Page 22 - ebook.msu.ac.th
P. 22
๑๓
พระวอพระตาในเอกสารใบลานและบริบททางประวัติศาสตร์
จากการศึกษาค้นคว้าข้อมูลในเอกสารพระวอพระตาฉบับนี้ พบว่า พระวอพระตาได้ถูกน าเสนอและ
ให้ความหมายจากผู้ประพันธ์ โดยผู้ประพันธ์ได้ศึกษาเรื่องราววีรกรรมของพระวอพระตามาพอสมควร ซึ่งผู้
ปริวรรตเรียบเรียงเห็นว่า เหตุการณ์วีรกรรมพระวอพระตาคงจะกระทบใจของผู้ประพันธ์ไม่น้อย จนน ามาสู่
การร้อยเรียงเป็นบทร้อยกรองท้องถิ่น โดยเรื่องราวพระวอพระตาที่ปรากฏอยู่ในรูปของใบลานฉบับของ
หอสมุดแห่งชาติลาวที่ผู้ปริวรรตได้ปริวรรตออกมา พบว่าเป็นการบันทึกเรื่องราวแบบจารีตโบราณของกลุ่มคน
ในวัฒนธรรมล้านช้าง มีเนื้อหากล่าวถึงการอพยพของกลุ่มพระวอพระตาจากเวียงจันทน์ข้ามแม่น้ าโขงมายัง
หนองบัวลุ่มภู (หนองบัวล าภู) แล้วถูกกองทัพเวียงจันทน์ตามมาท าสงคราม กระทั่งอพยพเรื่อยลงมาถึงบริเวณ
เขตเมืองจ าปาสัก
ทั้งนี้เนื้อหาพระวอพระตาในเอกสารใบลานฉบับนี้ผู้ปริวรรตเรียบเรียงได้แบ่งเนื้อหาออกเป็น ๓
ลักษณะ คือ ๑ บทบาทพระวอพระตาที่ถูกน าเสนอในด้านวีรกรรม ๒ การน าเสนอภาพภูมินิเวศน์ ๓ การ
น าเสนอยุทธกรรมของเวียงจันทน์ ซึ่งเหตุการณ์พระวอพระตาเกิดขึ้นในช่วงรัชสมัยพระเจ้าสิริบุญสารปกครอง
เวียงจันทน์ โดยสะท้อนภาพความสัมพันธ์ในลักษณะ “คู่ตรงข้ามเชิงอ านาจ” ระหว่างรัฐสยามกับรัฐล้านช้าง
เวียงจันทน์ โดยกลุ่มพระวอพระตาเป็นกลไกยึดโยงในความสัมพันธ์เชิงอ านาจ, สงคราม เผชิญแรงกดดัน
ก่อให้เกิดแรงเหวี่ยงทางสังคมภายในเวียงจันทน์ นอกจากนี้ยังได้แฝงสุนทรียภาพทางภาษาไว้อย่างน่าสนใจ
กล่าวคือมีการเลือกใช้ค าเพื่อน าเสนอภาพเหตุการณ์พระวอพระตา นอกจากนี้ยังพบมีการศึกษางานเขียน
เกี่ยวกับเอกสารประวัติเมืองอุบลราชธานีซึ่งเป็นการศึกษางานเขียนที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันกับพระวอพระตา
ฉบับนี้ ของ มานิต โศกค้อ (๒๕๕๖ : ๑) ซึ่งได้ศึกษาสุนทรียภาพในวรรณกรรมเรื่อง ประวัติเมืองอุบลราชธานี
ฉบับร้อยกรองอีสาน ปริวรรตโดย ปรีชา พิณทอง ซึ่งผลการศึกษาพบว่า มีการน าเสนอภาพความสุนทรียภาพ
ใน ๒ ลักษณะ คือ ๑. สุนทรียภาพในค า คือ ผู้ประพันธ์มีกลวิธีการสร้างสุนทรียภาพด้วย เสียงของค า การเล่น
ค า การสรรใช้ค า ๒.สุนทรียภาพในความ คือ ผู้ประพันธ์เลือกใช้กลวิธีการสร้างสุนทรียภาพในความ ๒
ลักษณะ คือ โวหารอุปมา และโวหารบุคลาธิษฐาน ด้านโวหารอุปมา มีการเลือกใช้ค าว่า ปาน คือ เทียม เพื่อใช้
ในการเปรียบเทียบ ส่วนโวหารบุคลาธิษฐาน พบว่าผู้ประพันธ์ได้น า สัตว์จ าพวก นก แมลง หรือธรรมชาติ เช่น
ลม ซึ่งไม่มีชีวิตจิตใจมาแสดงอากัปกิริยาประหนึ่งว่ามีชีวิตจิตใจเหมือนมนุษย์ ซึ่งถือได้ว่ามีการศึกษาในลักษณะ
ที่คล้ายคลึงกันกับเอกสารพระวอพระตาฉบับนี้ และสะท้อนให้เห็นว่าในวงวิชาการปัจจุบันได้มีความสนใจกับ
การศึกษาเอกสารของท้องถิ่นมากขึ้น
ทั้งนี้เรื่องราววีรกรรมพระวอพระตาที่ถูกเล่าขานกันมานานและเกี่ยวเนื่องกับระบบคิดของผู้ประพันธ์
กระทั่งเรื่องราวพระวอพระตาถูกน ามาสู่การร้อยเรียงเรื่องราวเป็นร้อยกรองท้องถิ่น หรือกลอนล า นอกจาก
ธรรมชาติของจิตใจมนุษย์ที่มีความต้องการพื้นฐานทางปัจจัยสี่แล้ว บุญเหลือ เทพยสุวรรณ (๒๕๒๒ : ๓) ได้
เสนอว่า มนุษย์ยังต้องการให้ของใช้ของตนมีความสวยงาม ต้องการสุนทรียภาพ นอกจากนั้นมนุษย์ยังอยากใช้
พระวอ-พระตาในเอกสารใบลาน