Page 53 - ebook.msu.ac.th
P. 53

บริเวณเนินดอนดังกล่าวนี้ ไม่ว่าจะอยู่ในบริเวณใดในที่นาก็ตาม ชาวอีสานมักจะเรียกว่า “ดอนหัวนา”
                ดอนหัวนาจึงเป็นพื้นที่ที่เหมาะที่จะสร้างที่พักอาศัยชั่วคราวในระหว่างฤดูการทำนาได้เป็นอย่างดี ทั้งยังมีต้นไม้
                ใหญ่ให้ร่มเงาและมีเนื้อที่ที่จะสามารถทำประโยชน์ปลูกพืชผักสวนครัวและไม้ผลต่างๆ ตลอดจนใช้ผูกล่าม -

                ปล่อยสัตว์เลี้ยงไปพร้อมๆ กันได้ด้วย



                มีอะไรในบริเวณเถียงนา?



                       สิ่งที่น่าสังเกตของบริเวณเนินดินหรือดอนหัวนาทั่วๆ ไป ก็คือ มักจะต้องมีต้นไม้ยืนต้นขึ้นอยู่เสมอ
                อย่างน้อยก็หนึ่งต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่ขนาดเล็กใหญ่ของเนินดินดอนหัวนา ถ้าเป็นเนินดินขนาดใหญ่เพราะต้องการ

                พื้นที่ใช้สอยมาก หรือมีพื้นที่นาจับจองกว้างขวางมากพอแล้ว ก็อาจจะมีต้นไม้มากกว่า ๑ ต้น แล้วสร้างเถียงนา
                ไว้ใกล้ๆ ต้นไม้ หรือไม่ก็จะสร้างไว้ใต้ร่มไม้นั้นเลย


                       บริเวณดินหัวนาที่ใช้สร้างเถียงนาหลายแห่ง โดยเฉพาะที่อยู่ห่างไกลหมู่บ้าน ซึ่งต้องยกครอบครัวไปอยู่

                เถียงนาตลอดฤดูทำนา มักจะมีการปลูกพืชผักสวนครัวหลายชนิดเพื่อใช้ยังชีพเลี้ยงตัวเองให้ได้ เช่น พริก ขิง ข่า
                ตะไคร้ มะนาว หอม มะกรูด บวบ และผักต่างๆ ฯลฯ นอกจากนี้ก็มักจะปลูกไม้ผลและพืชที่กินได้ต่างๆ

                บางอย่างที่ต้องการแทรกปนไว้บ้าง เช่น มะละกอ กระถิน มะยม มะขาม แค สะเดา มะกอก เป็นต้น ส่วนใคร
                จะปลูกต้นไม้อะไรบ้างก็สุดแล้วแต่ว่าจะต้องการและพื้นที่จะอำนวยให้



                       และก็ยังมีพบอีกว่าใกล้บริเวณเถียงนาหลายๆ แห่งมีการขุดบ่อเลี้ยงปลาไว้ด้วย เพราะปรกติจะมีปลา
                เข้าไปอยู่เองตามธรรมชาติอยู่แล้ว ทั้งยังจะได้อาศัยน้ำใช้ไปพร้อมๆ กันด้วย ส่วนน้ำดื่มที่จำเป็นนั้นส่วนหนึ่ง

                ก็จะอาศัยน้ำฝน หรือไม่ก็ใช้น้ำสร้างหรือน้ำซับที่อาจจะมีอยู่ในแถบนั้นบ้างไม่เช่นนั้นก็ต้องไปอาศัยน้ำดื่มจาก
                หมู่บ้านใกล้เคียงก็ได้


                       สำหรับเถียงนาที่อยู่ใกล้ๆ ชุมชนหมู่บ้าน ส่วนใหญ่มักจะเป็นเถียงนาขนาดเล็กหรือไม่ก็จะมีลักษณะ

                ชั่วคราวมากกว่าเถียงนาที่อยู่ไกลหมู่บ้านเพราะส่วนใหญ่จะใช้ประโยชน์เฉพาะเวลาออกไปทำนาตอนกลางวัน
                ตั้งแต่เช้าถึงเย็นเท่านั้น จึงไม่ค่อยจำเป็นที่จะต้องทำเหมือนเถียงนาที่อยู่ไกลๆ เนื่องจากขนาดเหลืออะไรที่จำเป็น

                ก็สามารถกลับไปเอาจากบ้านได้ นอกจากจะเห็นว่าต้องการจะทำประโยชน์อะไรโดยเฉพาะเท่านั้น


                       แต่ที่แน่ๆ ก็คือ ไม่ว่าที่นาจะอยู่ใกล้หรือไกลจากหมู่บ้านก็ตาม ชาวอีสานมักจะต้องสร้างที่นาไว้เป็น
                ที่พักชั่วคราวเป็นของตนเอง อย่างน้อยก็ต้องหนึ่งเถียงเสมอ




                ลักษณะและขนาดของเถียงนา



                       ขนาดของเถียงนาทั่วๆ ไป จะแตกต่างกันออกไปไม่ค่อยแน่นอนนัก ซึ่งจะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง

                เช่น ความต้องการที่จะใช้ประโยชน์ ความพอใจที่จะสร้างและวัสดุเท่าที่จะพอมีและหาได้ ฯลฯ แต่ปรกติทั่วไป
                ก็จะมีขนาดประมาณ ๒ X ๒ เมตร หรือ ๔ X ๔ เมตร หรืออาจจะใหญ่กว่านี้ก็มีอยู่ไม่น้อย

                                                            51
   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58