอินเดียนแดงเจ้าของถิ่นเดิม ส่วนชาติที่เก่าแก่มีอายุนับพันปีขึ้นไป ย่อมต้องมีเรื่องราว
ในต านานมากกว่าชาติเกิดใหม่ เรื่องในต านานนั้นแท้จริงคือเรื่องจริง เกิดขึ้นจริง คนในชาตินั้นเชื่อถือ และนับ
ถือว่าเป็นเรื่องส าคัญมีอิทธิพลต่อความกล้าหาญ ต่อความรักชาติ ต่อขนบประเพณีบ้านเมือง เรียกว่าเป็นเรื่อง
ถูกใจของคนยุคนั้น จากการค้นคว้าข้อมูลพระวอพระตาในเอกสารประวัติศาสตร์พบว่า เหตุการณ์ที่เกี่ยวโยง
กับพระวอพระตาเกิดขึ้นในช่วงยุคสมัยอยุธยาตอนปลายถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้นซึ่งผู้ปริวรรตได้กล่าวไว้
เกี่ยวกับเหตุการณ์พระวอพระตาในเบื้องตน
นอกจากนี้ยังพบว่าเนื้อหาพระวอพระตาฉบับนี้มีการเลือกน าเสนอเหตุการณ์ที่มีความแตกต่างไปจาก
พระวอพระตาในเอกสารประวัติศาสตร์ ทั้งนี้ผู้ปริวรรตได้เลือกเอากรอบแนวคิดเกี่ยวกับภาพแทน
(representation) มาประยุกต์เป็นแนวคิดส าหรับการศึกษาครั้งนี้ ทั้งนี้ สจ๊วต ฮอลล์ (Stuart Hall) (อ้างถึงใน
วันชนะ ทองค าเภา ๒๕๕๑ : ๑๖) นักวิชาการวัฒนธรรมศึกษา เสนอว่า มนุษย์คิดและเข้าใจสิ่งต่างๆผ่านภาษา
ดังนั้น ภาษาจึงมีบทบาทส าคัญที่สุดในการเสนอภาพตัวแทน ซึ่งมีสองขั้นตอนคือ มนุษย์มีมโนทัศน์ (หมายถึง
ภาษาสามัญทั่วไปที่มนุษย์ใช้แปลความคิดออกมา) เกี่ยวกับสิ่งต่างๆ มโนทัศน์เหล่านั้นหมายรวมถึงรูปธรรม
พระวอ-พระตาในเอกสารใบลาน