Page 64 - ebook.msu.ac.th
P. 64

เล้าข้าวขนาดหนึ่งห้องเสานี้ จะมีความจุข้าวเปลือกได้ประมาณ ๓๐๐-๕๐๐ ถัง หรือประมาณ ๕๐-๖๐
               กระสอบ แต่เมื่อก่อนชาวอีสานมักจะใช้กระบุงตวงข้าวกันก็อาจจะบรรจุได้ประมาณ ๒๐๐-๒๕๐ กระบุง



               วัสดุที่ใช้สร้างเล้าข้าว


                      ในส่วนโครงสร้างทั้งหมดจะนิยมใช้ไม้เนื้อแข็งสร้าง เช่น เสา, ขาง (คาน), ตง, คร่าว, ขื่อ, สะยัว (จันทัน),
               ดั้ง ตลอดจนกะทอด (พรึง), แป, กลอน และวงกบประตู เป็นต้น ทั้งนี้ก็เพื่อความคงทนแข็งแรงในการรับน้ำหนัก

               อันเป็นหน้าที่หลักของเล้าข้าวนั่นเอง

                      สำหรับเล้านั้น มีทั้งที่ใช้ไม้ง่ามเพื่อวางขาง (คาน) และต้นตรงแล้วเจาะเสาสอดคาน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่า

               จะหาวัสดุลักษณะไหนได้ แต่ปัจจุบันมักจะพบว่าใช้วิธีเจาะเสากันเป็นส่วนมาก และรวมทั้งการประกอบ
               โครงสร้างอื่นๆ ก็จะใช้วิธีเจาะเข้าไม้ทั้งหมดด้วยเช่นกัน


                      ส่วน ตง นั้นจะมีหรือไม่ก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัสดุคือไม้ และความต้องการในเรื่องความคงทนแข็งแรง
               เพราะถ้าใช้ตงวางบนคานก็จะช่วยทำให้การรับน้ำหนักของพื้นเล้ามีมากยิ่งขึ้น แต่ถ้าจะมีแต่คานโดยไม่มีตง
               ก็สามารถจะรับน้ำหนักได้อยู่แล้ว


                      ในส่วนเครื่องประกอบเล้าข้าวนั้นจะใช้วัสดุต่างๆ กันตามความจำเป็นดังนี้


                      หลังคา จะมีรูปทรงเป็นหน้าจั่วในรุ่นแรกจะนิยมใช้หญ้าแฝก, หญ้าคามุงกันมาก ต่อมาในรุ่นหลังจึงมี
               การใช้แผ่นไม้มุง (แป้นมุง-แผ่นไม้จริงที่เอามาตัดหรือถากให้เป็นรูปคล้ายกระเบื้องดินขอ) และสังกะสี เป็นต้น


                      หน้าจั่ว ทั้งสองรุ่นมักจะใช้หญ้าแฝก, หญ้าคา ตลอดจนไม้ไผ่สานก็มีบ้าง แต่ไม่มากนักจุดประสงค์
               ก็เพื่อกันฝนสาดเข้าไปถูกข้าวเปลือกที่เก็บไว้ในเล้า


                      พื้น ทั้งสองรุ่นจะใช้ไม้จริงเนื้อแข็งเหมือนกัน เพราะเป็นส่วนที่ต้องรับเช่นเดียวกันกับฝาเล้า แต่เมื่อ
               ปูพื้นด้วยไม้จริงแล้ว จะทำให้เกิดร่องระหว่างแผ่นซึ่งอาจจะทำให้ข้าวเปลือกรั่วออกได้ง่าย ชาวอีสานจึงใช้ไม้ไผ่
               ผ่าเป็นชิ้นกว้างประมาณ ๒ ซ.ม. เศษๆ หรือบางครั้งก็อาจจะใช้ไม้จริงตีทับตามแนวร่องปิดไว้ไม้ชิ้นที่ตีปิดร่อง

               ดังกล่าวนี้เรียกว่า “ลีก” หรือ “ลีกไม้”

                      ฝา จัดว่าเป็นเครื่องประกอบเล้าที่มีความสำคัญมาก ในแง่ประโยชน์ใช้สอย ซึ่งเป็นหน้าที่หลักของ

               เล้าข้าว

                      ในรุ่นแรกๆ จะนิยมใช้ไม้แซง (ลำแซง), ไม้แขม(ลำแขม) และไม้ไผ่จักเป็นเส้นขนาดประมาณ ๑ ซ.ม.
                                                 ๗
               มาสานเป็นลายขัดธรรมดาง่ายๆ แล้วเปี๋ย  (ทาอุด) ด้วยขี้วัว ขี้ควาย ผสมน้ำและดินโคลนตามความเหมาะสม
               เพื่ออุดรอยรั่วของลายขัดของฝาขัดแตะ






               ๗
                  การทำเปี๋ย คือการทาอุดฝาเล้าข้าวด้วยส่วนผสม ขี้วัวหรือขี้ควาย, ดินโคลน, แกลบ, น้ำ, โดยการขุดหลุมดิน
                 ผสมให้เข้ากันค่อนข้างเหนียวสักเล็กน้อย เมื่อนำไปทาชาวอีสานจะเรียกว่า “เปี๋ยเล้าข้าว”

                                                           62
   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69