Page 40 - ebook.msu.ac.th
P. 40

ส่วนลักษณะเฉพาะทางด้านสังคมนั้น ในอดีตสังคมอีสานจริงๆแล้ว จะแยกครอบครัวใหม่ออกจาก
               ครอบครัวรวมของพ่อแม่ไปอยู่ตูบต่อเล้าหรือเหย้านั้น ไม่ใช่เครื่องแสดงฐานะทางเศรษฐกิจแต่อย่างใด แต่เป็น
               การแยกออกไปตามสภาพสังคมที่เหมาะสมกับขนาดของครอบครัว ส่วนระยะเวลาในการแยกตัวออกไปเป็น

               ครอบครัวใหม่นั้น จะสอดคล้องกับค่านิยมของสังคมมากกว่า และที่สำคัญก็คือ จะมีการสร้างความเชื่อเรื่อง
               อำนาจของผู้นำครอบครัวในรูปของสัญลักษณ์ที่เรียกว่า เปิง โดยจะมีการยกหิ้งเปิงไว้ที่ฝาด้านหลังที่เรียกกันว่า

               หิ้งเปิง ซึ่งจะอยู่ในห้องหนึ่งทางด้านทิศตะวันออกหรือทิศเหนือ โดยจะยังไม่ถือและยังไม่เรียกว่าห้องเปิงเท่านั้น


                      ลักษณะรูปแบบของเหย้า


                      จากการสำรวจศึกษาภาคสนามในภาคอีสานหลายจังหวัดพบว่า เหย้าทั่วไปจะมี ๒ แบบ ใหญ่ๆ โดยยึด

               โครงสร้างที่เรียกว่า ดั้ง เป็นหลักสำคัญในการแบ่ง คือ


                      ๑.  เหย้าแบบดั้งต่อดิน
                      ๒.  เหย้าแบบดั้งตั้งคาน



                      ก็คงต้องขอชี้แจงไว้ตรงนี้ก่อนว่า สาเหตุที่ต้องใช้ ดั้ง เป็นหลักในการแบ่งแยกรูปแบบของเหย้านั้น
               ก็เพราะว่า จากการศึกษาสำรวจพบว่าในหลายๆ ท้องที่มักจะเรียกเหย้าแบบที่ ๑ ว่า ดั้งต่อดิน เสมอ ในที่นี้
               จึงได้ยึดเอาคำเรียกของชาวบ้านอีสานมาเป็นหลักในการเรียกและศึกษา ส่วนเหย้าแบบที่ ๒ นั้น ไม่ปรากฏ

               ชื่อเรียกโดยเฉพาะ คือส่วนใหญ่มักจะเรียกกันแต่เพียงว่า เหย้า เท่านั้น แต่เมื่อพิจารณาจากการใช้ดั้งแล้ว
               ก็เห็นได้ค่อนข้างชัดเจนว่า เหย้าแบบที่ ๒ มีความแตกต่างไปจากแบบที่ ๑ และก็แตกต่างจากเรือนใหญ่ทั่วไป

               ที่สร้างด้วยไม้จริงขนาด ๓ ห้องเสาด้วย คือเหย้าแบบที่ ๒ จะใช้ดั้งยาวตีแนบข้างขื่อทอดลงมาตั้งบนคานหรือ
               ตั้งบนปลายพื้นเรือนที่วางอยู่บนหลังคาน และมักจะต้องตั้งบนพื้น ในตำแหน่งที่ตรงกับแนวคานเสมอด้วย


                      ด้วยเหตุนี้ เพื่อความสะดวกในการศึกษาทำความเข้าใจ ในที่นี้จึงเรียกเหย้าแบบที่ ๒ ว่า เหย้าแบบดั้ง

               ตั้งคาน ดังกล่าวแล้ว หรือถ้าจะใช้คำเรียกแบบชาวบ้านอีสานว่า เหย้าแบบดั้งตั้งขาง ก็ได้เช่นกัน


                      เหย้าแบบดั้งต่อดิน กล่าวได้ว่าเหย้าแบบดั้งต่อดิน เป็นที่พักอาศัยที่อยู่ในระยะเริ่มแรกของการแยก

               ครอบครัวใหม่ ซึ่งบางคนอาจจะแยกออกไปอยู่ตูบต่อเล้าก่อน แล้วค่อยขยับขยายสร้างเหย้าแบบดั้งต่อดิน
               ภายหลัง หรือบางครอบครัวที่มีความพร้อมก็อาจจะแยกออกไปสร้างเหย้าแบบดั้งต่อดินเลยก็ได้ เพราะเหย้า
               แบบดั้งต่อดินเป็นที่พักอาศัยที่สามารถสร้างได้ง่าย ส่วนใหญ่มักสร้างเสร็จภายในวันเดียวได้เลย ถ้ามีวัสดุ

               อุปกรณ์พร้อม และสามารถสร้างได้ด้วยแรงงานเพียง ๒ - ๓ คนเท่านั้น ฉะนั้นแรงงานของครอบครัวเดิมที่เคย
               อยู่กันมาคือ ตัวเองกับพ่อเฒ่าหรือพ่อตาและเมีย ก็สามารถช่วยกันสร้างได้



                      ปกติเหย้าแบบดั้งต่อดินมักจะมีขนาดเล็กเพียง ๒ ห้องเสา ขนาดกว้างยาวห้องเสาละประมาณ ๒ เมตร
               เท่านั้น แต่ก็เคยมีพบเหย้าแบบดั้งต่อดินที่มีขนาด ๓ ห้องเสาอยู่บ้างเล็กน้อย เพราะเจ้าของต้องการประโยชน์

               ใช้สอยในครอบครัวเพิ่มขึ้นเฉพาะรายเท่านั้น แต่โครงสร้างรวมๆ และลักษณะทั่วไปก็เหมือนเหย้าแบบดั้งต่อดิน
               ทั่วไปนั้นเอง


                                                          38
   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45