Page 24 - ebook.msu.ac.th
P. 24

๑๕




               เช่น แก้วน้ า เก้าอี้ ต้นไม้ และนามธรรม เช่น ความดี ความชั่ว ความสุข ความทุกข์ มโนทัศน์เหล่านี้จะอยู่ใน
               สมองของมนุษย์อยู่แล้ว เพราะได้ผ่านการเรียนรู้สั่งสมจากประสบการณ์ ในขั้นต่อมา มนุษย์จะรับสารผ่านตัว
               บทด้วยวิธีการต่างๆ เช่น ดู ฟัง พูด คุย อ่าน ฯลฯ ในขั้นตอนนี้ภาษาจะเข้ามามีบทบาทช่วยให้มนุษย์สามารถ

               เชื่อมโยงสารดังกล่าวเข้ากับมโนทัศน์ในสมองของตนได้
                       ด้วยเหตุที่ภาษาเป็นสื่อส าคัญที่สุดในการเสนอภาพตัวแทน ฮอลล์ จึงให้ความหมายของ การน าเสนอ

               ภาพตัวแทน ว่า หมายถึงภาษาเพื่อกล่าวถึง น าเสนอสรรพสิ่งโดยที่มีการเน้นย้ าความหมาย หรือกล่าวโดย
               ละเอียดคือ การน าเสนอภาพตัวแทนเป็นกระบวนการผลิตความหมายจากมโนทัศน์ความคิดของเราผ่านทาง

               ภาษา ภาพตัวแทนเป็นสิ่งเชื่อมโยงมโนทัศน์กับภาษาเข้าด้วยกันเพื่อใช้อ้างอิงถึงโลกแห่งความจริง
                       ดังที่ นพพร ประชากุล (๒๕๕๒ : ๔๑๕) อธิบายว่า ภาพแทน (representation) คือการคัดเลือกเอา

               คุณลักษณ์บางอย่างมาขับเน้นแล้วน าเสนอออกมาประหนึ่งว่าเป็นตัวแทนของทั้งหมด ซึ่ง วันชนะ ทองค าเภา
               (๒๕๕๑ : ๑๘) ได้อธิบายเพิ่มเติมว่า เช่น มนุษย์คนหนึ่งอาจจะมีทั้งข้อดีและข้อเสีย แต่การน าเสนอภาพ
               ตัวแทนมนุษย์คนดังกล่าวอาจจะเลือกเฉพาะด้านดีมาน าเสนอให้เป็นวีรบุรุษ หรืออาจจะเลือกเฉพาะที่ไม่ดีมา

               น าเสนอให้เป็นผู้ร้ายก็ได้ หรือการรณรงค์ท่องเที่ยวตลาดโบราณแนวตลาดร้อยปี ซึ่งอาจจะเลือกเน้น
               ประชาสัมพันธ์เฉพาะสิ่งที่มีคุณลักษณะแบบโบราณ เช่น ของเล่น อาหารการกิน และการแต่งกายของคนใน

               ตลาดที่พ้นสมัยไปแล้ว ทั้งๆ ที่จริงในตลาดนั้นอาจมีสินค้าและผู้คนที่ทันสมัยตามปกติรวมอยู่ด้วยก็ได้
                       จากกรอบแนวคิดภาพตัวแทนนี้ผู้ปริวรรตเรียบเรียงเห็นว่า แนวคิดภาพตัวแทนเป็นกอบแนวคิดที่จะ

               ช่วยเชื่อมโยงเกี่ยวกับการน าเสนอภาพพระวอพระตาในเอกสารฉบับนี้ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น เพราะภาษา และค าที่
               ผู้ประพันธ์ได้เลือกสรรใช้ส าหรับบรรยายเหตุการณ์ต่างๆ มีการเลือกบรรยายเหตุการณ์บางเหตุการณ์ เมื่อ

               น ามาเปรียบเทียบกับเอกสารประวัติศาสตร์แล้วพบว่า เหตุการณ์บางตอนขาดหายไป จนท าให้เกิดลักษณะ
               เฉพาะที่แตกต่างไปจากพระวอพระตาในเอกสารประวัติศาสตร์ ซึ่งอาจเป็นความประสงค์ของผู้ประพันธ์เองที่
               เจตนาเลือกบรรยายเฉพาะบางเหตุการณ์ นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ประพันธ์ได้น าเสนอภาพพระวอพระตาออกมา

               ในรูปแบบลักษณะภาพเหมารวม เช่นในตอนที่กษัตริย์เวียงจันทน์ กล่าวถึงพระวอพระตาว่า “คันกูบ่ได้ฆ่าซุม
               พระตาเหมิดทั้งโคตร บ่ควรอยู่สืบสร้างเป็นเจ้านั่งเมือง” ซึ่งถือได้ว่าเป็นภาพที่ผู้ประพันธ์พยายามสื่อออกมาใน

               ลักษณะการมองแบบเหมารวมในสายตาของตัวละครกษัตริย์เวียงจัน์ และยังมีภาพของความเป็นคู่ตรงข้าม
               ระหว่างกษัตริย์เวียงจันทน์กับพระวอพระตาอย่างเห็นได้ชัด กระทั่งการให้ความหมายพระวอพระตาจาก

               เวียงจันทน์ที่อ้างถึงในตัวบทได้ขับเน้นให้พระวอพระตาถูกน าเสนอออกมาในลักษณะของวีรบุรุษ



               เนื้อเรื่องย่อ
                       เหตุการณ์เรื่องราวพระวอพระตาในเอกสารใบลานฉบับของหอสมุดแห่งชาติลาว ถือเป็นเหตุการณ์ใน

               วรรณกรรมที่อิงประวัติศาสตร์ มีการน าเสนอภาพพระวอพระตาที่แตกต่างจากประวัติศาสตร์ชาติ โดยกล่าวถึง
               ความเป็นผู้น าในด้านต่างๆของพระวอพระตา ซึ่งกลุ่มพระวอพระตาภายหลังได้วางแผนออกเดินทางจาก

               เวียงจันทน์ข้ามแม่น้ าโขง ในช่วงเดือน ๓ เป็นช่วงที่น้ าโขงลดปริมาณลงสามารถข้ามได้สะดวก เมื่อมาถึงหนอง
               บัวลุ่มภู (หนองบัวล าภู) พระตาเห็นเป็นพื้นที่เหมาะแก่การตั้งบ้านเรือนเพราะมีแหล่งน้ า จึงพักกองครัวและ



                                                 พระวอ-พระตาในเอกสารใบลาน
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29