Page 62 - ebook.msu.ac.th
P. 62

พัฒนาการของเล้าข้าว

                      ถ้าพิจารณากันโดยทั่วไปเรื่องสถานที่เก็บข้าวเปลือกที่เรียกกันว่ายุ้งนั้น น่าจะมีขึ้นมาพร้อมๆ กับคนรู้จัก
               ปลูกข้าวเก็บไว้กินนั้นเอง แต่การที่จะกำหนดอายุเล้าข้าวในอีสานให้แน่นอนลงไปในที่นี้ ก็เป็นเรื่องที่ค่อนข้าง

               ยากอยู่ไม่น้อยเหมือนกัน

                      เท่าที่พอมีหลักฐานปรากฏในวรรณคดีเก่า ประกอบกับที่ใช้เรียกกันอยู่ในอีสานปัจจุบันนั้นพอจะ
                                                                    ๓
               สันนิษฐานเป็นเบื้องต้นได้ว่าจะใช้ประโยชน์เช่นเดียวกันกับ “เยีย”  และ “ซอมข้าว” คือใช้เป็นสถานที่เก็บรักษา
               ข้าวเปลือกเหมือนกับ “ยุ้ง” และ “ฉาง” นั่นเอง


                      คำว่า “เยีย” น่าจะเป็นคำที่ใช้เรียกสิ่งก่อสร้างสำหรับเก็บข้าว มาก่อนคำอื่นเพราะมีปรากฏอยู่ในศิลา
               จารึกของพ่อขุนรามคำแหง แห่งกรุงสุโขทัย ว่า “ช้างขอลูกเมียเยียข้าว” ๔


                      และในวรรณคดีเรื่อง ท้าวฮุ่ง ท้าวเจือง ซึ่งเป็นวรรณคดีพื้นบ้านรุ่นเก่าของอีสาน ก็มีคำว่า
               เยีย ใช้อยู่ด้วย คือ


                      “เงินคำล้นเยียกอง ไว้ล่าง”

                      และ

                      “ฝูงนั้นของแพงไว้ในเยีย เอาอาชญ์” ๕


                      เมื่อประกอบกับค่านิยมรุ่นเก่าของอีสานแล้ว ก็ยิ่งน่าเชื่อว่าจะเป็นคำเก่าดั้งเดิมที่ใช้เรียกกันอยู่จริงๆ
               เพราะในอดีตของสังคมอีสานนั้น เคยมีปรากฏเรื่องความเชื่อทางสังคมอย่างหนึ่งว่า ถ้าหญิง-ชายคู่ใดเมื่อแต่งงาน

               กันแล้ว มักนิยมให้ฝ่ายชายไปอยู่กับฝ่ายหญิงคืออยู่ที่บ้านพ่อตา แม่ยายเสมอ ซึ่งยึดถือปฏิบัติกันมานาน แม้ใน
               ปัจจุบันนี้ก็ยังมีปฏิบัติกันอยู่ไม่น้อย จนมีกล่าวเกี่ยวกับเรื่องตกทอดกันมาว่า

                      “เอาลูกเขยมาเลี้ยงพ่อเฒ่าแม่เฒ่า ปานได้ข้าวมาใส่เล้า ใส่เยีย เอาลูกใภ้มาเลี้ยงปู่ เลี้ยง ย่า ปานเอา

               ผีห่ามาใส่เฮือน ใส่ชาน”

                      จะเห็นได้ว่า มีคำว่า เล้า เข้ามาใช้ร่วมอยู่ด้วย จึงน่าจะเป็นคำกล่าวในระยะหลังๆ ที่มีคำว่าเล้าใช้กันแล้ว

               แต่ขณะเดียวกันคำว่าเยียก็คงมีใช้กันอยู่ด้วย

                      แต่ในปัจจุบันคำว่า เยีย เริ่มจะเลือนหายไปจากสังคมอีสานมากแล้วส่วนคำว่า เล้า นั้นยังมีใช้กันอยู่จน

               ปัจจุบันนี้

                      เข้าใจว่าคงจะมาใช้กันภายหลังเป็นแน่เพราะมีหลักฐานปรากฏอยู่ในโองการแช่งน้ำโคลงห้า สมัยพระเจ้า
               อู่ทองแห่งกรุงศรีอยุธยา ว่า


               ๓
                   ในชนบทอีสานยังมีคำนี้ใช้เรียกกันอยู่บ้าง แต่ลักษณะรายละเอียดที่แท้จริงของเยีย ยังไม่มีใครอธิบายได้
                 เพียงแต่รู้แล้วเข้าใจกันทั่วๆ ไปว่ามีประโยชน์ใช้สอยเหมือนกับเล้าข้าวในปัจจุบัน
               ๔
                   ชัยสิทธิ์  เศรษฐบุปผา, ภาษาถิ่นในวรรณคดี, โรงพิมพ์มิตรสยาม, ๒๕๑๔ หน้า ๖
               ๕
                   เล่มเดิม, หน้าเดิม

                                                           60
   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67