Page 58 - ebook.msu.ac.th
P. 58

การเปลี่ยนแปลงในด้านพัฒนาการของเถียงนาในลักษณะดังกล่าวนี้ กล่าวได้ว่าเป็นผลของแรง
               ผลักดันอย่างหนึ่งของประเพณีความเชื่อในสังคมอีสาน ที่นิยมแต่งงานแล้วต้องให้ฝ่ายชายไปอยู่บ้านฝ่าย
               หญิงเป็นครอบครัวรวม (Stem - Family) และเมื่อถึงเวลาหนึ่งก็ต้องแยกออกไปอยู่กันเองเป็นครอบครัว

               เดี่ยว (Nuclear Family) ต่างหาก ซึ่งลักษณะขนาดเถียงนาทั่วไปสามารถตอบสนองประโยชน์ใช้สอยของ
               ครอบครัวเดี่ยวได้อย่างเหมาะสมพอสมควร และก็ดูจะง่ายที่จะปรับปรุงเพิ่มให้เป็นเหย้าที่มิดชิดยิ่งขึ้นอีกระดับ

               หนึ่ง


                      แม้กระทั้งจะรื้อเถียงหรือเหย้าเพื่อสร้างเรือนใหญ่ที่มั่นคงแข็งแรงเพื่อเป็นการเตรียมรับสภาพการอยู่
               ร่วมกันเป็นครอบครัวรวมต่อไปเมื่อลูกสาวแต่งงานในอนาคต ก็เป็นเรื่องไม่ยากเลย


                      กล่าวโดยสรุป ก็จะเห็นได้ว่าที่พักอาศัยหลังแรกของมนุษย์ที่ออกมาสร้างที่อยู่อาศัยกันเองนอกถ้ำ

               เพิงผานั้นคือ ที่พักลักษณะง่ายๆ ใช้วัสดุในท้องถิ่นที่พอหาได้และพอจะสามารถทำได้ตามขีดความสามารถด้าน
               เทคนิควิทยา ซึ่งสามารถตอบสนองประโยชน์ใช้สอยได้อย่างเหมาะสมกับการอยู่อาศัยร่วมกันของครอบครัว

               เดี่ยว


                      ลักษณะที่พักอาศัยหลังแรกของมนุษย์ดังกล่าวนี้ น่าจะมีลักษณะเช่นเดียวกันกับที่พักอาศัยชั่วคราว
               ของชาวอีสานในปัจจุบันที่เรียกกันว่า “เถียงนา” ที่เป็นสถาปัตยกรรมแบบง่ายๆ ใช้อยู่อาศัยในช่วงที่ประกอบ

               อาชีพเกษตรกรรมทำนา ตั้งอยู่ใกล้แหล่งทำมาหากิน และมักจะออกไปอยู่กันเป็นครอบครัวเดี่ยวในช่วงฤดูการ
               ทำนาด้วย


                      เมื่อบ้านหลังแรกได้เปลี่ยนแปลงไปตามประสบการณ์ทางเทคนิควิทยา เพื่อตอบสนองประโยชน์ใช้สอย

               ของครอบครัวตามพัฒนาการของสังคมจนกลายเป็นชุมชนหมู่บ้านอยู่ติดที่ถาวรมากขึ้นแล้ว ที่พักอาศัยจึงต้องมี
               การปรับเปลี่ยนขนาดของครอบครัวที่เป็นแบบครอบครัวรวม (Stem - Family)



































                                                           56
   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63