Page 55 - ebook.msu.ac.th
P. 55

แต่อย่างไรก็ตาม ลักษณะเถียงนาที่กล่าวมานี้ มิได้หมายความว่าจะเป็นเช่นนี้ทั้งหมด เพราะทั้งลักษณะ
                ชั่วคราวและค่อนข้างถาวรที่ว่านั้น จะไม่มีข้อกำหนดแน่นอนตายตัวเสมอไป และเถียงนาจำนวนไม่น้อยก็จะมี
                การต่อพื้นลดชั้นออกไปข้างๆ เพื่อขยายพื้นที่ใช้ประโยชน์เพิ่มขึ้น มีการต่อหลังคาหลุมด้านสกัดหรือด้านหน้าจั่ว

                ทั้งแบบชั่วคราวและแบบค่อนข้างถาวร แต่ที่พบเห็นส่วนใหญ่ของทั้งสองลักษณะคือ มักจะมีการปรับปรุง
                ซ่อมแซมเพื่อที่จะใช้ในแต่ละปีเสมอ เพราะเมื่อหมดฤดูทำนาแต่ละปีแล้วเถียงนามักจะถูกบากไม้เล็กน้อยแล้ว

                ปล่อยทิ้ง จนอยู่ในสภาพชำรุดผุพัง เนื่องจากใช้วัสดุง่ายๆ สร้างง่ายๆ แบบชั่วคราว


                วัสดุที่ใช้ในการสร้างเถียงนา


                       ดังกล่าวแล้วว่า เถียงนาเป็นสถาปัตยกรรมแบบง่ายๆ เพื่ออยู่อาศัยชั่วคราว ดังนั้นโครงสร้างและ
                ส่วนประกอบของเถียงนาจึงไม่ค่อยจะซับซ้อนมากนัก ซึ่งจะมีส่วนรายละเอียดและความประณีตน้อย จนเห็น

                ได้ว่าแตกต่างจากเรือนพักอาศัยทั่วๆ ไป มากพอสมควร คือ


                       เสา - เสาของเถียงนาทั่วไปจะนิยมใช้ไม้จริงทั้งเนื้อแข็งและเนื้ออ่อนเท่าที่จะทำได้ และก็หาไม่ยากนัก

                ในท้องถิ่นชนบททั่วไป ส่วนมากจะใช้ขนาดที่ไม่ใหญ่มากนัก ถ้ายกพื้นเตี้ยๆ ก็อาจจะใช้เสาค้ำหรือเสาตอม่อ
                ก็ได้ บางครั้งก็ใช้ปีกไม้ที่เหลือจากการแปรรูปมาทำก็มีไม่น้อย ถ้าเป็นเถียงนาชั่วคราวขนาดเล็กๆ ก็อาจจะใช้
                กิ่งไม้มาทำเป็นเสาก็ได้ ส่วนการประกอบเข้ากับโครงสร้างอื่นคือ ขางหรือคาน ขื่อและเสา จะมีทั้งแบบเจาะเสา

                สอดคานและเสาง่ามที่มีโคนกิ่งรับคานตลอดจนแบบบากเสาตีแปะ และถ้าเป็นเถียงนาชั่วคราวขนาดเล็กที่ใช้
                กิ่งไม้แขนงไม้และไม้ไผ่สร้าง ก็อาจจะใช้วิธีบากไม้เล็กน้อยแล้วตีแปะหรือผูกมัดด้วยเครือไม้และเชือกก็มีบ้าง


                       ขาง หรือ คาน - ขางหรือคานของเถียงนาที่นำหน้าที่รองรับพื้นนั้นมักจะใช้กิ่งไม้ ปีกไม้ หรือเศษไม้

                ที่เหลือจากการสร้างเรือน สร้างเหย้ามาวางพาดง่ามเสาไม้ หรือสอดเสาเจาะหรือตีแปะเสาบาก แต่ถ้าเป็น
                เถียงนาชั่วคราวขนาดเล็กไม่ยกพื้นก็จะไม่มีคาน เพราะปรับพื้นดินให้เรียบแล้วปูสาด (สื่อ) แทน หรือไม่ก็จะเอา
                แคร่ไม้ไผ่มาวางแทนเป็นพื้น


                       ตง – เป็นโครงสร้างที่ใช้กับเรือนเหย้าและตูบ วางอยู่บนคานเพื่อรองรับพื้น ปรกติเถียงนามักจะไม่ค่อย

                ใช้ตงมากนัก เพราะส่วนมากมักจะมีขนาดห้องเสาแคบและมักใช้พื้นเป็นไม้จริงที่มีความแข็งอยู่แล้ว แต่ก็มีพบ
                อยู่บ้างที่ใช้ตงเป็นไม้กลมเพื่อเพิ่มความแข็งแรงมากขึ้นในกรณีที่เจ้าของต้องการ


                       พื้น – ส่วนใหญ่จะนิยมใช้ไม้จริงเนื้ออ่อนหรือปีกไม้เนื้อแข็ง โดยมักจะวางปูหน้าเรียบไว้ข้างบนแล้ว

                ถากผิวโค้งด้านล่างให้พอดีกับแนวหลังคานเพื่อให้ระดับผิวพื้นเสมอกัน ถ้าพอมีวัสดุก็จะใช้แผ่นไม้เรียบปูพื้น
                เหมือนเหย้าและเรือนทั่วไป แต่บางแห่งที่สร้างชั่วคราวง่ายๆ ใช้ประโยชน์ไม่มากนัก ก็จะวางหน้าเรียบบนหลัง

                คานปล่อยให้ผิวพื้นเป็นไปตามความโค้งของปีกไม้โดยไม่ปรับเลยก็มีอยู่บ้าง


                       ขื่อ – จะมีทั้งแบบสอดหัวเสาที่เจาะและแบบบากหัวเสาแล้วเอาขื่อตีแปะ และแบบวางพาดตีแปะบน
                ยอดหัวเสา ถ้าเป็นเถียงนาชั่วคราวขนาดเล็กก็จะใช้กิ่งไม้วางพาดแล้วผูกมัดด้วยเครือไม้หรือเชือก แต่เถียงนา

                บางหลังก็จะไม่มีขื่อรับก็มี เพราะใช้เสากลางตั้งขึ้นรับอกไก่เลย แต่ถ้าเป็นเถียงนาลักษณะค่อนข้างถาวรส่วนใหญ่
                จะมีขื่อยึดเสาเสมอ

                                                           53
   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60