Page 26 - ebook.msu.ac.th
P. 26

๑๗




                       สุวิทย์ ธีรศาสวัต (๒๐๐๐ : ๒๑ – ๒๒) ได้อธิบายความขัดแย้งจนเกิดการรวบรวมก าลังไพร่พลและหนี
               ออกมาจากเวียงจันทน์ของกลุ่มพระวอพระตาว่า กรณีความขัดแย้งที่เป็นสาเหตุท าให้ลาวตกเป็นเมืองขึ้นของ
               สยาม คือ ความขัดแย้งระหว่างพระเจ้าสิริบุญสารกับกลุ่มพระวอพระตา ๑. พระเจ้าสิริบุญสารประกอบกิจต่อ

               ราษฎรให้ได้รับความเดือดร้อนโดยทั่วไป เช่น ทรงช้างมาเหยียบย่ าข้าวในนาราษฎร แม้พระวอพระตาได้
               พยายามทัดทานในฐานะผู้เคยอุปการะพระเจ้าสิริบุญสาร กับพระอนุชาตั้งแต่ยังเยาว์เหมือนลูกหลานจนได้เป็น

               เจ้าแผ่นดินก็หาทรงเชื่อฟังไม่ ๒. พระเจ้าสิริบุญสารบีบบังคับเอาบุตรของพระตาไปเป็นหม่อม ๓. พวกเสนา
               “หมากขี้กา” หรือพวกประจบสอพลอส่อเสียดยุยงให้พระเจ้าสิริบุญสารหวาดระแวงพระวอพระตาว่าหวังจะชิง

               ราชบัลลังก์ ประกอบกับพระวอ พระตา เคยช่วยเหลือเจ้ากิ่งกิสราช และเจ้าอินทโสมเมื่อครั้งเป็นนายกองอยู่
               ด่านหิงโงม (สันนิษฐานว่าด่านหินโงม ตั้งอยู่ต าบลหินโงม อ าเภอเมือง จังหวัดหนองคายในปัจจุบัน) ท าให้พวก

               ประจบสอพลอยุยงว่าพระวอพระตาจะฝักใฝ่ในฝ่ายหลวงพระบาง ๔. พระวอพระตา เคยได้รับค ามั่นสัญญา
               จากพระเจ้าสิริบุญสารว่าหากช่วยเหลือให้ได้เป็นเจ้าแผ่นดินจะแต่งตั้งให้เป็นอุปราช พองานส าเร็จกลับตั้งพระ
               อนุชาขึ้นเป็นอุปราช ๕. พระเจ้าสิริบุญสารทรงหวาดระแวงพระวอพระตา ว่ามีไพร่พลมากเกรงจะก่อกบฏ จึง

               ออกอุบายให้ทั้งพระวอพระตา มารักษาด่านบ้านหินโงม และขอบุตรธิดาของพระตามาเป็นมหาดเล็กและสนม
               เพื่อไว้เป็นตัวประกัน เหตุการณ์ในเอกสารใบลานฉบับนี้เมื่อเทียบและอนุมานช่วงเวลาแล้วมีความใกล้เคียงกับ

               เหตุการณ์ต่างๆในประวัติศาสตร์แต่มีความแตกต่างทางด้านเนื้อหาที่ลงรายละเอียดเกี่ยวกับสถานที่และการ
               เลือกเหตุการณ์และน าเสนอภาพพระวอพระตาให้เป็นวีรบุรุษ ขณะที่เอกสารพงศาวดารบางฉบับมีการกล่าวถึง

               พระวอพระตาว่าเป็นคนคนเดียวกัน แต่ในเอกสารใบลานฉบับที่ก าลังศึกษานี้กล่าวถึงพระวอพระตาว่าเป็นพ่อ
               ลูกกัน กล่าวคือพระตาเป็นพ่อของพระวอ นอกจากนี้การน าเสนอภาพพระวอพระตาในลักษณะของวีรบุรุษใน

               เอกสารใบลานมีความชัดเจนมากกว่าในเอกสารประวัติศาสตร์ อาจสังเกตได้จากค าเรียกขานชื่อว่า พระวอพระ
               ตา ในขณะที่เอกสารประวัติศาสตร์บางฉบับเรียกชื่อว่านายวอนายตา ซึ่งจะท าให้เห็นมุมมองของการรับรู้
               เรื่องราวเกี่ยวกับพระวอพระตา ทั้งที่เป็นเอกสารใบลานและในเอกสารประวัติศาสตร์

                       ทั้งนี้ เติม วิพาคย์พจนกิจ (๒๕๔๖) กล่าวไว้ในหนังสือประวัติศาสตร์อีสาน เกี่ยวกับเหตุการณ์ใน
               ช่วงเวลาใกล้เคียงกับเหตุการณ์การต่อสู้ของกลุ่มพระวอพระตา ช่วง พ.ศ. ๒๓๒๑ ปลายสมัยกรุงธนบุรีว่า

               สยามได้รวมอาณาจักรล้านช้างทั้งหลวงพระบางและเวียงจันทน์เข้าด้วยกัน กษัตริย์ทั้งสองอาณาจักรจึงมีฐานะ
               เป็นพระเจ้าประเทศราชขึ้นตรงต่อสยามตลอดเรื่อยมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (รัชกาลที่ ๑) มีการ

               กวาดต้อนผู้คนจากหัวเมืองต่างๆ ทางฝั่งซ้ายที่ขึ้นตรงต่อเวียงจันทน์มาไว้ฝั่งขวา เพื่อความสะดวกต่อการ
               ปกครอง ซึ่งในข้อมูลดังกล่าวยังมีนักวิชาการหลายท่านอธิบายในแนวทางเดียวกันว่า การเข้าตีเวียงจันทน์ของ

               พระเจ้าตากสิน ได้จับพระราชวงศ์ของเวียงจันทน์เป็นตัวประกัน คือพระเจ้านันทเสน ซึ่งเป็นราชบุตรของพระ
               เจ้าสิริบุญสาร และอีกองค์ชื่อ เจ้าอนุวงศ์ ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ เจ้า
               อนุวงศ์ ได้กระท าการเรียกร้องความเป็นธรรมกลับสู่เวียงจันทน์ ระหว่างสองฝั่งโขงจึงเกิดค าว่า “วีรบุรุษ” และ

               “กบฏ” ความขัดแย้งในวาทกรรมทางประวัติศาสตร์ในอนุภูมิภาคจึงผันผวนไปตามระบบการรับรู้ และความ
               ทรงจ าของผู้คนหลังการ “พยายาม” สร้างรัฐชาติและความเป็นชาติ

                       นอกจากนี้ข้อมูลในบันทึกพงศาวดารหัวเมืองมณฑลอีสานของ ปฐม คเนจร (๑๙๕๐ : ๑๒๗) ได้
               กล่าวถึง “จุลศักราช ๑๑๔๐ ปีจอ สัมฤทธิศก (พ.ศ. ๒๓๒๑ ค.ศ.๑๗๗๘) สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี โปรดเกล้าฯ



                                                 พระวอ-พระตาในเอกสารใบลาน
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31