Page 25 - ebook.msu.ac.th
P. 25
๑๖
สร้างบ้านเรือนขึ้นที่นี่ เรียกชื่อว่าหนองบัวลุ่มภูตามสภาพภูมินิเวศน์ (เอกสารประวัติศาสตร์บางฉบับเรียก นคร
เขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน) แล้วได้แบ่งคนออกเป็น ๓ กลุ่ม กลุ่มที่ ๑ อยู่ที่หนองบัวลุ่มภู มีพระวอพระตาเป็น
ผู้น า กลุ่มที่ ๒ มีท้าวนามเป็นผู้น า ตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณภูเวียง (เขตจังหวัดขอนแก่นปัจจุบัน) และกลุ่มที่ ๓ มี
หลวงราชโภชนัยเป็นผู้น า ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ผ้าขาว พันนา (เขตจังหวัดสกลนครปัจจุบัน) ขณะพระวอพระตา
พักครัวอยู่หนองบัวลุ่มภูราว ๗ ปี ก็มีการสู้รบกับฝ่ายเวียงจันทน์อยู่หลายครั้ง เนื่องจากเกรงว่าจะต้านก าลัง
ฝ่ายเวียงจันทน์ไม่ไหวจึงน ากองครัวเดินทางอพยพลงไปทางทิศใต้ กระทั่งถึงบ้านดู่บ้านแก ในเขตเมืองจ าปาสัก
มีการแบ่งผู้คนออกเป็น ๓ กลุ่มตามเดิม กลุ่มพระวอพระตาอยู่บริเวณบ้านดู่บ้านแก (เขตเมืองจ าปาสัก สปป.
ลาวปัจจุบัน) กลุ่มหลวงราชโภชนัยตั้งบ้านอยู่ที่บริเวณล าห้วยเสียวบรรจบกับล าชี ชื่อบ้านดวนใหญ่ (เขต
จังหวัดศรีสะเกษปัจจุบัน) และกลุ่มท้าวนามตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณเขตเมืองร้อยเอ็ด ในแต่ละครั้งของการ
อพยพนั้นจะเกิดจากการตามมารุกรานของฝ่ายเวียงจันทน์อยู่เป็นระยะ เพราะเวียงจันทน์เกรงว่าพระวอพระ
ตาอาจซ่องสุมก าลังไพร่พลเพื่อเข้าโจมตีเวียงจันทน์ ซึ่งสาเหตุส าคัญที่ท าให้พระวอพระตาไม่ยอมอยู่ภายใต้
ปกครองเวียงจันทน์
ในฉบับนี้ไม่ได้กล่าวถึงสาเหตุเริ่มตนของการอพยพ โดยผู้ปริวรรตเรียบเรียงได้ค้นคว้าข้อมูลจากใบ
ลานฉบับอื่นๆที่มีเนื้อหาที่คล้ายคลึงกัน คือเอกสารใบลานเรื่องพื้นเมืองอุบล ประวัติเมืองหนองบัวล าภู ฉบับ
ของพระครูพิพัฒน์วิทยาคม ได้กล่าวถึงสาเหตุการอพยพของพระวอพระตา ว่ามีสาเหตุมาจากความผิดใจกัน
ของกษัตริย์เวียงจันทน์กับพระตา กษัตริย์เวียงจันทน์ต้องการบุตรหญิง-ชายของพระตาไปเป็นข้ามหาดเล็กและ
เป็นนางสนม ท าให้พระตาไม่พอใจเป็นอย่างมากจึงรวบรวมไพร่พลอพยพออกจากเวียงจันทน์ ทั้งนี้เนื้อหาใน
ตอนท้ายของเอกสารใบลานพระวอพระตาฉบับของหอสมุดแห่งชาติลาวนี้ สิ้นสุดที่กองครัวพระวอพระตา
เดินทางมาตั้งอยู่ที่บ้านดู่บ้านแกในเขตเมืองจ าปาสัก เป็นเวลา ๑๐ ปีพร้อมระบุปีจุลศักราช ๑๑๓๐ ตรงกับ
พ.ศ. ๒๓๑๑ (ค.ศ.๑๗๖๘) อย่างไรก็ตามแม้การเล่าเรื่องพระวอพระตาในเอกสารฉบับนี้จะจบลงเพียงเท่านี้ แต่
ผู้ปริวรรตเรียบเรียงก็ได้ศึกษาเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์จากเอกสารฉบับอื่นๆ ซึ่งภายหลังกลุ่มพระวอพระ
ตาได้เข้าอยู่ภายใต้การปกครองของกรุงธนบุรีเรื่อยมาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ในสมัยท้าวค าผง บุตรพระตา ซึ่ง
ต่อมาเป็นผู้ก่อตั้งเมืองอุบลราชธานีขึ้น
ความแตกต่างของพระวอพระตาในเอกสารใบลานและบันทึกทางประวัติศาสตร์
พระวอพระตาในเอกสารใบลานฉบับนี้มีข้อสังเกตว่าผู้ประพันธ์ได้มีการน าเรื่องพระวอพระตาใน
ลักษณะของการประกอบสร้างขึ้นมาในยุคหลัง มีการบรรยายเรื่องราวอิงไปกับเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์
และสถานที่จริงที่มีปรากฏอยู่ในบริเวณภาคอีสานของไทยปัจจุบัน และยังชี้ให้เห็นถึงการไม่อ่อนน้อมต่อ
เวียงจันทน์ของพระวอพระตาและคนกลุ่มอื่นๆ ซึ่งมีความสอดคล้องกับค ากล่าวในวงวิชาการยุคปัจจุบันที่ว่า
อีสานในอดีตมีวัฒนธรรมร่วมกับลาว เรียกว่า วัฒนธรรมล้านช้าง การน าเสนอตัวตนของพระวอพระตาใน
ใบลานฉบับนี้อาจกล่าวได้ว่า เป็นการน าเสนอภาพพระวอพระตาในด้านบวกเป็นส่วนมาก ด้วยเหตุแห่ง
การเมืองการปกครองที่ขัดแย้งในเวียงจันทน์ ได้ขับเน้นให้การน าเสนอบทบาทพระวอพระตากลายเป็นวีรบุรุษ
ในเอกสารใบลาน
พระวอ-พระตาในเอกสารใบลาน