Page 39 - ebook.msu.ac.th
P. 39

ที่ต้องมีการกำหนดกันเช่นนี้ก็เพราะว่า ตัวเรือนใหญ่หรือเรือนประธานของชาวอีสาน จะมีห้องอยู่เพียง
                ๓ ห้องเท่านั้น คือห้องเปิง ซึ่งเป็นห้องผีหรือห้องพระที่ห้ามเขยเข้าไปเด็ดขาด และห้องนอนของพ่อแม่กับห้องส้วม
                ที่เป็นห้องนอนของลูกสาวและลูกเขยโดยเฉพาะ ครั้นต่อจากเรือนหรือต่อห้องเพิ่มให้เขยใหม่อยู่ร่วมเรือนด้วย

                เหมือนคนภาคกลาง โดยเขยเก่าไม่ต้องแยกออกไป ก็มีภาษิตโบราณบอกไว้เป็นเชิงห้ามเอาเขย ๒ คน เข้ามา
                อยู่ร่วมเรือนเดียวกันอีกว่า นาสองเหมือง เมืองสองเจ้า เหย้าสองเขย ถือว่าเป็นคะลำ คือเป็นข้อห้าม ฉะนั้น

                เขยเก่าจึงจำเป็นต้องแยกครอบครัวออกไป


                       ถ้าเป็นกรณีที่ต้องแยกครอบครัวออกไปตามเวลาและเหตุการณ์ที่เหมาะสมแล้ว ส่วนใหญ่ก็มักจะ
                สามารถสะสมวัสดุก่อสร้างที่อยู่อาศัยใหม่ของตัวเองได้ หรือไม่เช่นนั้นพ่อแม่ก็อาจจะช่วยเหลือวัสดุเพิ่มเติมให้

                บ้างตามกำลังและความต้องการ แต่ส่วนใหญ่ครอบครัวใหม่ก็มักจะสร้างได้เพียงที่อยู่อาศัยขนาดพออยู่อาศัย
                กันได้ตามประสาพ่อ - แม่ และลูกที่ยังเล็กอยู่ คือถ้าวัสดุไม้ก่อสร้างมีไม่มากนักก็จะสร้างที่อยู่ใหม่ขนาดเล็ก

                คล้ายกระท่อมหรือกระต๊อบ ที่หลายแห่งในภาคอีสานเรียกว่า ตูบเหย้า แต่ถ้ามีวัสดุไม้ก่อสร้างมากพอสมควร
                ก็อาจจะสร้างขนาดใหญ่ขึ้นและแข็งแรงถาวรกว่าตูบเหย้าซึ่งมักจะมีขนาดเพียง ๒  X ๒ ห้องเสา ที่เรียกกันมา
                แต่เดิมว่า เหย้า



                       ส่วนในกรณีที่จำเป็นต้องแยกครอบครัวอย่างกะทันหัน หรือมีวัสดุไม้ก่อสร้างไม่เพียงพอที่จะสร้างที่อยู่
                ให้เต็มหลังได้ ก็อาจจะแยกครอบครัวออกไปอยู่เพิงพัก ที่ต่อยื่นออกไปทางด้านข้างเล้าข้าวของพ่อ - แม่ อยู่กันไป

                พลางๆ ก่อน เพิงข้างเล้าข้าวที่ว่านี้ชาวอีสานเรียกว่า ตูบต่อเล้า หรือไม่ก็อาจจะขอแรงพรรคพวกเพื่อนบ้าน
                มาช่วยกันสร้างตูบเหย้าง่ายๆ อยู่กันไปก่อนก็มี เพราะการสร้างตูบเหย้าทั่วไปนั้น จะใช้วัสดุไม้ง่ายๆ ประเภท

                กิ่งไม้ไม่ใหญ่นัก และใช้แรงงานช่วยกันไม่กี่คนก็สามารถสร้างเสร็จได้ภายในวันเดียว แล้วจากนั้นจึงค่อยใช้เวลา
                และแรงงานสะสมวัสดุ เพื่อสร้างที่อยู่อาศัยใหม่ที่เรียกว่าเหย้าต่อไป



                       ลักษณะเฉพาะของเหย้า


                       ถ้าพิจารณาลักษณะของเหย้าให้เห็นได้ในระดับหนึ่งแล้ว ก็คงต้องแยกการพิจารณาออกเป็น ๒ ด้าน
                คือ ลักษณะเฉพาะทางกายภาพ ในแง่ของรูปแบบโครงสร้าง และลักษณะเฉพาะทางด้านสังคม เศรษฐกิจที่
                สัมพันธ์กับรูปแบบโครงสร้างของเหย้า



                       ลักษณะเฉพาะด้านกายภาพ จะเห็นได้ว่า เหย้าแบบหนึ่งที่กล่าวมาแล้วที่เรียกว่า ตูบเหย้า นั้นแม้จะมี
                ลักษณะคล้ายเรือนเครื่องผูกประเภทกระท่อม กระต๊อบก็ตาม แต่ก็จะมีข้อแตกต่างอยู่ตรงที่ ตูบเหย้าจะนิยม

                ใช้ไม้จริงกะเทาะเปลือกทำโครงสร้างเป็นหลักแทนการใช้ไม้ไผ่ และขณะเดียวกันก็ยังมีพบหลักฐานอีกด้วยว่า
                มีเหย้าอีกแบบหนึ่งที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะแตกต่างไปจากเรือนเครื่องผูกทั่วไปโดยสิ้นเชิง เพราะจะมีลักษณะ

                คล้ายเรือนใหญ่ที่สร้างด้วยไม้จริงทั้งหลัง ทั้งส่วนประกอบโครงสร้างหลายส่วนก็คล้ายกันกับเรือนใหญ่ด้วย
                เพียงแต่ว่าเหย้าไม้จริงดังกล่าวนี้ ส่วนใหญ่มักจะสร้างประกอบส่วนเพียงหยาบๆ เท่านั้น และจะมีลักษณะเฉพาะ
                ของตัวเองที่เห็นได้ชัดเจนมากคือ เหย้าไม้จริงนี้จะมีขนาดเพียง ๒ ห้องเสา (๒ X ๒ ห้อง) จึงทำให้เหย้าแบบนี้

                มีขนาดเล็กกว่าเรือนใหญ่เล็กน้อย เพราะเรือนใหญ่ทั่วไปจะมีขนาดยาว ๓ ห้องเสา



                                                           37
   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44