Page 54 - ebook.msu.ac.th
P. 54

ส่วนความคงทนถาวรและความประณีตก็จะขึ้นอยู่กับความต้องการส่วนตัวและการใช้ประโยชน์เช่นกัน
               แต่อาจจะมีเหตุผลอื่นประกอบด้วยบ้างคือ ระยะห่างไกล - ใกล้ ระหว่างหมู่บ้านกับเถียงนา เพราะเถียงนา
               ที่อยู่ห่างไกลหมู่บ้านจะต้องใช้อาศัยอยู่กินหลับนอนค้างคืนที่เถียงนาเป็นเวลาต่อเนื่องกันค่อนข้างยาวนานทั้ง

               ครอบครัว จึงมักจะมีความจำเป็นต้องสร้างให้มีขนาดใหญ่และมีความคงทนถาวรพอที่จะอยู่กันได้อย่างสะดวก
               สบายพอสมควรแก่ความจำเป็นตลอดฤดูการทำนา ซึ่งหลายแห่งจะมีการกั้นฝาเถียงนาให้มิดชิด ด้วยเพราะ

               นอกจากจะคุ้มแดดโดยการมุงหลังคาแล้ว ยังจะต้องให้สามารถคุ้มฝนได้ระดับหนึ่งด้วย และถ้ายกพื้นสูงก็จำเป็น
               จะต้องทำบันไดขึ้นลงเหมือนเรือนพักอาศัยทั่วไป


                      กรณีเช่นนี้ลักษณะสภาพของเถียงนาก็จะเริ่มเปลี่ยนสภาพเป็น “เหย้า” หรือบางครั้งบางแห่งก็อาจจะ

               เรียกว่า “เถียงเหย้า” ที่พร้อมจะอยู่อาศัยอย่างถาวรตลอดปีได้ และถ้ามีกลุ่มเถียงนาของคนอื่นขยับโยกย้ายมา
               สร้างอยู่ใกล้ๆ ร่วมกันมากขึ้น ก็จะมีการพัฒนาให้ถาวรมั่นคงมากยิ่งขึ้น จนกระทั่งมีการเปลี่ยนแปลงโดยการ

               รื้อเหย้าหรือเถียงนาเหย้าเพื่อสร้างเป็น “เรือนใหญ่” ขึ้นใหม่ เป็นการเตรียมที่อยู่อาศัยเพื่อรับสภาพสังคมการ
               อยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวรวม (Stem - Family) จนกระทั่งกลายเป็นชุมชนใหม่ในที่สุด



                      จากการศึกษาสำรวจลักษณะและขนาดของเถียงนาทั่วๆ ไปในอีสานพบว่าเราอาจแบ่งเถียงนาที่สัมพันธ์
               กับความจำเป็นเรื่องประโยชน์ใช้สอยออกได้เป็น ๒ ลักษณะใหญ่ๆ คือ ๑. ลักษณะชั่วคราว ๒. ลักษณะ
               ค่อนข้างถาวร




               เถียงนาลักษณะชั่วคราว


                      มักจะพบเห็นได้ทั่วไป โดยเฉพาะในกรณีรายที่มีนาอยู่ใกล้บ้านสามารถเดินทางไปกลับได้ง่าย ไม่เสีย

               เวลามากนัก เพราะจะใช้อาศัยเฉพาะเวลากลางวันที่ออกไปทำนา ส่วนมากมักจะมีขนาดค่อนข้างเล็กเสาหลัก
               ๔ ต้น มักทำเป็นห้องเดียวโล่งตลอด ยกพื้นเถียงง่ายๆ บางเถียงก็จะไม่ยกพื้นเพราะใช้วิธีปรับดินให้เรียบเป็นพื้น
               เลยก็มี บางครั้งก็จะใช้แคร่ไม้ตั้งไว้ใต้หลังคาคลุมก็มีเช่นกัน ส่วนบางคนก็อาจจะต่อเสาแคร่ไม้ให้สูงขึ้นทำให้เป็น

               โครงสร้างหลังคามุงด้วยหญ้าคาหรือหรือหญ้าแฝกตามที่หาได้ เวลาที่ต้องการใช้ก็จะช่วยกันยกออกไปหรือ
               ยกใส่ล้อรถเข็นไปตั้งใต้ร่มไม้ดอนหัวนาจนเรียกกันเล่นๆ ว่าเถียงนาเคลื่อนที่ก็มี




               เถียงนาลักษณะค่อนข้างถาวร


                      ส่วนใหญ่มักจะสร้างในนาที่อยู่ไกลจากหมู่บ้านมากๆ ไม่สะดวกต่อการเดินทางไปกลับในแต่ละวัน
               เพราะจะมีสัมภาระและสัตว์ใช้งานไปด้วยทำให้ลำบากยุ่งยากเป็นภาระในการเดินทาง จึงมักจะสร้างค่อนข้าง

               ถาวรเพื่อใช้อาศัยอยู่กินหลับนอนติดต่อกันนานๆ เกือบตลอดฤดูทำนา หลายแห่งก็จะกั้นฝาค่อนข้างมิดชิดด้วย
               แต่จะไม่กั้นห้อง เถียงนาแบบนี้มักจะมีขนาดเสา ๖ ต้น คือจะมี๒ ห้องเสา มีทั้งใช้ไม้จริงเนื้ออ่อนและเนื้อแข็ง
               ทำโครงสร้างทั้งหมด ยกพื้นด้วยกระดานไม้จริง ส่วนหลังคาจะมุงด้วยหญ้าคา หญ้าแฝก หรือแผ่นกระเบื้องไม้

               (แป้นมุงหรือแป้นเกล็ด) และสังกะสีที่นิยมกันมากในภายหลัง




                                                          52
   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59