Page 63 - ebook.msu.ac.th
P. 63

“บ่ซื่อมล้าง เอาใส่เล้า” ๖

                       แต่อย่างไรก็ดี นี่ก็เป็นเพียงข้อสันนิษฐานเท่าที่พบแล้วในอดีตเท่านั้น ซึ่งอาจจะยังไม่สามารถจะยืนยัน

                ได้ว่าเล้าข้าวในอีสานปัจจุบันจะต้องสืบทอดมาแต่ครั้งนั้นเสมอไป

                       ฉะนั้นจึงจำเป็นจะต้องมีการศึกษาหาหลักฐานด้านอื่นๆ มาสนับสนุน

                       สำหรับเล้าข้าวที่พบเห็นและมีปรากฏใช้กันอยู่ในอีสานปัจจุบันนี้นั้นส่วนใหญ่มีลักษณะรูปร่าง รูปทรง

                ตลอดจนโครงสร้างหลักทางสถาปัตยกรรมคล้ายคลึงกัน

                       ที่พอจะเห็นว่าต่างกันบ้างก็ที่ ฝาเล้าและหลังคาเล้าเท่านั้น


                       ในที่นี้ จะพิจารณาวัสดุที่ใช้ทำฝาเล้า เป็นตัวกำหนดความต่างของอายุ ก่อน-หลัง เป็นหลักทั้งนี้เพราะ
                ฝาเล้าข้าวจะเป็นส่วนประกอบที่มีความสำคัญต่อการรับน้ำหนัก หรือแรงผลักดันจากน้ำหนักภายในทั้งหมด


                       และก็สิ่งนี้แหละที่เป็นประโยชน์ใช้สอยโดยตรงของเล้าข้าวทั่วไป

                       จากการพิจารณาวัสดุที่ใช้ทำฝาเล้าข้าวเป็นหลัก เราอาจแบ่งอายุของเล้าข้าว เป็นพื้นฐานเบื้องต้น

                ได้สองรุ่นคือ
                       ๑.  รุ่นแรก จะเป็นเล้าข้าวฝาขัดแตะ

                       ๒.  รุ่นหลัง จะเป็นเล้าข้าวฝาไม้จริง


                ลักษณะและขนาดของเล้าข้าว

                       เมื่อเปรียบเทียบกันโดยทั่วไปแล้วลักษณะของเล้าข้าวอีสานจะมีขนาดค่อนข้างเล็กกว่าของท้องถิ่นอื่นๆ


                       รูปทรงเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า

                       บางแห่งอาจจะมีขนาดเล็ก-ใหญ่ต่างกันไปบ้าง ขึ้นอยู่กับกำลังความสามารถของเจ้าของและฐานะทาง

                เศรษฐกิจ ซึ่งมักจะเกี่ยวพันกับจำนวนพื้นที่ทำนาและปริมาณผลผลิตที่ทำได้ในแต่ละปีด้วย


                       ขนาดที่นิยมสร้างและพบกันทั่วๆ ไป คือ ขนาดประมาณ ๒-๔ ห้องโดยส่วนใหญ่จะถือช่วงเสาเป็น
                เกณฑ์กำหนดความกว้างยาวโดยประมาณ ดังนี้คือ

                       ความสูงจากพื้นดินถึงตงหรือพื้นเล้าประมาณ ๑-๒ เมตร


                       ความสูงจากพื้นเล้าถึงขื่อประมาณ ๒ เมตร

                       ความกว้างด้านหน้าประมาณ ๒.๕ เมตร


                       ความยาวของห้องเสา (ด้านข้าง) ประมาณ ๑.๕-๒ เมตร

                       (สุดแล้วแต่ว่าใครจะสร้างขนาดกี่ห้องเสา)


                ๖
                  เล่มเดิม, หน้า ๑๑

                                                            61
   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68