Page 30 - ebook.msu.ac.th
P. 30
๒๑
เย็นดั่งบุญคุณเจ้า ของพระตามาเลื่อม
อันว่า ฝูงไพร่น้อย ก็ยอย้องซ่อยซู เจ้าเอย
(ผูกที่ ๔ ลานที่ ๘ หน้าที่ ๒)
จากตัวบทที่ยกมาผู้ประพันธ์ได้กล่าวอ้างถึงพระตาและความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่สร้างบ้านเมืองแห่ง
ใหม่ เป็นการกล่าวยกย่องเชิดชูพระตาในฐานะวีรบุรุษ มีการน าเสนอภาพพระตาเป็นผู้น าในการปกครองกอง
ครัว โดยใช้โวหารเปรียบเทียบ ค าว่า ดั่ง เปรียบพระตาเป็นความเย็นที่ดับร้อน เย็นดั่งบุญคุณเจ้า ของพระตา
มาเลื่อม (เหลื่อม,ทับ,คลุม,ล้ า) โดยได้น าเสนอบทบาทของพระตาเกี่ยวกับความเสียสละและห่วงใยไพร่พล ซึ่ง
ผู้ประพันธ์เน้นย้ าภาพความเป็นเจ้านายผู้เสียสละของพระตา สะท้อนความคิดของผู้ประพันธ์ที่พยายามสรรค า
เพื่อสร้างความรู้สึกต่อผู้อ่าน เกี่ยวกับความสามัคคีที่แสดงให้เห็นถึง บทบาทหน้าที่ผู้น าในการปกครอง
อาจกล่าวได้ว่า หากศึกษาการน าเสนอบริบททางประวัติศาสตร์การรับรู้ของผู้คนในแต่ละยุคแล้ว เส้น
แบ่งเขตประเทศ กับเส้นแบ่งเขตวัฒนธรรม มีความแตกต่าง หากแต่การน าเสนอเรื่องราวพระวอพระตาถูก
สร้างขึ้นในยุคก่อนมีการแบ่งเขตประเทศระหว่างสองฝั่งโขง ฉะนั้น พระวอพระตาในการรับรู้เรื่องราวของ
ประวัติศาสตร์และวรรณกรรมจึงไม่สามารถแบ่งเขตแดนตามเส้นแบ่งเขตประเทศได้ แต่หากมองในมุมมองทาง
พรมแดนวัฒนธรรมการรับรู้วรรณกรรมสองฝั่งโขง อาจกล่าวได้ว่ามีการรับรู้ร่วมกัน การน าเสนอภาพพระวอ
เป็นนักรบผู้กล้าหาญ ยอมเสียสละเพื่อความอยู่รอดปลอดภัยของไพร่พลและครอบครัว ที่อยู่ในความ
รับผิดชอบของตน ทั้งนี้ผู้ประพันธ์ได้ใช้ค าว่า คัน (ครั้น) ที่หมายถึงเงื่อนไข แทนค าว่า ถ้า ดังจะเห็นได้จาก
ตัวอย่างในตัวบท
คันหากมีเหตุฮ้อน ประการสิ่งสันใด
ให้ฮีบขับพาชี บอกเหตุการณ์อย่าช้า
(ผูกที่ ๑ ลานที่ ๔ หน้าที่ ๒)
จากตัวบทเป็นการน าเสนอภาพของพระตาที่มีความห่วงใยต่อไพร่พล เมื่อครั้งที่อพยพออกมาจาก
เวียงจันทน์มาอยู่ที่หนองบัวลุ่มภู ได้แบ่งคนออกเป็นสามกลุ่ม โดยกล่าวถึงหากมีเหตุการณ์ต่างๆเกี่ยวกับการ
ตามรุกรานของเวียงจันทน์ ให้รีบขี่ม้าเพื่อเตือนให้คนในแต่ละกลุ่มเตรียมพร้อม จะเห็นได้ว่า ผู้ประพันธ์
น าเสนอโดยการสรรค าที่เป็นค าถามที่ห่วงใย เลือกใช้ค าว่า “คันหาก” ถ้าหากมีเหตุเดือดร้อนประการใดให้
บอกกล่าวล่วงหน้า สะท้อนถึงน้ าเสียงแสดงความห่วงใยของผู้ใหญ่มีอ านาจที่มีต่อไพร่พล
พระวอ-พระตาในเอกสารใบลาน