Page 56 - ebook.msu.ac.th
P. 56

กอดคอเสา หรือ เส – เป็นโครงสร้างที่อยู่ในแนวเดียวกันกับขื่อ หรืออาจจะอยู่ในระดับสูง - ต่ำติดขื่อ
               กับได้ประกอบเข้ากับเสาเช่นเดียวกันกับขื่อมักจะมีอยู่ทุกหลังเพราะเป็นโครงสร้างที่จะรับปลายสะยัวหรือ
               จันทันที่พาดลงมาจากอกไก่



                      ดั้ง – ถ้าเป็นเถียงนาลักษณะชั่วคราวขนาดเล็กจะมีทั้งชนิดดั้งตั้งขื่อและดั้งต่อดิน ถ้าเป็นแบบดั้งต่อดิน
               ที่มีขื่อก็จะบากเสาดั้งตีแนบกับขื่อขึ้นไปรับยอดจั่วส่วนดั้งตั้งขื่อส่วนใหญ่มักจะใช้วิธีเอาตีนดั้งตีแนบกับขื่อเลย



                      อกไก่ – จะมีทั้งที่ใช้กิ่งไม้ในกรณีที่เป็นเถียงนาชั่วคราวขนาดเล็ก แต่ถ้าเป็นเถียงนาลักษณะค่อนข้าง
               ถาวรส่วนใหญ่มักจะใช้ไม้จริง การวางไม้อกไก่จะมีหลายลักษณะด้วยกันคือ ถ้ามีเสาดั้งรับก็จะวางอกไก่บน

               หัวเสาดั้งเหมือนเหย้าและเรือนทั่วไป แต่ถ้าไม่มีเสาดั้งรับก็จะตีอกไก่แนบกับหัวสะยัวหรือจันทัน เหมือนจะให้
               อกไก่เป็นตัวเกาะยึดของสะยัวเท่านั้นจึงดูคล้ายกับว่าอกไก่จะลอยอยู่เฉยๆ เพราะประโยชน์ในการรับน้ำหนัก
               ไม่มากนัก



                      สะยัว หรือ จันทัน – จะมีใช้ทั้งที่ใช้กิ่งไม้เล็กๆ และไม้จริงและไม้ไผ่ขนาดเล็ก ส่วนมากจะมีสะยัว
               พรางเพราะวัสดุส่วนใหญ่ไม่ค่อยแข็งแรงมากนัก จึงมักต้องใช้สะยัวพรางเพื่อความคงทนแข็งแรงที่จะรับน้ำหนัก

               หลังคาถ้าเป็นเถียงนาแบบค่อนข้างถาวรมักจะใช้ไม้จริงเสมอ เพราะสามารถรับน้ำหนักหลังคาวัสดุต่างๆ ได้
               หลายอย่างเกือบทุกชนิดที่ต้องการจะใช้



                      หลังคา – เถียงนาส่วนใหญ่จะใช้วัสดุทุกอย่างเท่าที่จะหาได้ และเห็นว่าจะสามารถเอามาทำได้ เช่น
               หญ้าคา หญ้าแฝก แป้นมุงหรือแป้นเกล็ด (กระเบื้องไม้) ตลอดจนสังกะสี และผ้าพลาสติก


                      เรื่องวัสดุที่ใช้สร้างเถียงนานี้ บางทีก็มีการใช้วัสดุที่เหลือใช้จากการสร้างบ้านเรือนที่อยู่อาศัยในหมู่บ้าน

               หรือวัสดุที่เหลือเมื่อมีการรื้อเรือนเดิมเพื่อสร้างใหม่มาผสมกับวัสดุที่หาเพิ่มเติมใหม่ด้วย



               ประโยชน์และการเปลี่ยนแปลงของเถียงนา : จุดเริ่มต้นของชุมชนใหม่


                      จากที่กล่าวมาถึงแง่มุมต่างๆ ของเถียงนา ย่อมจะเห็นได้ชัดเจนว่าประโยชน์หลักของเถียงนาก็คือ ใช้
               เป็นที่อยู่อาศัยขณะออกทำนาตลอดฤดูทำนาอย่างแน่นอน แต่เมื่อพ้นฤดูทำนาแล้วเถียงนาก็มักจะถูกปล่อยทิ้ง

               ร้างโดยเจ้าของส่วนใหญ่จะไม่ค่อยสนใจดูแลรักษา จนกว่าใกล้จะถึงฤดูทำนาใหม่ในปีต่อไป จึงจะไปปรับปรุง
               ซ่อมแซมเพื่อจะใช้ประโยชน์อีกครั้ง



                      จากความเป็นจริงที่พบเห็นทั่วไปก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ตลอดเวลาที่พ้นหน้านานั้น แม้ว่าเถียงนาจะไม่ได้
               ถูกใช้ประโยชน์โดยตรงจากเจ้าของมากนักก็ตาม แต่เถียงนาก็ยังสามารถใช้ทำประโยชน์อื่นๆ ได้อีกมากมาย
               เช่น เป็นที่พักคนเดินทาง เป็นที่หลับนอนพักค้างคืนหรือพักชั่วคราวของชาวบ้านที่ออกหาอาหารจับปลา กบ

               เขียด ในเวลากลางคืน เป็นที่พักผ่อนขณะออกไปเลี้ยงวัว ควาย ในเวลากลางวัน เป็นสถานที่พักผ่อนอย่างดี
               ของคนว่างงานเมื่อพ้นหน้าเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว เพราะเป็นสถานที่โล่งแจ้งสงบเงียบ เย็นสบายในเวลากลางวัน

               จนคนอีสานพูดกันติดปากว่า “นอนโสกันเล่น” คือ นอนพูดคุยกันเล่นนั้นเอง

                                                           54
   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61