Page 50 - ebook.msu.ac.th
P. 50

เถียงนา : บ้านหลังแรกของมนุษย์ยุคแรกๆ ในสยาม




                                                                            ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมชาย  นิลอาธิ




                      ชาวอีสานในชนบทเกือบทั้งหมดประกอบอาชีพเกษตรกรรมทำนา ทำไร่ ทำสวน ซึ่งเป็นอาชีพที่
               ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าสามารถสร้างศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านให้กับสังคมได้มากมายหลายประเภท ที่ล้วน

               แต่มีคุณค่ามหาศาลต่อวิถีการดำเนินชีวิตของชาวบ้านนั้นๆ ได้อย่างเหมาะสม


                      “เถียงนา” เป็นผลิตผลของการประกอบอาชีพเกษตรกรรมของชาวอีสานอีกอย่างหนึ่ง ที่ถูกสร้าง

               ขึ้นมาเพื่อตอบสนองประโยชน์ใช้สอยในการประกอบอาชีพทำนาของชาวอีสานโดยทั่วๆ ไป ไม่ว่าจะเดินทางไป
               ตามท้องทุ่งนาที่ไหนๆ ในอีสานก็ตาม จะพบเถียงนาตั้งอยู่ทั่วๆ ไป ซึ่งมีหลายขนาด หลายแบบ ตามความจำเป็น
               ของแต่ละครอบครัว



                      เถียงนาในอีสานก็คือ งานสถาปัตยกรรมที่ถูกสร้างอย่างง่ายๆ ทั้งในด้านวัสดุและเทคนิควิธีการ
               มีลักษณะชั่วคราว อยู่นอกชุมชนหมู่บ้าน



                      ชาวอีสานสร้างเถียงนาขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์อยู่อาศัยชั่วระยะเวลาหนึ่ง เป็นหลักในการประกอบอาชีพ
               เกษตรกรรมทำนาตั้งแต่เริ่มไถ - หว่าน จนกระทั้งถึงเวลาเก็บเกี่ยวผลิตผล



                      ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวนี้ ชาวอีสานมักจะยกครอบครัวพร้อมอุปกรณ์เครื่องมือ เครื่องใช้ไม้สอย
               ตลอดจนสัตว์เลี้ยง ออกไปอาศัยอยู่ที่เถียงนาเกือบตลอดเวลา และดำรงชีวิตครอบครัวของตนคล้ายๆ กับที่อยู่

               บ้านเรือนของตนในชุมชนหมู่บ้านตามปรกติ จนดูรู้สึกว่าเถียงนาในช่วงนี้จะสดชื่นมีชีวิตชีวา มีความเคลื่อนไหว
               เหมือนบ้านอีกหลังหนึ่งของทุกครอบครัวเลยทีเดียว


                      แต่เมื่อพ้นฤดูทำนา หลังจากเก็บเกี่ยวเอาข้าวขึ้นเล้าแล้วดูเหมือนว่าเถียงนาทุกหลังจะเต็มไปด้วย

               ความเงียบเหงา เปล่าเปลี่ยว แห้งแล้งและโดดเดี่ยวกระจัดกระจายกันอยู่ตามทุ่งนา เหลือหน้าที่เพียงเป็นที่
               พักผ่อนของคนผ่านทาง คนที่ออกไปเลี้ยงควายและกิจกรรมอื่นๆ ในบางโอกาสชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้น



                      เถียงนาที่ถูกใช้ประโยชน์ดังกล่าวนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นเถียงนาที่อยู่ห่างไกลจากชุมชนหมู่บ้าน ที่ต้อง
               เสียเวลาเดินทางไป - กลับ และแม้ว่าจะอยู่ไม่ห่างไกลมากนัก แต่การเดินทางค่อนข้างจะลำบาก เช่นต้องเดินทาง

               ข้ามลำน้ำ ลำห้วย ก็มักจะสร้างเถียงนาเพื่ออยู่อาศัยตลอดฤดูทำนาเลย


                      แต่ถ้ากรณีที่มีที่นาอยู่ใกล้หมู่บ้านหรือไม่ไกลมากนัก ชาวอีสานก็จะสร้างเถียงนาเช่นกัน เพื่อใช้ประโยชน์

               พักอาศัยชั่วคราวในเวลากลางวันที่ออกไปทำนา ใช้เป็นที่พักผ่อน รับประทานอาหาร เก็บสัมภาระต่างๆ เมื่อ
               เสร็จงานในวันหนึ่งๆ แล้วก็จะกลับนอนบ้านตามปกติ

                                                           48
   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55