Page 52 - ebook.msu.ac.th
P. 52

เกี่ยวกับความเชื่อดังกล่าวนี้เป็นลักษณะการเล่าสืบทอดกันมาว่าแต่ก่อนเมื่อจะสร้างเถียงนาจะมีการ
               ทำพิธีบน เซ่นไหว้ผีวิญญาณเพื่อบอกกล่าวเจ้าที่เจ้าทาง ขออนุญาตปลูกสร้างเถียงนาก่อน และบางแห่งก็จะมี
               การสมมติเหตุการณ์ขึ้น เป็นการถือเคล็ดก่อนปลูกสร้างเถียงนาโดยสมมติให้คน ๒ คน ออกไปในนาตรงที่ปลูก

               สร้าง แล้วให้ทั้งสองถกเถียงกันอย่างรุนแรง ทำเสียงให้ดังมากๆ หรืออาจจะทำให้ถึงขั้นต่อสู้ชกต่อยกันเลยก็ได้
               ทั้งนี้ ก็เพื่อให้เกิดเป็นเรื่องร้ายแรง จะได้เป็นการรบกวนไปถึงผีป่าหรือวิญญาณที่อยู่อาศัยอยู่บริเวณนั้นจนเกิด

               ความรำคาญหรือเกิดความกลัว จนต้องหลบหนีไปอยู่ที่อื่น ซึ่งเชื่อกันว่าจะทำให้บริเวณที่จะสร้างเถียงนานั้น
               เกิดความสงบ ร่มเย็น ปราศจากภัยอันตรายต่างๆ จากนั้นจึงเริ่มลงมือปลูกสร้างเถียงนาต่อไป


                      นอกจากนี้บางแห่งก็ยังมีความเชื่อในการสร้างแตกต่างออกไปอีกก็มีบ้าง เช่น จะไม่นิยมสร้างหันหน้า

               เถียงนาไปทางทิศตะวันตก ด้วยความเชื่อถือว่าเป็นทิศผีตายก็มีอยู่บ้าง


                      ที่สำคัญยิ่งก็คือ ความเชื่อที่สืบทอดกันมาแต่อดีตว่า ถ้าใครไม่มีและไม่สร้างเถียงนาเป็นของตนเอง

               แล้ว คนอีสานบางกลุ่มจะมองว่าคนๆ นั้น จะเป็นคนทุกข์ยาก ยากจนในอนาคต และมักจะไม่ได้รับการ
               ยอมรับนับถือจากผู้คนในสังคมชุมชนนั้นๆ ไปเลยก็ได้



                      ด้วยเหตุนี้เถียงนาจึงเป็นสถาปัตยกรรมสิ่งปลูกสร้างที่จำเป็นของชาวอีสานทุกครอบครัวที่ประกอบ
               อาชีพเกษตรกรรมทำนา ซึ่งจะต้องสร้างไว้ในที่นาของตนเสมอ ไม่ว่าที่นาของตนจะอยู่ใกล้หรือไกลจากชุมชน

               ก็ตาม


               เถียงนาอยู่ที่ไหน?



                      ชื่อเถียงนาก็คงจะเป็นคำตอบได้อย่างกว้างๆ และค่อนข้างจะชัดเจนแล้วว่า เถียงนาจะต้องอยู่ในนา
               อย่างแน่นอน ถ้าอยู่ในไร่ก็ต้องเรียกว่าเถียงไร่หรือเถียงไฮ่ หรืออาจจะเรียกเป็นชื่ออื่นๆ แตกต่างกันไปตาม

               ท้องถิ่นดังกล่าวแล้ว


                      จากการสังเกตทั่วๆ ไป พบว่าปกติชาวอีสานไม่ค่อยจะเลือกตำแหน่งที่จะปลูกสร้างเถียงนาเท่าใดนัก

               แต่ก็มีพบว่าเถียงนาจำนวนไม่น้อย มักจะนิยมปลูกกันที่เนินสูงในที่นาของตน เพราะจากการสัมภาษณ์เกี่ยวกับ
               เรื่องการหักร้างถางพงจับจองพื้นที่ป่าเพื่อทำนาทำไร่ในอดีตนั้น มักจะมีการปรับพื้นที่ให้เป็นพื้นที่ราบเพื่อทำนา

               ในลักษณะที่ชาวอีสานเรียกกันว่า “ส้าวนา” ซึ่งจะต้องอาศัยเวลาแบบค่อยเป็นค่อยไปหลายปี ในการตัดโค่น
               ต้นไม้และก่นรากต้นไม้ ถึงประมาณ ๑-๓ ปี


                      ด้วยวิธีการเช่นนี้ ส่วนใหญ่จึงมักจะต้องมีเนินดินของต้นไม้และตอไม้เหลืออยู่ เพื่อรอการปรับต่อไป

               เป็นหย่อมๆ ในที่นาจับจองทั้งกลางนาและริมนากระจายกันอยู่ทั่วๆ ไป พื้นที่สูงในนาดังกล่าวนี้มักจะเป็นที่
               ว่างเปล่าใช้ทำประโยชน์ปลูกข้าวไม่ได้ และที่สำคัญก็คือระหว่างที่ทำนาจะเป็นฤดูฝนน้ำจะท่วมพื้นที่นาทั่วไป

               ทั้งหมด ฉะนั้นเนินดินในที่นาจึงสามารถใช้เป็นที่พักอาศัยได้ดีในระหว่างการทำนา เพราะจะไม่มีปัญหาเรื่อง
               น้ำท่วม



                                                           50
   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57