Page 60 - ebook.msu.ac.th
P. 60

เล้าข้าว  *





                                                                            ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมชาย  นิลอาธิ




                      สังคมอีสานเป็นสังคมเกษตรกรรมทำนาเป็นหลัก ซึ่งจัดว่าเป็นสังคมพึ่งตัวเอง ที่ต้องช่วยตัวเองในเกือบ

               ทุกด้านมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นด้านการทำมาหากิน เครื่องมือ เครื่องใช้และเทคโนโลยีต่างๆ เป็นต้น ชาวอีสาน
               ส่วนใหญ่จึงต้องแก้ปัญหาในการดำเนินชีวิตในครอบครัว ในสังคมของตนตามมีตามเกิดเท่าที่ธรรมชาติในท้องถิ่น
               จะอำนวยให้ วิวัฒนาการหรือพัฒนาการทางชีวิตและสังคม จึงค่อนข้างจะเชื่องช้าอยู่มากพอสมควร



                      แต่นั่น ก็มิใช่ความผิดของชีวิตแต่ละชีวิตที่เกิดมาในภาคอีสานมิใช่หรือ?


                                                              ๑
                      แม้ว่าพื้นที่ทำนาในภาคอีสานจะมีมากถึง ๗๒.๔%  ของพื้นที่ถือครองทั้งหมดในภาคอีสานก็ตาม แต่ชาว
               อีสานก็ยังไม่สามารถจะเพิ่มผลผลิตข้าวให้สูงมากขึ้นได้เพราะเหตุปัจจัยที่บีบบังคับหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
               ภัยธรรมชาติที่ไม่สามารถควบคุมได้ จึงทำให้วิถีชีวิตของชาวอีสานต้องหมดไปกับการทำนา เพื่อให้ได้ข้าวมา
               เลี้ยงชีวิต ไม่น้อยกว่า ๔-๕ เดือน ในแต่ละปี



                      ด้วยเหตุนี้ จึงดูเหมือนว่า ข้าวจะเป็นสมบัติอันล้ำค่าแห่งชีวิตไปโดยไม่รู้สึกตัวในสำนึกของคนอีสาน



                      การเก็บรักษาข้าวให้อยู่ในสภาพดี ที่พร้อมจะนำมาปรุงเป็นอาหาร และแลกเปลี่ยนหรือขายได้ตลอดปี
               จึงมีความสำคัญและจำเป็นยิ่ง เพราะนั่นย่อมหมายถึงความอยู่รอดของชีวิตทุกคนในครอบครัว ที่ร่วมเหนื่อยยาก
               มาด้วยกัน



                      ฉะนั้นจึงไม่ใช่เรื่องที่น่าประหลาดเลย ที่ชาวอีสานจะต้องสร้างที่เก็บรักษาข้าวเปลือกที่ได้ด้วยหยาดเหงื่อ
               และทุกข์ยากไว้ประจำบ้านเป็นของตนเองโดยเฉพาะ แต่ทว่าชาวอีสานก็ต้องเผชิญกับปัญหาเรื่องวัสดุ เทคโนโลยี ฯลฯ

               อันจำกัดต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด แต่ชาวอีสานก็ไม่เคยย่อท้อที่จะใช้สติปัญญาแก้ปัญหา จากประสบการณ์ตรงเท่า
               ที่มีและเท่าที่จะทำได้ด้วยความอดทนมาโดย
               ตลอด



                      สิ่งก่อสร้างเพื่อเก็บรักษาข้าวเปลือกดังกล่าวนี้ ชาวอีสานทั่วไปเรียกกันอย่างหนึ่งว่า “เล้าข้าว”





               *  เล้าข้าว. พิมพ์เผยแพร่ในวารสารเมืองโบราณ ฉบับประติมากรรมในประเทศไทย พฤศจิกายน ๒๕๒๖
               ๑
                  ข้อมูลจากหนังสือภูมิศาสตร์อีสาน ของอภิศักดิ์  โสมอินทร์ หน้า ๙๓ ว่ามีพื้นที่ในอีสานทั้งหมด
                 ๑๐๖,๓๙๑,๒๕๐ ไร่ เป็นพื้นที่ถือครอง ๔๖,๔๓๖,๐๒๕ ไร่ และเป็นพื้นที่ที่ใช้ทำนา ๓๓,๖๑๔,๗๗๑ ไร่


                                                           58
   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65