Page 51 - ebook.msu.ac.th
P. 51

ก่อนจะเป็นเถียงนา


                       ในเบื้องต้นนี้คงจะทำได้เพียงการสันนิษฐานจากหลักฐานบางอย่างที่ค้นพบเท่านั้นว่า เมื่อมนุษย์พ้น
                จากสภาพการอยู่อาศัยตามถ้ำเพิงผาที่ใช้ชีวิตเร่ร่อน เก็บหาของป่าล่าสัตว์ มาสู่การรู้จักสร้างที่อยู่อาศัยของ

                ตนเองจนพัฒนาสังคมของตัวเองเป็นชุมชนขนาดต่างๆ อยู่ติดที่เป็นหลักแหล่งทำการเกษตรกรรมใกล้ๆ กันกับ
                ชุมชนที่อยู่อาศัย


                       ครั้นเมื่อชุมชนขยายตัวใหญ่ขึ้นก็ย่อมเกิดปัญหาเรื่องปริมาณผลผลิตไม่เพียงพอ ต้องพยายามหาทาง

                ผลิตให้ได้ผลมากขึ้น และมีปัญหาพื้นที่ทำมาหากินที่ต้องขยับขยายออกไปกว้างไกล ห่างไกลจากุมชนมากขึ้น
                จำเป็นต้องใช้เวลาในการเดินทางไปประกอบอาชีพทั้งไปและกลับ แต่ไม่ว่าที่ทำกินจะอยู่ใกล้หรือไกลจากชุมชน
                ก็ตามในช่วงเวลาที่ต้องทำงานตลอดทั้งวันนั้น เข้าใจว่าชาวนาคงจะใช้ร่มเงาของต้นไม้ในที่นาหรือบริเวณใกล้เคียง

                เป็นที่พักอาศัยหุงหาอาหาร พักผ่อนและทำกิจกรรมอื่นๆ ที่ต้องการและจำเป็นเท่าที่สภาพแวดล้อมในธรรมชาติ
                ท้องถิ่นจะเอื้ออำนวยให้ทำได้



                       แต่เนื่องจากร่มไม้จะมีข้อจำกัดในตัวเอง เรื่องประโยชน์ใช้สอยเป็นที่กำบังทั้งแดด ฝน และ ลม ทั้งยัง
                ไม่สามารถจะบังคับและควบคุมพื้นที่และทิศทางของร่มเงาได้อย่างเต็มที่ตามต้องการด้วย ทางเลือกหนึ่งที่จะ
                ทำได้ก็คือการสร้างเพิงพักอย่างง่ายๆ ขึ้นแทนร่มเงาต้นไม้ในธรรมชาติ เพื่อให้ได้ประโยชน์ใช้สอยตามที่ต้องการ

                ซึ่งจัดว่าเป็นการแก้ปัญหาขั้นพื้นฐานในการดำรงชีวิตประกอบอาชีพเท่าที่พอจะทำได้



                เถียงนากับความเชื่อบางอย่างในอดีต


                       คำที่ใช้เรียก “เถียงนา” นั้นอาจกล่าวได้ว่า เป็นคำเรียกกลางๆ ทั่วไปของชาวอีสานที่ใช้เรียกที่พักอาศัย
                ชั่วคราวที่สร้างไว้ในนา เหมือนกับคำว่า ห้างนาของภาคเหนือ โรงนาของภาคกลาง และขนำนาของภาคใต้

                นั้นเอง


                       ถ้าสร้างอยู่ในไร่บนภูเขาก็จะเรียกกันว่า “ทับ” ที่ใช้เป็นที่พักตอนออกไปทำไร่ เลี้ยงควาย หาพืชผัก
                ในป่าเวลากลางวัน และใช้เป็นที่พักตอนออกไปล่าสัตว์ จับสัตว์ในเวลากลางคืน



                       แต่คนที่ทำไร่ตามพื้นที่ราบทั่วไปมักจะเรียกคล้ายเถียงนาว่า “เถียงไร่” ซึ่งจะออกเสียงตามสำเนียงของ
                ชาวอีสาน ร. (เรือ) เป็น ฮ. (นกฮูก) ว่า “เถียงไฮ่”


                       อย่างไรก็ตาม เคยปรากฏพบว่าชาวอีสานบางคนก็จะออกเสียงเพี้ยนเป็น “เสียงนา” ก็มี และยิ่งไป
                กว่านั้นก็คือคนภาคกลางหรือภาคอื่นๆ ได้ยินคำว่าเถียงนาเพี้ยนไป จนกลายเป็น “เขียงนา” ก็มีอีกเช่นกัน



                       สำหรับคำว่า “เถียง” คำเดียวนั้นดูเหมือนว่าจะยังไม่สามารถหาที่มาและความหมายได้อย่างแน่นอน
                ชัดเจนแม้จะเคยพบว่ามีความเชื่อว่าจะต้องมีการถกเถียงกัน เพื่อไล่ผีวิญญาณที่อยู่ในบริเวณนั้นก่อนสร้างอยู่บ้าง

                ก็ตามแต่ก็ชวนให้อดคิดไม่ได้ว่า อาจจะเป็นเพียงเรื่องเล่าเพื่อลากเข้าความของชาวบ้านอีสานบางคนก็ได้
                เพราะจากการสัมภาษณ์ที่ผ่านๆ มายังมีข้อมูลสนับสนุนไม่มากพอที่จะยืนยันให้น่าเชื่อถือได้มากนัก

                                                            49
   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56